โยนกนาคพันธ์ คือ เมืองในตำนานที่ปรากฏร่องรอยการอพยบเคลื่อนย้ายเข้ามาของผู้คน และปรากฏร่องรอยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ เก่าแก่ที่สุดในแอ่งที่ราบเชียงราย – เชียงแสน เมืองแห่งนี้มีอายุตามตำนานในช่วง ๑๔๘ ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. ๑๐๘๘
ตำนานกล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติ พาผู้คนอพยบจากเมืองไทยเทศ มุ่งลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำสรภู มาตั้งบ้านเมืองอยู่ในอแงที่ราบแห่งหนึ่งไกลจากแม่น้ำขรนทีราว ๗,๐๐๐ วา (ไม่ไกลไปจากเมืองเก่า ที่ล่มสลายไปก่อนหน้า คือ เมืองสุวรรณโคมคำ) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ความเห็นในทิศทาง ที่สอดคล้องกันว่า โยนกนาคพันธ์ คือบริเวณที่ปัจจะบันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่คาบเกี่ยวระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน ลำเภอจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่รู้จักกันในชื่อ “เวียงหนองหล่ม”
ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินการสำรวจพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่ม พบว่าในพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่มพบแหล่งโบราณคดีจำนวนมาก พื้นที่ที่พบแหล่งโบราณคดีหนาแน่นที่สุดคือพื้นที่ตำบลท่าข้างเปลือก โดยกระจายอยู่รอบหนองหลวง หนองกากอก หนองขวาง หนองมน และลำน้ำลัว ซึ่งเป็นแหลงน้ำธรรมชาติในพื้นที่
นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานบางส่วนที่กระจายตัวอยู่บริเวณขอบพื้นที่โดยเฉพาะขอบพื้นที่ด้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่เริ่มลาดสูงขึ้นเป็นพื้นที่เนินเขา ซึ่งต่อเนื่องไปจากแนวพื้นที่นี้ปรากฏพบโบราณสถาน ประเภทคู – คันดินตามพื้นที่ยอดดอย จากการสำรวจพบว่าโบราณสถานสถานที่อยู่กลางเวียงหนองหล่ม และตามขอบพื้นที่ส่วนมาเป็นศาสนสถานประเภทเจดีย์และวิหาร ที่วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยมีเนินวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และมีเนินเจดีย์ผังเนินค่อนข้างเป็นวงกลมอยู่ทาง ทิศตะวันตกของพื้นที่โบราณสถาน ซึ่งเป็นลักษณะตามแบบแผนการวางตัวของโบราณสถานในล้านนา
สิ่งแรกที่เป็นข้อสังเกตที่น่าหยิบยกมาพิจารณาเกี่ยวกับโยนกนาคพันธ์ คือช่วงระยะเวลาการเกิด เมืองตามตำนาน หากพิจารณาตามช่วงเวลาที่ตำนานสิงหนวติกล่าวถึง การเข้ามาตั้งบ้านเมืองของเจ้าชาย สิงหนวติ ในแอ่งที่ราบเชียงแสน เกิดขึ้น ๑๔๘ ปี ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน (๑๔๗ ปี ก่อนพุทธศักราช) หากเชื่อว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้อาจมีเค้าความจริง การอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของสิงหนวติ อาจเป็นการอพยบเคลื่อนย้ายผู้คนที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสจร์ที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือก็เป็นได้ คือเกิดขึ้นราว ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อยุคสำริดกับยุคเหล็ก เวลาดังกล่าวเป็นช่วงสำคัญที่พัฒนาการทางสังคมที่เริ่มยกระดับจากชุมชน หมู่บ้าน สู่ความเป็นเมือง (สังคมเริ่มเข้าสู่ความเป็นเมืองเมื่อผู้คนเริ่มรู้จักการผลิตและใช้เหล็ก)
ตำนวนสิงหนวติ จึงอาจสะท้อนถึงการเคลื่อนย้ายผู้คนจากจีนตอนใต้มาสู่แอ่งที่ราบเชียงแสน ซึ่งเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่และเพียงพอแก่การ รองรับการขยายตัวของประชากรและสังคมในช่วงปลายยุคสำริดที่ติ่เนื่องยุคเหล็ก หลักฐานทางโบราณคดีที่อาจเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ ดังกล่าว คือ การพบกลองมโหระทึกสำริด ที่เป็นโบราณวัตถุที่พบตั้งแต่จีนตอนใต้กระจายมาตามลำน้ำโขงจนถึงประเทศเวียตนาม กลองมโหระทึกที่เวียงหนองหล่มนี้มีที่มาว่าถูกพบจากการขุดลอกหนองเขียว ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเวียงหนองหล่ม ใกล้กับโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม แต่ทั้งนี้ประเด็นเรื่องช่วงเวลายังเป็นประเด็นที่ต้องมีการศึกษาถึงหลักฐานทาง โบราณคดีประกอบอีกมาก
โดยอาจจะสันนิษฐานได้ว่าการอพยบเคลื่อนย้ายผู้คนเข้ามาของสิงหนวติอาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของยุคเหล็ก (๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) โดยเป็นการอพยพจากยึนตอนใต้ลงมาเพื่แสวงหาพื้นที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรใหม่ รองรับการขยายตัวของสังคม ซึ่งเวลานั้นอาจมิได้เป็นสังคมระดับเมือง (แต่เป็นชุมชนขนาดใหญ่) จนมีพัฒนาการก้าวสู่ความเป็นเมืองหลังจากที่มีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพื้นที่ ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงเวลา ๑,๕๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าลงไปถึงช่วงเวลาก่อน พ.ศ. ๑๐๘๘ ที่เมืองถล่มจมลงเป็นหนองน้ำ โดยโบราณสถานที่สำรวจพบกำหนดอายุได้ในช่วงล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๒ แต่ข้อมูลจากเอกสารจีนที่กล่าวถึงชื่อรัฐ “ปาไป่ซีฟู” ซึ่งเป็นชื่อเรียกดินแดนล้านนา ในเขตแอ่งที่ราบเชียงราย ความหมายของ “ปาไป่ซีฟู” คือ สนมแปดร้อย ซึ่งสท้อนให้เห็นการสร้างอำนาจเครือข่ายการปกครองบนพื้นฐานการแต่งงานระหวางเครือญาติเมืองต่าง ๆ บนเส้นทางติดต่อค้าขายในเขตตอนใต้ของจีน โดยมีหลักฐานสำคัญที่บอกระยะเวลาของรฐ “ปาไป่ซีฟู” ว่ามีอายุอย่างน้อยตั้งแต่พ.ศ. ๑๒๗๐ เป็นต้นมา ข้อมูลเอกสารจีนดังกล่าวจึงถือว่าเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าทุ่ด ที่แสดงถึงแหล่งชุมชนคนไทในพื้นที่แอ่งเชียงราย – เชียงแสน ว่าได้มีพัฒนาการทางสังคมในระดับเมืองหรือรัฐขึ้นแล้ว แม้ว่าเอกสารจีนจะไม่ได้ระบุถึงรายละเอียดในชื่อของเมืองโยนกนาคพันธุ์ โดยตรง
|