Living in Thailand ที่ดิน ส.ป.ก. ENEN - US
     


     
บทสรุป ที่ดิน ส.ป.ก.
     
     
โฉนด ส.ป.ก.

จากโฉนดที่ดิน ที่เรียกว่า "โฉนด น.ส.3" สร้างความฮือฮา ก็มาถึง "โฉนด ส.ป.ก."

ว้าว วว ... ข้ามขั้นตอนเลย ยังไม่ทันทำประโยชน์ในที่ดินก็มีสิทธิ์ได้รับโฉนดแล้ว ?

news-2310295.gif

เปลี่ยน ส ...เป็นโฉนดที่ดิน 2566 เกษตรกรกลุ่มไหนได้รับสิทธิ (msn.com)

โฉนด ส.ป.ก.

ติดตามข่าวอยู่พักก็มาพบข่าวจาก มติชน ข่าวนี้ให้ภาพชัดเจน ใครครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. (สำนักงานปฏิรูปที่กินเพื่อเกษตรกรรม)

จากการสัมภาษณ์ เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ของมติชน ให้ความชัดเจน คำว่า "โฉนด ที่ดิน" กับ คำว่า "โฉนด ที่ ส.ป.ก." แตกต่างกันอย่างไร (อ่านรายละเอียด)

เช่นเดียวกัน "โฉนด ชุมชน" ก็มีสถานะคล้ายคลึงกัน ผู้ครอบครองโฉนดชุมชน ซื้อขายที่ดินได้แต่ต้องอยู่ในเขตชุมชน เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดินตกไปอยู่ในมือนายทุน

บทสรุปก็กลับไปจุดเริ่มต้น ...

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี การเปลี่ยนแปลงสถานะของที่ดินต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

จบนะ ...

เลขา ส ...ไขข้อข้องใจ ออกเป็นโฉนดแล้ว ขายได้เลยหรือไม่ (msn.com)

news-2310291.gif

news-2310292.gif

news-2310293.gif

news-2310294.gif

     
ที่ดิน ส.ป.ก.
ส.ป.ก. (สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)
 

ส.ป.ก. (สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกษตรกรยากจนมีที่ทำกินของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงการทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ให้เป็นประโยชน์อื่นใดต้องผ่าน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นที่ดินที่รัฐยกให้เป็นที่ดินทำกิน ไม่สามารถซื้อขายได้ แต่เป็นมรดกตกทอดได้ การซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก. เป็นสิ่งผิดกฏหมาย

ที่ดินในเขตอุทยาน ที่ดินในเขตป่าไม้ ที่ดินในเขตภูเขาและรอบภูเขาที่เป็น ที่ลาดชัน 35 ดีกรีหรือมากกว่า ไม่สามารถครอบครองได้

ที่ดิน ส.ป.ก. คือที่ดินที่รัฐให้ประชาชนครอบครอง เพื่อปฏิรูปที่ดินเป็นพื้นที่ทำกิน
บุคคลมีสิทธิครอบครองที่ดินไม่เกิน 25ไร่
ครอบครัวมีสิทธิครอบครองไม่เกิน 50ไร่

ส.ป.ก.จะออกหนังสือรับรองและโฉนดที่ดินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

ส.ก.1 เป็นหนังสือจับจอง หรือหนังสือครอบครองที่ดินเพื่อจะใช้ในการทำกินหรือการเกษตร ไม่ใช่หนังสือรับรองว่าเป็นเจ้าของที่ดิน

น.ส.2 เป็นหนังสือรับรองว่าเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติให้เป็นที่ดินทำกิน หรือการเกษตร ผู้ครอบครองจะต้องปฏิรูปที่ดินให้เป็นประโยชน์ 75% ของที่ดินเป็นเวลาอย่างน้อย 3ปี จึงจะยื่นหนังสือขอสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินได้ กรมที่ดินจึงจะออกเอกสารสิทธิ์เรียก น.ส. 3 หรือ น.ส.3ก แล้วแต่กรณี

น.ส. 3 หรือ น.ส. 3ก เป็นหนังสือรับรองว่าที่ดินผืนนี้ได้มีการปฏิรูปเป็นเวลาย่างน้อย 3ปี ได้ทำการรังวัดที่ดินและลงทะเบียนเป็นหลักฐาน

น.ส. 3ก เป็นหนังสือรับรองเหมือนหนังสือ น.ส. 3 เพียงแต่ น.ส. 3ก เพิ่มรูปถ่ายของที่ดินทางอากาศ

 

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นที่ดินทำกิน ซื้อขายไม่ได้

โฉนด น.ส. 3 สามารถซื้อขายได้ แต่ไม่สามารถใช้ทำประโยชน์อื่นใดได้ นอกจากเกษตรกรร

 

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี

การเปลี่ยนแปลงที่ดิน ส.ป.ก. ให้เป็นประโยชน์อื่นใดต้องผ่านความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตร

   
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
   

เพิกถอนโฉนด น.ส. 3

ข่าวกรมที่ดินสั่งเพิกถอนโฉนด นส,3 ก ซึ่งครอบครองโดย นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รวม 59 ฉบับ รวมเป็นเนื้้อที่ 2,111 ไร่

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ให้บริษัทเทพสถิตวินด์ฟาร์มจำกัด (มหาชน) ยุติธุรกิจกังหันลมผลิตไฟฟ้าในที่ดิน สปก

การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดินไม่ผ่าน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไม่สามารถทำได้

ข่าวการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. เพื่อใช้เป็นที่ตั้งกังหัน ลมโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

 
     
 
เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ จึงรุ่งเรืองกิจได้มามิชอบ
 

อีกหนึ่งคดีตัวอย่างของการได้มาเอกสารสิทธิ์มิชอบ มีครบ ทั้ง น.ส.2 น.ส.3 ใบ ภ.บ.ท.5

คำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ ๗๔๗/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕  เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เนื้อที่รวม ๒,๑๑๑ ไร ๑ งาน ๖๙ ตารางวา หลังจากการตรวจสอบ และพบว่าที่ดินอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เป็นที่ดินต้องห้ามมิให้ออก น.ส.3 ก. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗)

ที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครองสามครั้ง จาก น.ส. ๒ ก (หนังสือครอบครองเพื่อทำประโยชน์) ใบ ภบท ๕ (ภาษีบำรุงท้องถิ่น) และกลายมาเป็น นส ๓ ก และสุดท้ายตกอยู่ในการครอบครองของ จึงรุ่งเรืองกิจ ทั้งสามคน

แสดงว่ามีการซื้อ - ขาย ถึง ๓ ครั้ง เริ่มตั้งแต่ที่ดินยังไม่มีการทำประโยชน์

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติป่าไม้ ๒๔๘๔

ห้ามยึดถือ / ครอบครอง / ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัย / ก่อสร้าง / แผ้วถาง / เผาป่า / ทำไม้ / เก็บหาของป่า หรือทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพ

บทลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้ฝ่าฝืน  จำคุก ๑ – ๑๐ ปี และปรับ ๒๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ก็ต้องรอดูว่าคดีนี้จะจบกันอย่างไร ... ที่ผ่านมามีคนถูกปรับและติดคุกหลายรายแล้ว

   
     
ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี การเปลี่ยนสถานะที่ดินให้เป็นอื่นต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
       

คดีบรรทัดฐานของการใช้ที่ดิน สปก. ผิดวัตถุประสงค

สืบเนื่องจาก สปก. ให้เอกชนเช่าที่ดิน สปก. ทำพลังงานลม

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2560 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ให้บริษัทเทพสถิตวินด์ฟาร์มจำกัด (มหาชน) ยุติธุรกิจกังหันลมผลิตไฟฟ้าในที่ดิน สปก. ในพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ

ศาลปกครองสูงสุดพิกาษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่วินิจฉัยว่า การที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จ.ชัยภูมิ อนุญาตให้บริษัทเทพสถิต วินด์ฟาร์มจำกัดเช่าที่ดิน สปก. เป็นการใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ของกเกษตรกร และมีคำสั่งให้ยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ สปก. เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดคดีที่มีการฟ้องร้องโดยประชาชนใน พื้นที่และสมาคมนักกฏหมายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2552

ก็ชัดเจนนะครับ เรื่องการใช้ที่ดิน สปก.ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่มีโฉนด นส.3 แล้วก็ตาม หรือได้รับอนุญาตจากใครก็ตาม

เหตุเพราะว่า กฏหมายเขียนไว้ว่า ที่ดิน สปก. เป็นที่ดินเพื่อปฏิรูปเป็นเกษตรกรรม ผู้ปฏิรูปต้องเป็นเกษตรกร หรือได้เรียนรูเกษตรกรรม ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินจึงต้องเป็นเกษตรกร

ความเป็นไปได้ที่จะใช้ที่ดิน สปก. เพื่อประโยชน์อื่นคงต้องมีการแก้กฏหมายให้มีการยกเว้น ผู้ที่จะแก้กฏหมายได้ก็คงจะเป็นคณะรัฐมนตรี

ร.ม.ต. เกษตร สั่งปฏิบัิตามกฏหมาย

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 60 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินระดับ จังหวัด 2 จังหวัด (จังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ ) รวมเนื้อที่กว่า 700 ไร่ ยกเลิกสัญญาตาม พรบ. วิธีปฏิบัติ ราช การทางปกครอง หากทราบว่าการกระทำใดที่ไม่ชอบกฎหมาย ให้แก้ไขใน 90 วัน (ไม่เกินวันที่ 26 เม.ย.60) "ดังนั้น เมื่อรับทราบคำสั่งการปกครองแล้ว ต้องบอกเลิกสัญญาตามเงื่อนเวลา เป็นเรื่องของ ส.ป.ก.ที่ต้องดำเนินการ ให้เน้นทำตามกฎหมาย ไม่ใช้มาตรา 44" พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี การ เปลี่ยนแปลงสถานะที่ดิน ต้องผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีเท่านั้น
 
คดีนี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่สำนักงาน ส.ป.ก. ก็ไม่มีสิทธิ์อนุมัติให้เปลี่ยน สถานะที่ดินเป็นอื่น
 
นอกจากคดีนี้ ยังมีคดีอื่นอีกหรือไม่ มีแน่นอน เยอะด้วย ทั้งผู้ว่า รองผู้ว่าจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่ดิน หัวหน้าท้องถิ่น
 
ส.ว. ที่ไปอยู่ต่างประเทศนานๆ ไม่ได้ตามข่าว กลับมาไทย เห็นที่ดินขายถูก ก็ซื้อเพื่อปลูกบ้าน อยู่ หรือทำเป็นรีสอร์ท ก็สญเงินไป หลายรายแล้ว

สตง. ถาม สปก. เจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดิน

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) เห็นว่า การให้เอกชนเช่าพื้นที่ สปก. เพื่อกิจการกังหันลม ไม่เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก)

พิจารณาตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่มีคำสั่งสให้บริษัทเทพสถิต วินด์ฟาร์ม หยุดดำเนินกิจการกังหันลม ในพื้นที่สปก. จังหวัดชัยภูมิ และจากการลงพื้นที่สำรวจ สตง.เห็นว่า การติดตั้งกังหันลมใช้เนื้อที่ 1 ไร่ต่อเสา แต่ละบริษัทติดตั้ง 30-40 เสา ทำให้เสียพื้นที่เกษตรกรรม 30-40 ไร่ ทำให้การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมลดลง สตง.เห็นว่า สปก.ควรทบทวนทั้งระบบ

กังหันลม 30-40 ต้นผลิดไฟฟ้ามูลค่านับพันล้านแต่ละปี เกษตรกรได้ค่าเช่าเพียง 9 แสน-1.2 ล้านบาท แต่ขาดพื้นที่ทำกิน 30-40 ไร่

สตง.ยังพบว่า มีกลุ่มนักการเมืองฉวยโอกาสใช้พื้นที่ สปก.เพื่อโครงการพลังงานทางเลือกเป็นการฉวยโอกาส แสวงหาผลประโยชน์ เอื้อกลุ่มนายทุนที่มีเพียง 5 บริษัทแม่ แตกแยกเป็นบริษัทลูก 10 บริษัท ทำสัญญาเช่าที่ สปก. ติดตั้งกังหันลม 30-40 ต้นต่อบริษัท

สปก. - สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ชื่อก็น่าจะชัดเจน) การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก็เพื้อเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน การใช้ที่ดิน สปก.เพื่อประโยชน์อื่นใดไม่น่า จะถูกต้องตามกฏหมาย สักวันหนึ่งการฟ้องร้องเกิดขึ้นก็จะมีการเพิกถอนใบอนุญาตอนุโลมที่มีการเล่นแร่ แปรธาตุบิดเบือนกฏหมายในหลายพื้นที่

 

ฟังจาก ปรมาจารย์กฏหมาย

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงการให้สัมประทานแหล่งพลังงานในพื้นที่ สปก. ลานกระบือ
จ.กำแพงเพชร

บอกว่า ไม่กล้าตอบว่า จะใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาหรือไม่ แต่จะมีการเสนอต่อที่ประชุม
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ปัญหาเวลานี้มีพื้นที่ ส.ป.ก. บางแห่งไม่เหมาะทำการเกษตรต่อไป จึงเปลี่ยนไปให้สัมปทานทำแร่
แต่ปัญหามีอยู่ว่า ขัดกับวัตถุประสงค์ ส.ป.ก. หรือไม่

ทั้งนี้ จะไม่ยอมให้มีการขายหรือนำพื้นที่การเกษตรไปใช้ในด้านอื่น เราต้องการรักษาพื้นที่ตรงนี้ไว้
จึงต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ โดยจะผ่อนคลาย 3 ประเด็นใหญ่ คือ

1) พื้นที่ที่จะใช้ในประโยชน์ด้านพลังงานลม ปิโตรเลียม แก๊ส และพลังงานน้ำ ต้องใช้พื้นที่ส.ป.ก.
ที่ทำการเกษตรไม่ได้ผลเท่านั้น

2) ด้านที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรธรรมชาติ คือ แร่ น้ำมันและแก๊ส

3) เรื่องสาธารณูปโภคในการวางระบบอะไรบางอย่าง ซึ่งจำเป็นต้องได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
บางเรื่องต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ใช่ไปยกเว้นกันตามใจชอบ ต้องมีการสำรวจการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ถ้าไม่ผ่านก็จบ แต่ถ้าอีไอเอผ่านแต่ติดเรื่องส.ป.ก. เราก็จะผ่อนคลายให้

ชัดเจนนะครับ

 
       
 
 
 


   
     
     
 
     
     
     
     
       
       
       
     
     
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com