ข้อ ๑
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ( ๓๐ ตุลาคม )
ข้อ ๒
ในประกาศนี้
- "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ "ที่ดินของรัฐ" หมายความว่า ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท
- "โฉนดชุมชน" หมายความว่าหนังสืออนุญาตให้ชุมชน ร่วมกันบริหารจัดการ การครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อสร้างความมั่นคงในการ อยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อสร้างความมั่นคงในการ อยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน ซึ่งชุมชนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจน ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- "ชุมชน" หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อการจัดการ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการวางระบบบริหารจัดการ และการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้บังคับ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานโฉนดชุมชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๓
- การดำเนินงานประสานงานของคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชนแก่ชุมชนใดชุมชน หนึ่ง ต้องเป็นที่ดินของรัฐซึ่งชุมชนได้เข้าครอบครองมาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่
ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้บังคับ และที่ดินของรัฐนั้นสามารถอนุญาตให้ชุมชนเข้าใช้ประโยชน์ได้ตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้
ข้อ ๔
- ชุมชนที่สามารถยื่นคำขอเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชน จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้บังคับ
(๒) มีคณะกรรมการชุมชนคณะหนึ่งกระทำการแทนในนามของชุมชน จำนวนอย่างน้อยเจ็ดคนประธานและกรรมการชุมชนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๒.๑) มีสัญชาติไทย เว้นแต่กรณีที่เป็นตัวแทนของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
(๒.๒) บรรลุนิติภาวะ
(๒.๓) มีภูมิลำเนาหรือที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกินในชุมชนไม่น้อยกว่า ๓ ปี ก่อนวันยื่นคำขอ
(๒.๔) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๒.๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๒.๖) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒.๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๓) เป็นชุมชนที่ได้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกินในลักษณะที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ นั้น
(๔) เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดินอย่างเป็น ระบบโดยมีกฎระเบียบที่ชัดเจน หรือมีหลักฐานการดำเนินงานของชุมชนไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ชุมชนใดรวมตัวกันเป็นสมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือเป็นชุมชนตามกฎหมายอื่น
- หากมีคณะกรรมการที่มีคุณสมบัติที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในข้อ ๔ (๒) สามารถยื่นคำขอเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชนได้ และให้ถือว่าคณะกรรมการสมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือชุมชนตามกฎหมายอื่นเป็นคณะกรรมการชุมชนตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕
- ชุมชนที่ประสงค์จะยื่นคำขอเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชน ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบและเอกสารหรือหลักฐานที่กำหนด ดังนี้
(๑) แบบคำขอเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชน
(๒) แผนที่สังเขปชุมชนและบริเวณโดยรอบที่ชุมชนจะขอบริหารจัดการที่ดิน
(๓) บัญชีรายชื่อคณะกรรมการและครัวเรือนสมาชิกของชุมชน จำนวนเนื้อที่ที่ดินในความครอบครองของแต่ละครัวเรือน และประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดิน
(๔) ประวัติและรูปแบบการรวมตัวของชุมชน
(๕) ข้อเสนอและแผนงานของชุมชนในการบริหารจัดการที่ดิน รวมทั้งแนวทางร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม
(๖) เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่คณะกรรมการมีมติกำหนด
ข้อ ๖
- ให้สำนักงานทำการตรวจสอบคำขอ เอกสาร หรือหลักฐานของชุมชน ในกรณีนี้คณะกรรมการอาจมอบหมายคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้น หรือจังหวัด หรือหน่วยงานของรัฐอื่น
ให้ร่วมทำการตรวจสอบ รวมทั้งอาจสอบถามความคิดเห็นจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชุมชนดังกล่าว ตั้งอยู่เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาด้วยให้สำนักงานตรวจสอบคำขอเอกสารหรือ หลักฐานของชุมชน ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับคำขอเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ พิจารณา หากมีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบ ในพื้นที่อาจขยายระยะเวลาออกไป ได้แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ถ้าต้องใช้เวลาเกินกว่านั้น ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณีและแจ้งเหตุผลความล่าช้าให้คณะกรรมการ ชุมชนที่ยื่นคำขอทราบ
ข้อ ๗
- เมื่อคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ชุมชนใดดำเนินงานโฉนดชุมชนแล้วให้สำนักงาน แจ้งมติพร้อมส่งเอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานของรัฐที่ทำ หน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินนั้น เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามกฎหมายต่อไป
- กรณีที่ชุมชนใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการในการดำเนินงานโฉนด ชุมชนให้สำนักงานแจ้งมติของคณะ กรรมการไปยังชุมชนที่ยื่นคำขอพร้อมทั้งเหตุผล เป็นหนังสือ หากชุมชนที่ยื่นคำขอประสงค์ที่จะขอให้คณะกรรมการ พิจารณาทบทวนมติ ก็ให้ยื่นเรื่องพร้อมหลักฐานต่อสำนักงานภายในเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับมติดังกล่าว เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณามติของคณะ กรรมการไม่ตัดสิทธิของชุมชนที่จะยื่นคำขอใหม่ การดำเนินการในชั้นแจ้งมติคณะ กรรมการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินเพื่อ พิจารณาอนุญาตให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่สำนักงานทำไว้กับหน่วยงานของรัฐ แต่ละหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘
- เมื่อสำนักงานได้รับเรื่องการอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ จากหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินแล้ว ให้ออกหนังสือแสดงการจัดให้มีโฉนดชุมชน ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมข้อตกลงที่เป็นเงื่อนไขในการดำเนินงานโฉนดชุมชนให้แก่ชุมชนที่ได้รับ อนุญาตเพื่อเป็นหลักฐานโฉนดชุมชนที่ออกให้แก่ชุมชนแต่ละครั้งให้เป็นไปตาม ระยะเวลาที่ชุมชนได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐจากหน่วยงานของ รัฐ
ข้อ ๙
- ให้คณะกรรมการชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้สอดคล้องกับลักษณะของชุมชน ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำระเบียบของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการชุมชน การจัดสรรที่ดิน และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นที่เกี่ยว ข้องอย่างเป็นระบบ โดยระเบียบดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกในชุมชนและมี ความเป็นธรรมต่อสมาชิกในชุมชน
(๒) จัดทำและปรับปรุงระบบข้อมูลและแผนที่ขอบเขตการจัดการที่ดินของชุมชนให้ทัน สมัยอยู่เสมอ โดยครอบคลุมถึงที่ดินรายแปลงที่จัดสรรให้กับสมาชิกของชุมชนเพื่อเป็นที่อยู่ อาศัยที่ดินทำกิน ที่ดินส่วนกลางที่ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และที่ดินที่ชุมชนได้รับอนุญาตให้เป็นผู้บริหารจัดการ
(๓) กำหนดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน โดยความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกในชุมชนและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภูมินิเวศของชุมชน
(๔) กำหนดแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการจัดการระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพ พื้นที่ โดยคำนึงถึงการผลิตที่พึ่งพาตัวเองโดยการทำเกษตรกรรมยั่งยืนและการรักษาความ สมดุลของระบบนิเวศ
(๕) กำหนดแผนการอนุรักษ์ การดูแลรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนตลอดจนสอดส่องดูแลและแจ้ง เหตุแก่หน่วยงานของรัฐเมื่อพบภัยพิบัติทางธรรมชาติ การบุกรุกหรือการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินของทางราชการในบริเวณ พื้นที่ที่ชุมชนรับผิดชอบหรือพื้นที่ใกล้เคียง
(๖) ดำเนินการให้มีการจัดตั้งกองทุนที่ดินของชุมชนเพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับโฉนดชุมชน
(๗) ดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับโฉนดชุมชนตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ กำหนด รวมทั้งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.๒๕๕๓อย่างเคร่งครัด
ข้อ ๑๐
- เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่ นอกจากหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ จากหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินแล้ว ให้คณะกรรมการชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชนมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการดำเนิน งานและปัญหาอุปสรรค ให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำปีละครั้ง
ข้อ ๑๑
- ก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ใน ที่ดินของรัฐอย่างน้อยเก้าสิบวัน ให้ชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชนที่ประสงค์จะดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ยื่นคำขอต่อสำนักงานเพื่อเสนอคณะกรรมการ พิจารณาเมื่อคณะกรรมการมีมติว่าควร ให้ชุมชนนั้นดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ให้สำนักงานแจ้งมติของคณะกรรมการ แก่หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลที่ดินนั้นเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐต่อจาก การอนุญาตก่อนหน้านั้น
ข้อ ๑๒
- หากพบว่าชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชนใด มีการกระทำขัดต่อกฎหมายหรือข้อกำหนดตามประกาศของ คณะกรรมการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้ชุมชนทำการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาอันสมควร หากชุมชนเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามแต่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้ สำนักงานแจ้งเตือนเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ชุมชนปฏิบัติ ภายในระยะ เวลาที่กำหนดซึ่งไม่น้อยกว่าสามสิบวันแต่ไม่เกินเก้าสิบวัน
- หากชุมชนยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้สำนักงานนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นชอบ ให้เพิกถอนการดำเนินงานโฉนดชุมชนให้สำนัก งานแจ้งต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินนั้น เพื่อพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเมื่อ หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลที่ดินเพิกถอนการอนุญาตให้ชุมชนได้ ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแจ้งเป็นหนังสือ แก่สำนักงานเพื่อยกเลิกโฉนดชุมชน และประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบ
ข้อ ๑๓
- ชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชน หากไม่ประสงค์ที่จะดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ให้แจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งแผนงานในการยุบเลิกการดำเนินงานโฉนดชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน หนี้สินและภาระที่มีต่อทางราชการ เป็นหนังสือต่อสำนักงานเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้า สิบวันก่อนการยุบเลิก เมื่อคณะกรรมการมีมติให้ยุบเลิกแล้ว ให้ถือว่าชุมชนนั้นพ้นจากภาระการดำเนินงานโฉนดชุมชนในที่ดินของรัฐนั้น ให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔
- ชุมชนที่มีความประสงค์จะดำเนินงานในรูปแบบโฉนดชุมชนในที่ดินอื่นนอกจาก ที่ดินของรัฐ อาจยื่นคำขอรับการ สนับสนุนต่อสำนักงานเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
เมื่อ คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบแล้วให้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนิน งานดังกล่าวในแบบเดียวกันกับ ชุมชนในที่ดินของรัฐเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ในการนี้ ให้จัดทำโฉนดชุมชนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมข้อตกลงสนับสนุนการดำเนินงานโฉนดชุมชนให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๕
- ให้สำนักงานจัดทำฐานข้อมูลของชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชน และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่อนุญาต ให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เพื่อร่วมกันติดตามการดำเนินงาน โฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศของคณะกรรมการ หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่ได้รับอนุญาตให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ โดยเคร่งครัด หากมีปัญหาให้นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อ แก้ไขปัญหาโดยเร็ว
ข้อ ๑๖
- ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด และคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการถือเป็นที่สุด
ออกประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
|