Living in Thailand เชียงแสน Englush - US
  หิรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน  



เรียนเพื่อน ๆ สว. และเพื่อน ๆ นักท่องเว็บ
 
เว็บไซท์นี้ livinginthailand.com ทำมานานกว่า 20 ปี เพื่อโปรโมท การท่องเที่ยว และ แนะนำประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น
 

ไม่เคยมี โฆษณา และไม่เคยอนุญาตให้มีการ โฆษณาแฝง

 
หากพบว่า มีโฆษณา หรือ โฆษณาแฝง ให้ถือว่าเป็นการบุกรุกเว็บไซท์ และ ให้ถือว่า การโฆษณานั้น ๆ ไม่เป็นความจริง
  ขอบคุณครับ
     
หิรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน

หิรัญนครเงินยางเชียงลาว หรือ เหรัญนครเงินยางเชียงลาว หรือ นครเงินยางไชยบุรีศรีเชียงแสน หรือ อำเภอเชียงแสน ในปัจจุบัน

สืบเนื่องมาจาก เวียงหนองหล่ม

หลังจากอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติล่มสลาย ชาวเวียงโยนกที่เหลือ ได้พากันหาที่ตั้งเมืองใหม่ และได้มาพบพื้นที่เหมาะสมใกล้ลุ่มน้ำโขง และแม่น้ำกก จึงได้พากันสร้างที่พักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว เรียกกันว่า "เวียงปรึกษา" (เปิ๊กสา) หรือ เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน

เวียงปรึกษา หรืออาจจะรียกได้ว่า "เมืองประชาธิปไตย" หรือจะให้ไปไกลกว่านั้น นี่คือต้นแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยก็ว่าได้

หลังจากเวียงโยนกนาคพันธุ์ล่มสลาย ชาวเวียงโยนกไม่มีผู้นำหลัก ได้ยกให้ ขุนลัง (ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเป็นเสมือนผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้นำ ชาวเวียงปรึกษาจึงได้มีการแสดงความคิดเห็นด้วยการออกเสียงประชามติ ..... ก็น่าจะเรียกได้ว่า นี่คือต้นแบบของประชาธิปไตย

จากตำนานเล่าขานของชาวพื้นเมืองแต่โบราณ และตำนานจากใบลาน ที่มีเรื่องราวแตกต่างกันไป ถ้าจะยึดเรื่องฝากใดแต่ปล่อยทิ้งอีกฝากหนึ่ง เรื่องก็คงไม่ครบองค์ประกอบกับหลักฐานที่มีอยู่

เวียงปรึกษาอยู่ที่ใดกันแน่ จากหลักฐานที่เชียงแสนน้อย ซึ่งกรมศิลปากรได้สำรวจแล้วเห็นว่า บริเวณนี้คือที่ตั้งของเวียงปรึกษา ที่ขุนล้งได้นำชาวเวียงโยนกฯ มาสร้างเป็นที่พักชั่วคราว เพื่อสำรวจหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างเมือง

อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อได้ว่า เวียงปรึกษาอยู่ที่ เชียงแสนน้อย

เชียงแสนน้อยอยู่ใกล้ลำน้ำโขงและลำน้ำแม่กก และไม่ห่างไกลจากเวียงโยนกมากนัก และสาเหตุที่ใกล้ลำน้ำซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์

สร้างเมืองเชียงแสน

ชาวเวียงปรึกษาได้มาพบพื้นที่เหมาะสมในการสร้างเมืองบนพื้นที่ราบบริเวณริมแม่น้ำโขง (อ.เชียงแสนในปัจจะบัน) ห่างจากเวียงปรึกษาประมาณ 7 กิโลเมตร จึงได้สร้างเมืองที่บริเวณนี้ และเรียกเมืองนี้ว่า "เหรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน" (บางตำนานก็เรียก "หิรัญนครเงินยาง" บางตำนานก็เรียก "ไชยบุรีศรีช้างแสน"

กษัตริย์ครองหิรัญนครเงินยางองค์แรกคือ พระเจ้าลวะ (หรือ ลัวะ ) จังกราช (หรือ จักกราช) อ้างอิงจากตำนานบนฝาผนังวัดพระธาตุภูเข้า กล่าวว่า ในปี พ.ศ.๑๑๘๒ ลวะจักราชเทพยุตรได้รับอภิเษกให้ครองเมืองเหรัญนครเงินยางเชียงแสนครึ่งหนึ่ง ๖ ปีต่อมาเหล่าท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ราชบัณฆิตทั้งหลายทั้งหลาย ก็พากันสถาปนาพระองค์ให้เป็นใหญ่ครองทั้งเมือง และทรงพระนามใหม่ว่า ลวะเอกกษัตริย์ เป็นกษัตริย์องค์แรกตั้งแต่นั้นมา

พงศาวดารเงินยางเชียงแสน

ตำนานสิงหนวัติ


ปรับปรุง 31 ต.ค. 2020

     
หิรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน (เพิ่มเติม)

หิรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน (เพิ่มเติม)

ซากของเจดีย์ หรือซากกำแพงวัด ที่หลงเหลืออยู่ในบริเวณเมืองโบราณเชียงแสนที่เห็นอยู่ทั่วไป ทางกรมศิลป์ยังไม่มีการระบุว่าเป็นวัดใด มีขอบเขตแค่ไหน หลายแห่งดูเหมือนจะเป็นวัดติดต่อกัน สงสัยหรือไม่ ทำไมจึงมึวัดติดต่อกันมากมาย ... ถ้าเคยไปเที่ยว หลวงพระบาง ประเทศลาว ก็จะเรียนรู้ความเป็นมา เพราะที่นั่นเขาอนุรักษ์ไว้ดี

บริเวณวัดที่หลวงพระบางในเขตท่องเที่ยว จะเห็นวามีวัดหลายวัดสร้างติดกัน เดืนเข้าวัดหนึ่งทะลุไปอีกวัดหนึ่งได้ เช่นเดียวกัน ซากวัดที่เชียงแสนก็มีการสร้างติดต่อกัน และในหลายพื้นที่ได้ถูกเอกชนเข้าจับจองเป็นที่อยู่อาศัย

ที่จังหวัดน่านก็เคยมีสภาพเช่นเดียวกับที่หลวงพระบาง แต่ที่จังหวัดน่านมีถนนขั้นระหว่างวัด และเป็นวัดที่มีพื้นทั้กว้างกว่าวัดที่หลวงพระบางและที่เชียงแสน

   
     
เพิ่มเติม    
เมืองเหรัญนครเงินยางเชียงแสน สร้างขึ้นก่อน พญาแสนภู สร้างกำแพงเมืองเชียงแสน

จากแผ่นป้ายของเทศบาลเมืองพะเยา กล่าวถึงงานวันไหว้สาพญางำเมือง ซึ่งมีการยกพระราชประวัติของพญางำเมืองเป็นโอรสของ ขุนมิงเมือง เชื้อสายแห่งราชวงศ์ลวจึงกราชแห่งเมือง เหรัญนครเงินยาง (ตามตำนานระบุว่าพญาจอมธรรม) พญาจอมผาเรืองได้แบ่งราชสมบัติมาตั้งเมืองพุกามยาว ณ ปลายดอยพูยาว ดอยด้วน จึงนับว่า พญางำเมืองเป็นพระประยูรญาติในราชวงศ์เดียวกันกับพญามังราย และการอ้างอิงตำนานในใบลาน

ก็พอจะเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่พอจะชี้แจงได้ว่า เมืองเชียงแสน หรือ เมืองเหรัญนครเงินยางเชียงแสน สร้างขึ้นก่อน พญาแสนภู สร้างกำแพงเมืองเชียงแสน

เมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสน
     
 
 

วัดสังฆาแก้วดอนทัน (แผ่นป้ายจากกรมศิลปากร)

กล่าวถึงการสร้างเมือง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน จากพงศาวดารโยนก ไว้ว่า ลาวจก ได้สร้าง วัดสังฆาแก้วดอนทัน (หรือวัดสังกายางเงิน) หลังการสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง ประมาณ ปี พ.ศ. 1182 หรือเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1,385 ปี มาแล้ว ซึ่งก็ตรงกับระยะเวลาเวียงโยกนกล่มสลายไปเมื่อประมาณ 1,500 ปี

 

วัดสังฆาแก้วดอนทัน หรือวัดสังกายางเงิน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ระหว่าง อ.เชียงแสน และ กำแพงเมืองเก่า (ทางไปสามเหลี่ยมทองคำ)

 

วัดเจดีย์หลวง (แผ่นป้ายจากกรมศิลปากร)

ตำนานกล่าวไว้ว่าพระเจ้าแสนภูโปรดให้สร้างวัดเจดีย์หลวงขึ้น ในปี พ.ศ. 1814 (หลังจากสร้างกำแพงเมือง เชียงแสนแล้ว 3 ปี)

"พระเจ้าแสนภูสร้างกำแพงเมืองเชียงแสน" กรมศิลปากร ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงแสน

พญามังรายขึ้นครองราชหลังจากพระบิดาซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนสิ้นพระชนเมื่อปี พ.ศ. 1805

พญามังรายได้ย้ายเมืองเอกมาที่เมืองเชียงรายที่พระองค์สร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ. 1805

พระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทธโกษาเป็นชาวโกศลเมืองสุธรรมวดี (สะเทิน) ในรามัญประเทศ ได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีป นำคัมภีร์พระไตรปิฎกแห่งลังกาทวีปมาสู่รามัญประเทศ และพุกามประเทศและเข้าสู่แคว้นนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราชเจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ ... ก็หมายความว่า ... พระเจ้าแสนภูไม่ได้เป็นคนสร้างเมืองเชียงแสน


วัดสังฆาแก้วดอนทัน อ.เชียงแสน วัดเจดีหลวง
วัดสังฆาแก้วดอนทัน อ. เชียงแสน ป้ายกรมศิลปกรที่วัดเจดีย์หลวง
   
ประวัติพระธาตุภูเข้า (ตำนานสิงหนวัติ)

ประวัติพระธาตุภูเข้า กล่าวถึงกษัตริย์ผู้สร้างวัดพระธาตุภูเข้า

ในราวปี พ.ศ.๑๑๘๒ ลวะจังกราชเทพบุตรได้รับอภิเษกให้ปกครองเมือง เหรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสนครึ่งหนึ่ง ๖ ปีต่อมา เหล่าท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิตทั้งหลาย ก็พากันสถาปนาพระองค์ให้เป็นใหญ่ครองทั้งเมือง และทรงพระนามใหม่ว่า ลวะจังกราชเอกกษัตริย์ เป็นกษัตริย์องค์แรกตั้งแต่นั้นมา

เมื่อทรงครองราชสมบัติแล้วพระองค์เป็นผู้มีเจตนา ศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงได้มาสร้าง พระสถูปเจดี ณ จอมดอยที่ปูเข้านี้ แล้วพระพุทธองค์ ทรงทำนายว่า ที่นี้ต่อไปจักได้ชื่อว่า ดอยภูเข้า ว่าตั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าลาวเก้าแก้วจึงได้มาสร้าง มหาเจดีย์ ณ ที่แห่งนี้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว พระองค์ ทรงำทำบุญให้ทานฉลองพระธาตุเจดีย์เป็นการใหญ่ ชนทั้งหลายจึงขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า พระธาตุเจ้าดอยภูเข้านั่นแล

     
 
เชียงแสน เมืองก่อนประวัติศาสตร์
 


Chiang Saen Museum  
     
เวียงปรึกษา - ชุมชนหลังการล่มสลายของเวียงโยนก


วัดธาตุเขียว เวียงปรึกษา - ชุมชนหลังการล่มสลายของเวียงโยนก
 
 
เวียงหนองหล่ม
 

วัดพระธาตุผาเงา

ป้ายนี้ที่วัดพระธาตุผาเงา เอ่ยถึง ขุนผาพิงเจ้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ เป็นผู้สร้างพระเจดีย์องค์พระธาติ ระหว่างปี พ.ศ. ๔๙๔ - ๕๑๒

คลิกอ่านเวียงหนองหล่ม ..

   
     

 

รายงานจาก กรมศิลปากร ภาค ๗ จังหวัดเชียงใหม่

การขุดค้นแหล่งโบราณคดี เวียงหนองหล่ม ได้เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2564

 

คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม

wiangnonglom-10.jpg

 

     
วัดป่าหมากหน่อ - เกาะแม่ม่าย
 
เกาะแม่ม่าย

เกาะแม่ม่าย หรือ วัดป่าหมากหน่อในปัจจุบัน

 

     
เมืองโบราณ เชียงราย
 

เมืองโบราณ เชียงราย มีอายุมากกว่า ๗๖๐ ปี

หลังจากพระบิดาของ พญามังราย ซึ่งครองราชที่เมืองเชียงแสนสิ้นพระชนม์ พญามังรายก็ได้ย้ายเมืองมาที่ เชียงราย และขึ้นครองราชเป็นประถมกษัริย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๕

travel Chiang Rai 760 years old city พ่อขุนมังรายมหาราช

 
   
     
 
 
 


   
     
     
 
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com