Living in Thailand ที่ดิน ส.ป.ก.  
  น.ส. 3  



ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นมติคณะรัฐมนตรี การเปลี่ยนแปลงสถานะของที่ดินต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เท่านั้น

ข่าว
เมื่อเจอคนจริง ทำงานตามหน้าที่จริง ก็สูญกันเป็นพันล้าน
 

ที่ดิน ส.ป.ก. ที่บริเวณเขาใหญ่ถูกนายทุนนอกพื้นที่กว้านซื้อแล้วนำไปทำประโยชน์อื่นมีจำยวยมาก บ้างก็เข้าไปปักหมุดยึดพื้นที่เฉย ทั้งที่บางพื้นที่เป็นเขตป่าสงวน แล้วใช้ทำประโยชน์อื่น อย่างเช่นรายนี้สร้างโรงแรมขนาดใหญ่

เมื่อเจอเจ้าหน้าทที่ตัวจริง ทำงานตามหน้าที่จริง ไม่กลัวใคร ก็เป็นเช่นนี้ สูญเสียเงินเป็นพันล้าน และอาจถูกคัดสินจำคุก

ทั่วประเทศยังมีอีกมากที่เอาที่ดิน สปก. ไปทำประโยชน์อื่นนอกเหนือจาก เกษตรกรรมตามมติตณะรัฐมนตรรี "ให้ใช้เป็นที่ดินทำกินของเกษตรกร" และก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่ได้เป็นเกษตรกรแต่ครอบครองที่ดิน สปก. โดยไม่มีการทำประโยชน์

news-2403162.gif

ลุยแล้ว ! “บิ๊กดล” นำบุกโรงแรมดังเขาใหญ่ พิสูจน์ทวงคืนพื้นที่ ส.ป.ก. จากนายทุน (msn.com)

news-2403163.gif
     
ครอบครองปรปักษ์      
norsor-4-1.jpg norsor-4-2.jpg
       
ทายาทเกษตรกรที่ได้รับมรดกที่ดิน สปก. โปรดทราบ

ทายาทเกษตรกรที่ได้รับมรดกที่ดิน สปก. โปรดทราบ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ด้วยผลของระเบียบฯ ทายาทของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินซึ่งเสียชีวิตก่อนวันที่ 16 ก.ค. 64 จึงต้องดำเนินการยื่นคำขอรับการตกทอดทางมรดกในที่ดิน ส.ป.ก. ภายในวันที่ 15 ก.ค. 66  ซึ่งในระยะที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้สำนักงาน ส.ป.ก. ได้ทยอยทำหนังสือแจ้งและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆให้ทายาทของเกษตรกรที่เสียชีวิตแล้วเข้ามายื่นคำขอรับมรดกสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. โดยสามารถดำเนินการได้ 2 ช่องทาง คือ ส.ป.ก.จังหวัด ทั่วประเทศ ในวันเวลาราชการ หรือยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://servicecenter.alro.go.th/
“ตามระเบียบฯ ที่มีผลบังคับตั้งแต่ 16 ก.ค. 64 ใครก็ตามที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นผู้ได้รับจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. และท่านเหล่านั้นเสียชีวิตลง ทายาทจะต้องยื่นคำขอรับมรดกสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก.ภายใน 1 ปี และขยายได้รวมแล้วไม่เกิน 2 ปี ส่วนกรณีที่การเสียชีวิตนั้นเกิดก่อน 16 ก.ค. 64 ทายาทจะต้อง ยื่นคำขอภายใน 15 ก.ค. 66 หากพ้นระยะเวลาที่ดังกล่าว ส.ป.ก. จะประกาศเป็นที่ดินแปลงว่าง และจัดให้เกษตรกรหรือผู้ประสงค์จะทำเกษตรกรรมรายอื่นตามระเบียบฯ ต่อไป” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

.น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า  ตามรายงานของสำนักงาน ส.ป.ก. ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 48 ปีที่ผ่านมา ส.ป.ก. ได้จัดที่ดินทำกินให้เกษตรกรประมาณ 2.9 ล้านราย พื้นที่รวมประมาณ 36 ล้านไร่  ซึ่งตั้งแต่ระเบียบฯ ปี 64 มีผลบังคับ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของผู้ได้รับการจัดที่ดินกับฐานข้อมูลของกรมการปกครอง พบว่า มีเกษตรกรผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินเสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 205,930 ราย และมีผู้ยื่นคำขอจัดที่ดินแทนที่ตามระเบียบฯ แล้ว จำนวน 18,542 ราย เนื้อที่รวม 349,561 ไร่.

จากข่าว ฐานเศรษฐกิจ
เตือนทายาทเกษตรกรได้รับจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก.ยื่นคำขอตามระเบียบใหม่ (msn.com)

     
คุณสมบัติผู้รับโอนที่ดิน ส.ป.ก.4-01

คุณสมบัติผู้รับโอนที่ดิน ส.ป.ก.4-01 เจ้าของเสียชีวิตใครมีสิทธิยื่นคำขอ

คุณสมบัติผู้รับโอนที่ดิน ส.ป.ก.4-01 มีดังนี้

การรับมรดกสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. สำหรับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อและการจัดที่ดินแทนที่เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินซึ่งถึงแก่ความตาย
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับมรดกสิทธิฯ

  • เป็นทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส ผู้สืบสันดาน ของผู้ได้รับที่ดิน บิดามารดา ซึ่งถึงแก่ความตาย พี่น้องร่วมบิดามารดา
  • พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา
  • มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกร

ช่องทางยื่นคำขอ

  • ส.ป.ก. จังหวัด ที่ที่ดินตั้งอยู่
  • ช่องทางออนไลน์ศูนย์บริการประชาชนออนไลน์ ส.ป.ก.(https://servicecenter.alro.go.th)

เอกสารหลักฐานที่ใช้

  • บัตรประชาชนผู้ยื่นคำขอ
  • ทะเบียนบ้านผู้ยื่นคำขอ
  • ใบมรณบัตรผู้ได้รับที่ดินซึ่งถึงแก่ความตาย

1. สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อหรือ ส.ป.ก. 4-01 (ถ้ามี)
กรณีถือว่าทายาทสละสิทธิ ไม่ขอรับมรดกสิทธิฯ 
แสดงเจตนาสละสิทธิและลงลายมือชื่อต่อเจ้าหน้าที่
หรือ ไม่ยื่นคำขอภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับที่ดิน ถึงแก่ความตาย.

* ที่มา:  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

news-2306231.gif คุณสมบัติผู้รับโอนที่ดิน ส.ป.ก.4-01 เจ้าของเสียชีวิตใครมีสิทธิยื่นคำขอ (msn.com)
     
ที่ดิน น.ส. 3

น.ส.3 (หนังสือสำคัญ) คือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี

ผู้ถือหนังสือ น.ส.3 คือผู้มีความชอบธรรมในการครอบครองที่ดินตามที่ระบุใน น.ส.3 (เพราะได้ทำประโยชน์ในที่ดิน ในที่นี้หมายถึงที่ดิน ส.ป.ก.)

น.ส.3 ก. ต่างจาก น.ส.3 ตรงที่ว่า มีภาพถ่ายทางอากาศ แต่สิทธิครอบครองมีความเท่าเทียมกัน

ส่วนมากจะพูดกันว่า ที่ดินมี "โฉนด" หรือ "มีโฉนด น.ส.3" ที่จริงแล้วมีความแตกต่างกัน ระหว่าง "โฉนด" และ น.ส.3

โฉนด หมายถึง "กรรมมสิทธิ์" ผู้ที่มีชื่อในโฉนด คือเจ้าของ "กรรมสิทธิ์" ในที่ดินผืนนั้น ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ คือผู้ที่เป็นเจ้าของโดยชอบธรรม สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ตามใจชอบ ทั้งนี้ ไม่ละเมิดกฏหมายท้องถิ่น เช่น ห้ามสร้างอาคารสูงเกินกว่ากฏหมายกำหนด เป็นต้น

น.ส.3 ผู้ที่มีชื่อใน น.ส.3 คือผู้มี "สิทธิครอบครอง" ในที่ดินผืนนั้น คือ เป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินผืนนั้น ไม่มีกรรมสิทธิ หรือไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะใช้ที่ดินผืนนั้นได้ตามใจชอบ

เหตุเพราะที่ดิน น.ส.3 มาจากการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นที่ดินเพื่อใช้ในการเกษตร์เท่านั้น ไม่สามารถใช้สร้างบ้านจัดสรรหรือรีสอร์ท เป็นต้น

ที่ดิน น.ส.3 และ น.ส.3 ก สามารถซื้อขายได้ แต่ไม่สามารถทำประโยชน์อื่นใดได้ นอกจากเกษตรกรรม

อย่าลืมว่า ที่ดิน ส.ป.ก. (รวมทั้งที่ดินที่ได้รับ น.ส.3 แล้ว) เป็นที่ดินของรัฐ รัฐให้ใช้เป็นที่ดินทำกิน เมื่อมีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ รัฐก็มีสิทธิ์ยึดคืนได้ เพราะน.ส.3 เป็นหนังสือสิทธิครอบครอง ไม่ใช่โฉนดที่ดิน

การเปลี่ยนแปลงที่ดิน น.ส. 3 จากเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์อื่นใดได้ ก็ต่อเมื่อ ภาครัฐเห็นควรกำหนดให้พื้นที่นั้น เป็นพื้นที่อุสาหกรรม ที่อยู่อาศัย หรือประโยชน์อื่นใดตามความเหมาะสม เช่นการขยายผังเมืองเป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ น.ส.3 ก็จะเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน ผู้ครอบครองก็จะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยชอบธรรม

การซื้อ น.ส.3 ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป การออก น.ส.3 ไม่ชอบด้วยกฏหมายมีมากมาย เช่น การออก น.ส.3 บนพื้นที่ สปก. ที่ไม่มีการทำประโยชน์ในที่ดิน การออกน.ส.3 ทับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตป่าสงวน หรือการออก น.ส.3 เกินกว่าสิทธิครอบครองที่มีอยู่จริง และการใช้ น.ส.3 จากที่อื่นมาใช้กับพื้นที่เขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ หรือทับซ้อนบนแปลงที่ดินผู้อื่น

ที่กล่าวมาเคยตกเป็นข่าวมาแล้ว

   
     
ข่าวที่ดิน ส.ป.ก.
การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดินไม่ผ่าน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไม่สามารถทำได
     
โฉนด น.ส. 4    

จากที่ดิน สปก. ส.ค.1 น.ส.2 น.ส.3 ฯลฯ ก็มาถึง "โฉนด น.ส. 4" คนที่ครอบครองที่ดินก็ เฮ ... บ้างก็ว่า ต่อไปนี้จะใช้ที่ดินทำประโยชน์อย่างอื่นได้แล้ว เช่นสร้างรีสอร์ท

ช้าก่อน ... โดยเฉพาะเพื่อนๆ สว. ที่ครอบครองที่ดิน สปก. ไม่คอยตรวจสอบที่ดินของตนเอง อ่านรายละเอียดจากกรมที่ดินก่อนดีมั้ย

สาเหตุที่มีการออก "โฉนด" น.ส.4 มาจากการที่ธนาคารและบริษัทสินเชื่อไม่ยอมรับจำนอง น.ส. 3 ก ซึ่งเป็นเอกสารรับรองการได้ทำประโยชน์ในที่ดิน สปก. และได้ผ่านการรังวัดและภาพถ่ายทางอากาศที่มีพิกัดชัดเจน

แต่ว่า น.ส.3ก ไม่ใช่ "โฉนด" แต่เป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นั่นคือปัญหา ไม่ใช่แค่ทางธนาคารและบริษัทสินเชื่อ แต่รวมถึงผู้ถือครองที่ดินด้วย

และสาเหตุที่ น.ส.3 ไม่ใช่โฉนด ทำให้การครอบครองปรปักษ์ ใช้เวลาเพียง 1 ปี

ถ้าเป็นโฉนด การครอบครองปรปักษ์ต้องใช้เวลา 10 ปี จึงสำเร็จ

อีกประการหนึ่งที่ต้องเข้าใจ ที่ดินในเขต สปก. ก็ยังคงเป็นที่ดินหลวงที่ให้สิทธิประชาชนใช้เป็นที่ทำกิน ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นใดได้ (อ่านข่าวจากฐานเศรษฐกิจ)

นั่นคือ ... ทำไมจึงใช้คำว่า "โฉนด น.ส.4" และไม่ใช้แค่คำว่า "โฉนด"

ดังนั้น ... ถ้ามีเอกสาร น.ส. 3ก รีบนำไปขอออกโฉนดโดยเร็ว และถ้าไม่ได้ไปเยี่ยมที่ดินของตนเองเป็นเวลานานก็ควรหมั่นไปดู ใครแอบมาครอบครองหรือไม่

ข่าวที่ดิน สปก.
  จากข่าวฐานเศรษฐกิจ  
พ.ร.บ. ที่ดิน ส.ป.ก.  
     
     
 
     
     
     
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com