Living in Thailand เที่ยวไทย ENEnglish - US
เชียงรายเมืองเก่า ๗๖๐ ปี

ที่เที่ยว จ. เชียงราย    
เมืองเชียงราย ถ้ำหลวง - ขถนน้ำนางนอน แม่สาย
วัดร่องขุ่น วัดฝั่งหมิ่น เชียงแสน - สามเหลี่ยมทองคำ
วัดร่องเสือเต้น ปางช้าง - หมู่บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร เชียงของ
วัดห้วยปลากั้ง ดอยตุง - ดอยแม่สลอง เวียงแก่น
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ แม่สรวย ภูชี้ฟ้า - ดอยผาตั้ง
หอศิลป์เชียงราย เวียงป่าเป้า

 
แผนที่เที่ยว เชียงรายเมืองเก่า ๗๖๐ ปี
เชียงรายเมืองเก่า 760 ปี
1. ดอยจอมทอง
2. ดอยงำเมือง
3. วัดพระแก้ว
4. โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค
5. เทศบาลนครเชียงราย
6. วัดมุงเมือง
7. ตลาดเทศบาล 1
8. วัดพระสิงห์
9. หอนาฬิกาเก่า
10. พิพิธพัณฑ์ราชรถ
11. ภาพวาดฝาผนัง ศิลปินเชียงราย
12. ศาลากลางเก่า
13. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
14. สำนักงานตำรวจ
15. สำนักงานตำรวจสืบสวน
16. วัดกลางเวียง
17. วัดศรีบุญเรือง
18. อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย

19. จวนผู้ว่าจังหวัด
20. สำนักงานอัยการ
21. ที่ว่าการอำเภอ(เก่า) / ศาลแขวง
22. ศาลจังหวัด(เก่า)
23. สวนตุง
24. มัสยิดดารุสอามาน
25. วัดมิ่งเมือง
26. ศาลเจ้า
27. หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ
28. คริสตจักร์เชียงราย
29. วัดศรีเกิด
30. วัดเจ็ดยอด
31. สถานีขนส่ง/ไนท์บาซาร์
32. ตลาดเทศบาล 2

  • TAT - สำนักงานท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • GS - ปั้มน้ำมัน / ห้องน้ำ
  • R - ห้องน้ำสาธารณะ
     
เชียงรายเมืองเก่า ๗๖๐ ปี
พญามังรายมหาราช สร้างเมืองเชียงรายและขึ้นครองราชเป็นปฐมกษัตรย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๕
อนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช #18
travel Chiang Rai 760 years old city travel Chiang Rai 760 years old city
อนุสาวรีย์พ่อขุน ตั้งอยู่ที่ ห้าแยกพ่อขุน บนทางหลวง สาย 1

ตามประวัติกล่าวว่า พญามังรายตามหาช้างคู่พระทัยที่พลัดหลงขึ้นมาบนดอยแห่งนี้ (ดอยงำเมือง) และพญามังรายพบว่า บริเวณแห่งนี้เหมาะสมต่อการสร้างเมือง จึงได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น

หลังจากพระบิดาซึ่งครองราชที่เมืองเชียงแสนในขณะนั้นสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ขึ้นครองราช และได้ย้ายเมืองเอกมาที่เชียงราย

ในช่วงพญามังรายปกครองเชียงราย ได้มีการรวบรวมเจ้าผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เป็นปึกแผ่น และสถาปนาเป็นอาณาจักรล้านนา

นอกจากการสร้างเมืองเชียงรายพ่อขุนยังได้สร้าง เวียงกุมกาม (อำเภอสารพี จ.เชียงใหม่) เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๙ และเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๘๓๔

มีเรื่องเล่าว่า หลังจากการสร้างตุงหลวงเสร็จก็มีพิธีการย้ายอนุสาวรีย์เข้าใกล้ตุงหลวง ก็พบว่า ที่พระเนตรของพระองค์มีน้ำไหลย้อยคล้ายกับพระองค์ไม่ยินยอมให้ย้าย
   
ดอยงำเมือง #2
สถูปพญามังรายบนดอยงำเมือง
travel Chiang Rai 760 years old city
สถูปบรรจุอัฐิพญามังรายอยู่หลังอนุสาวรีย์
ดอยงำเมืองและดอยจอมทองอยู่ใกล้กัน
ดอยจอมทอง #1
พระธาตุ และ เสาสดือเมือง บนดอยจอมทอง
travel Chiang Rai 760 years old city
พระธาตุดอยจอมทองเป็น ๑ ในพระธาตุ ๙ จอม จังหวัดเชียงราย ที่ควรไปสักการะให้ครบเพื่อเป็นศิริมงคล
The City Navel Pillar The history of City Pillar
เสาสดือเมือง - ประวัติดอยจอมทอง
 
ประวัติพระธาตุดอยจอมทอง

พระธาตุดอยจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่ สันนิฐานว่ามีมาก่อน พ่อขุนเม็งรายมหาราช จะมาพบพื้นที่และสร้างเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศาวดารโยนก ของพยาประชากรจักรกล่าวว่า

เมื่อพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา มีพระเถรเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทธโฆษา เป็นชาวโกศลเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) ในรามันประเทศ ได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีป นำคัมภีร์พระไตรปิฎกแห่งลังกาทวีป มาสู่รามัญประเทศและพุกามประเทศ และเข้าสู่แคว้นโยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันท์ร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ.๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแด่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงในมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่า พระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมือง มีพิธีสรงน้ำพระธาตุ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

     
วัดพระแก้ว #3
ที่พบพระแก้วมรกต
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
พระหยกเชียงราย ภายในพิพิธภัณฑ์

วัดพระแก้ว เดิมชื่อ "วัดป่าเยียะ" (วัดป่าไผ่) เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๗ ได้มีการค้นพบพระแก้วมรกตที่วัดนี้ จากเรื่องราวการพบพระแก้วที่เล่ากันไว้ว่า วันหนึ่งเกิดฟ้าผ่าองค์เจดีย์ทำให้เจดีย์แตก และพบองค์พระปูนปั้นซ่อนในองค์เจดีย์ จึงได้นำไปประดิษฐานเพื่อสักการะ ต่อมาวันหนึ่งปูนที่พอกองค์พระแตก จึงพบว่าภายในเป็นองค์พระแกะสลักจากหินหยกสีเขียว ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว"

ปัจจุบันพระแก้วมรกตประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว - พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ)

  • พระแก้วองค์ปัจจุบันในวัดพระแก้ว เชียงราย สร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ และ พุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย เรียก "พระหยกเชียงราย"

ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์จัดแดงพระพุทธรูปโบราณ และสิ่งของเก่าแก่อื่น ๆ อีกมากมาย

     
วัดพระสิงห์ #8
เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (สิงห์ ๑)
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
อุโบสถ บานประตูแกะสลักโดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

วัดพระสิงห์ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (สิงห์ ๑) ซึ่งสร้างโดย กษัตริย์ลังกาเมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ อันเชิญ เข้าประเทศสยามโดยพ่อขุนรามคำแหง (๑๘๒๐ - ๑๘๖๐) พระเจ้ามหาพรม ผู้ครองเมืองเชียงรายในขณะนั้น ได้อันเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เมืองเชียงรายและได้อยู่คู่กับเมือง เชียงรายเป็นเวลา ๒๐ ปี ก่อนที่ เจ้าแสนเมืองมาผู้ครองนครเชียงใหม่ ชนะการ สู้รบแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานที่เชียงใหม่

ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ใน พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร (ที่มา พระเครื่องตั้มศรีวิชัย)

 

ตำนานพระพุทธสิหิงค์ (จากกรมศิลปากร)

          ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และเข้าสู่เมืองไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

           เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีผู้สงสัยว่าองค์ไหนคือพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากเมืองลังกา ในหนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มนี้ หลวงวิจิตรวาทการได้รวบรวมข้อสันนิษฐานและหลักฐานที่ปรากฎ ซึ่งผู้รู้หลายท่านได้เรียบเรียงไว้  จากหลักฐานดังกล่าวมีข้อมูลสอดคล้องตรงกันว่าพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากลังกา คือ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์

 
บานประตูอุโบสถเป็นไม้แกะสลักโดยศิลปินล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (บ้านดำ)
วัดพระสิงห์ตั้งอยู่บน ถ.สิงหไคล + ถ.ท่าหลวง
     
พิพิธภัณฑ์ราชรถจังหวัด #10
พิพธภัณจัดแสดงราชรถในการประกอบพิธี
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
   
     
จิตรกรรมฝาผนัง #11
ภาพวาดฝาผนัง โดยศิลปินเชียงราย
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
บริเวณเชิงสพาน ขัวพญามังราย  
     
ศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) #12
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี

ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล ออกแบบโดย นายแพทย์ William A. Briggs, สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓  

ราชรถใช้ในการประกอบพิธี อยู่ข้างศาลากลางจังหวัด

  • ศาลากลางหลังใหม่อยู่ที่ริมน้ำกก เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง
  • โรงราชรถสำหรับประกอบพิธี อยู่ด้านขวา
  • ศาลากลางหลังเก่าตั้งอยู่ที่ ถนนสิหไคล ตรงข้ามวัดพระสิงห
     
วัดกลางเวียง #16
ที่ตั้งเสาหลักเมือง
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
ศาลหลักเมือง หอใตร

เดิมชื่อวัดจันทโลก (จั๋นตะโลก) ตั้งชื่อตามต้นจันท์แดงขนาดใหญ่ภายในวัด

จากการรังวัดเมืองพบว่าวัดนี้อยู่ในใจกลางเมืองพอดี จึงได้ประดิษฐานเสาหลักเมืองณที่นี้ บ้างก็เรียกว่า เสาสดือเมือง (เสาสดือเมืองตั้งอยู่บนดอยจอมเทอง)

วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แค่ไหน ยังหาข้อสรุปไม่ได้ มีมาก่อนการสร้างเมืองเชียงราย หรือหลังการสร้างเมืองยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด เชื่อว่าสร้างขึ้นหลังการสร้างเมืองเชียงราย มีอายุประมาณ ๕๐๐ ปี

วัดกลางเวียงตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนรัตนาเขต และ ถนนอุตรกิจ

   
     
วัดมิ่งเมือง #26
วัดมิ่งเมือง เดิมเรียก วัดจ๋างมูบ (ช้างมูบ) หรือช้างหมอบ
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี

สร้างขึ้นเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตามหลักฐานที่มีเชื่อว่าชาวไทใหญ่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นไม่น้อยกว่า 600 ปี แต่สร้างขึ้นหลังการสร้างเมืองเชียงราย

อุโบสถเป็นเรือนไม้ศิลปล้านนา

วัดมิ่งเมืองตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรรพปราการและถนนไตรรัตน์

     
หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ #27
ผลงานอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิพัฒน์
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘

หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรต์ ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘

  • แสดงแสงสีเสียงเวลา ๑๙.๐๐, ๒๐.๐๐, และ ๒๑.๐๐ น.
  • เพลงปิดท้าย "เชียงรายรำลึก" ขับร้องโดย นางรัตนา จงสุทธนามนี อดีตนายก อบจ. เชียงราย ๒ สมัย
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี

หอสาฬิกาเก่า ย้ายไปที่หัวมุมตลาดเทศบาล 1

(ขึ้นไปทางเหนือหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ 2 ถนน)

   
     
คริสตจักรแห่งแรกเมืองเชียงราย #28 -โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค #4
สร้างเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๔ (พ.ศ. ๒๔๕๗)
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค ค.ศ.๑๙๐๔
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
ประวัติที่มาของรถพยาบาลคันแรก

โบสถ์คริสตจักรแห่งแรกของเชียงราย สร้างเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๔ (พ.ศ. ๒๔๕๗) โดยนายแพทย์ วิลเลี่ยม เอ. บริกส์ (William A. Briggs)

ตั้งอยู่ที่มุมถนนพหลโยธิน + ถนนกลางเวียง (ประตู่สลี่)

โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค สร้างโดยคณะมิสชันนารี่ เพรสบิเทเรียน (Presbyterian) #4

รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ จิ๊บวิลลี่ (Jeep Willy Station Wagon) ส่งจากสหรัฐฯ ถึงกรุงเทพฯ มกราคม ค.ศ.๑๙๕๒ (พ.ศ.๒๔๙๕) #4

 

โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค ตั้งอยู่ที่มุมถนนสิงหไคล + ถนนงำเมือง #4

   
     
วัดศรีเกิด #29
เป็นวัดเก่าวัดหนึ่งที่สร้างขึ้นไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว

วัดศรีเกิดเป็นวัดเก่าวัดหนึ่งที่สร้างขึ้นไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว

อุโบสถศิลปะล้านนา (คล้ายคลีงกับวัดมิ่งเมือง)

เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
วัดศรีเกิดตั้งอยู่ที่หัวมุม ถ.พหลโยธิน (สายเก่า + ท.ล.๑)
     
ไนท์บาซาร์ #31
travel Chiang Rai 760 years old city เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
ทางเข้าด้านถนนพหลโยธิน มีเวทีแสดง ๒ เวที
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
เดินหาของกิน เดินซื้อของฝาก
ทางเข้าด้านถนนพหลโยธิน หรือ ด้านสถานีขนส่ง
   
     
ถนนคนเดิน - วันเสาร์ (กาดเจียงฮายรำลึก)
ทุกวันเสาร์ เริ่ม 6.00 น. ที่ถนนธนาลัย (ถนนไตรรัตน์ - ถนนศรีเกิด)
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี travel-chiang rai city
ไม่ต้องกลัวหิว ของกินเยอะแยะ จะเรียกเป็นถนนคนกินก็ได้
   
แผนที่ ถนนคนเดิน - ถนนคนม่วน
เที่ยวเมืองเชียงราย
     
ถนนคนม่วน
หรือจะเรียกที่นี่ว่า ถนนคนกิน ก็ไม่น่าจะผิด
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
คนแน่นทุกอาทิตย์ ม่วนแต้ ข้าแรมฟืนเจ้านี้ทำไม่ทัน น่าจะอร่อย ส้มตำเจ้านี้ก็ตำไม่ทัน
ถนนคนม่วน วันอาทิตย์ เดิมทีจัดที่ถนนสันโค้งน้อย
ปัจจุบันจัดที่ ราชโยธา ซอย 3 + ถนนราชโยธา ตั้งแต่ถนนราชโยธา - ถนนสันโค้งน้อย ห่างจากประตูเชียงใหม่ ประมาณ 250 เมตร ประตูเชียงใหม่อยู่ทางทิศตะวันตกปลายถนนธนาลัย
   
ตลาดเทศบาล ๑ (กาดหลวง ๑)
ตลาดเทศบาล ๑ เป็นตลาดสด
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี

คนเมืองที่นี่ แวะซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหาร หรือซื้ออาหารสำร็จรูปสำหรับมื้อเช้าหรือเย็น บริเวณหัวมุมถนนหรือหอนาฬิกาเก่าสะดวกรวดเร็วกว่า

  • ตลาดเทศบาล ๑ อยู่ระหว่าง ถนนธนาลัย และอุตรกิจ + ถนนไตรรัตน์ และสุขสถิต
  • บริเวณที่คนเดินซื้ออาหารสด หรือ อาหารสำเร็จรูป เช้าและเย็นอยู่ที่หัวมุม ถนนอุตรกิจ และ สุขสถิต หรือบริเวณ หอนาฬิกาเก่า
  • ตลาดเทศบาล ๑ อยู่ห่างจาก หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ ขึ้นไปทางเหนือสองถนน
   
     
ตลาดเทศบาล ๒ (กาดหลวง ๒)
ตลาดเทศบาล ๒ เป็นตลาดสด และ ตลาดผลไม้ - ดอกไม้
เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี เที่ยวเมืองเชียงราย ๗๖๐ ปี
ตลาดดอกไม้ ตลาดผลไม้
ตลาดสดอยู่ด้านใน ตลาดดอกไม้ และ ตลาดผลไม้ อยู่ริมถนนด้านนอก
   
     
แผนที่เมืองเชียงรายและเส้นทางรถเมล์
เทศบาลนครเชียงราย เส้นทางรถเมล์
Map Chiang Rai Civic Center map-city bus-chiang rai flowers festival
แผนที่เมืองเชียงราย เส้นทางรถเมล์
   
เส้นทางรถเมล์ City Bus
เส้นทางรถเมล์ City Bus เพื่อความสดวกในการเดินทาง
city bus แผนที่เส้นทางรถ ซิตี้บัส
City Bus แผนที่เส้นทางรถเล์ City Bus
   
     
City Bus (ยังไม่กลับมาให้บริการ)

เส้นทางรถเมล์ ซิตี้บัส สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - สถานีขนส่ง ๒

ค่าโดยสาร ๒๐ บาท ตลอดเส้นทาง

 
Chiang Rai city bus
รภเมล์ซิตี้บัส
แผนที่เส้นทางรถ ซิตี้บัส
เส้นทางรถซิตี้บัส
       
ขนส่งสาธารณะจัวหวัดเชียงราย >>>
       
เผื่อว่าเห็นภูเขาจนเบื่อ  
 
 
     
เที่ยวไทย ไปทุกที่        
กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขุมพร ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี สุพรรณ์บุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก
สุโขทัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย
พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เลย สุรินทร์
ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ตราด บึงกาฬ นครพนม
ชัยภูมิ มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา ร้อยเอ็ด ขอนแก่น อุดรธานี
           
 
 
 
 
   
     
 
 
 
   
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com