September 1, 2024
Living in Thailand เชียงแสน Englush - US
  จ.เชียงราย  



เรียนเพื่อน ๆ สว. และเพื่อน ๆ นักท่องเว็บ
 
เว็บไซท์นี้ livinginthailand.com ทำมานานกว่า 20 ปี เพื่อโปรโมท การท่องเที่ยว และ แนะนำประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น
 

ไม่เคยมี โฆษณา และไม่เคยอนุญาตให้มีการ โฆษณาแฝง

 
หากพบว่า มีโฆษณา หรือ โฆษณาแฝง ให้ถือว่าเป็นการบุกรุกเว็บไซท์ และ ให้ถือว่า การโฆษณานั้น ๆ ไม่เป็นความจริง
  ขอบคุณครับ
     

ข่าว
 

อำเภอเชียงแสน

จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบว่าเชียงแสนมีแหล่งโบราณสถาน 139 แหล่ง อยู่ในเขตกำแพงเมือง 76 แหล่ง อยู่นอกเขตกำแพงเมือง 63 แหล่ง และกรมศิลปากรยังพบว่า สภาพพื้นที่ของเมืองเชียงแสน มีความ อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก เหมาะแแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ หากมีการสำรวจ น่าจะได้พบ แหล่งโบราณสถานอีกเป็นจำนวนมาก (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน พ.ศ. 2557)

เพื่อรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและมากมายกว่านี้ ก็ต้องไปที่พิพิธภัณฑสถานเชียงแสน

เปิดให้ชม วันพุทธ - อาทิตย์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์ คนไทย 10 บาท ผู้สูงอายุเข้าชมฟรี

     
พิพิธภัณฑเชียงแสน
Chiang Saen Museum Chiang Saen Museum Chiang Saen Museum Chiang Saen Museum เปลวรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ เปลวรัศมี
โบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุเมืองโบราณ  
 
สามเหลี่ยมทองคำ
 
ที่มาของบริเวณนี้ ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"
ที่มาของบริเวณนี้ ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"

บริเวณนี้เคยเป็นจุดนัดหมาย หรือ นัดพบ เพื่อการค้าขาย และแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในลุ่มน้ำแห่งนี้ (จีน พม่า ไทย ลาว)  คล้ายๆ กับ "ตลาดนัด" ในปัจจุบัน เหตุเพราะการคมนาคมทางน้ำสดวกต่อการเดินทางทั้งสี่ประเทศ

นอกจากการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ข้าว ปลา อาหาร แลกกับ เสื้อผ้า ของใช้ เป็นต้น ถ้าไม่มีสินค้ามาแลกก็ใช้วิธีซื้อสินค้า

สมัยก่อนเงินตรายังไม่เป็นที่นิยม จึงมีการใช้ เงิน หรือ ทองคำ ในการซื้อขาย
ประกอบกับการค้าขายที่รุ่งเรืองทำให้บริเวณนี้เสมือนแผ่นดินทอง

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการเรียกบริเวณนี้ว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"

ในครั้งที่มีการค้าฝิ่นบริเวณนี้ก็เป็นจุดพบปะ รวมทั้งการค้ายาเสพติดที่มีขึ้นในภายหลัง ชื่อ สามเหลี่ยมท่องคำ จึงปรากฏไปในทางลบ กลายเป็นว่า ชื่อสามเหลี่ยมทองคำมาจากการค้ายาเสพติด

ปัจจุบันมีการเปิดบ่อนกาสิโน พาราไดซ์ หรือ (และ) วิน วิน ทางฝั่ง เมียนมา (พม่า)ซึ่งอยู่ฝั่งซ้าย สามารถมองเห็นได้จากฝั่งไทย ทราบว่าเจ้าของบ่อนเป็นคนไทย

บริเวณฝั่งขวาเป็นบ่อนกาสิโน คิงโรมัน อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ส.ป.ป. ลาว (สาธารณรัฐประชาชนประชาธิปไตยลาว) ซึ่งมีบริษัทจีนเป็นเจ้าของ  ทำสัญญาเช่าที่ดินจากรัฐบาลลาวรวมกว่า 9,000 ไร่ เป็นเวลา 99 ปี

เมื่อบริเวณนี้แล้วเสร็จ จะเป็นเมื่องเมืองหนึ่ง มีสนามบินระหว่างประเทศ มีร้านค้า ช๊อปปิ่ง คอนโด และโรงแรม เรียกว่าเบ็ดเสร็จครบวงจร

จากเดิมชาวจีนที่เดินทางมาคิงโรมัน ต้องนั่งเครื่องไปลงที่สนามบินเชียงราย แล้วนั่งรถมาที่สามเหลี่ยมทองคำ ทำหนังสือผ่านแดนฝั่งไทยก่อนลงเรือข้ามไปฝั่งลาว

จากเริ่มแรกนักท่องเที่ยวพักโรงแรมในเมืองเชียงราย หรือบ้างก็พักบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ หรือในอำเภอเชียงแสน หลังจากอาคารที่พักฝั่งลาวแล้วเสร็จ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาบริเวณนี้ก็ไปพักกันที่ฝั่งลาว   และเมื่อสนามบินที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแล้วเสร็จ เครื่องบินก็จะไปลงที่นั่น ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเขตเศรษฐกิจพิเศษ สปป. ลาว  มีความสดวกยิ่งขึ้น

เหนือจากสามเหลี่ยมทองคำขึ้นไปทางฝั่งขวา คือเขตปกครองพิเศษ มณฑลยูนาน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนได้สร้างทางหลวง R3A ผ่านเข้า สปป. ลาวถึงนครหลวงเวียงจัน อีกเส้นทางหนึ่ง คือ R3B สร้างเข้าประเทศ เมียนมา เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน  

นอกจากการเดินทางทางรถและทางเรือสดวกขึ้น เส้นทางรถไฟจากอำภอเด่นชัย จ.แพร่ มาเชียงราย ก็กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าใช้เวลาอีก 3-4 ปีกว่าจะได้เห็นรถไฟถึง อ.เชียงแสน  

     
     
แผนที่สามเหลี่ยมทองคำ พระเจ้าล้านตื้อ วัดพระธาตุภูเข้า
แผนที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ พระล้านตื้อ (แปลว่า พระองค์ใหญ่มาก) วัดพระธาตุภูเข้า (วัดเก่าประมาณ 1,000-1,500 ปี)
สามเหลี่ยมทองคำ
พระพุทธนวล้านตื้อ
พระพุทธนวล้านตื้อ ขนาดหน้าตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร จำลองจากข่าวการพบพระองค์ใหญ่ในแม่น้ำโขงบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ซึ่งเชื่อว่าเป็น พระเจ้าล้านตื้อ

พระพุทธนวล้านตื้อที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นองค์พระ ที่นายนรินทร์ พานิชกิจ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงรายในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มให้มีการหล่อองค์พระ จำลองขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และนายนรินทร์ยังได้ก่อตั้งมูลนิธิพระเชียงแสน สี่แผ่นดิน เพื่อหล่อองค์พระเพื่อส่งไป ประดิษฐาน ในวัดที่ประเทศ พม่า ประเทศจีน และประเทศลาว เพื่อเชื่อมความสำพันธ์ (นายนรินทร์ พานิชกิจ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2557)

เปลวรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ

เปลวรัศมี (ที่เชื่อกันว่าเป็นเปลวรัศมีของพระเจ้าล้านตื้อ) สูง 70 ซ.ม. กว้าง 55 เซ็นติเมตร งมได้จาก แม่น้ำโขงบริเวณหน้าอำเภอ เชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธพัณฑ์เชียงแสน)

จากข่าวที่เคยเชื่อกันว่าเป็น เปลวรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ แต่ไม่สามารถยืนยันได้

     
ตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน Chiang Saen map แผนที่สามเหลี่ยมทองคำ
     
หิรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน

หิรัญนครเงินยางเชียงลาว หรือ เหรัญนครเงินยางเชียงลาว หรือ นครเงินยางไชยบุรีศรีเชียงแสน หรือ อำเภอเชียงแสน ในปัจจุบัน

สืบเนื่องมาจาก เวียงหนองหล่ม

หลังจากอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติล่มสลาย ชาวเวียงโยนกที่เหลือ ได้พากันหาที่ตั้งเมืองใหม่ และได้มาพบพื้นที่เหมาะสม ใกล้ ลุ่มน้ำโขง และแม่น้ำกก จึงได้พากันสร้างที่พักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว เรียกกันว่า "เวียงปรึกษา" (เปิ๊กสา) หรือ เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน

เวียงปรึกษา หรืออาจจะรียกได้ว่า "เมืองประชาธิปไตย" หรือจะให้ไปไกลกว่านั้น นี่คือต้นแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยก็ว่าได้

หลังจากเวียงโยนกนาคพันธุ์ล่มสลาย ชาวเวียงโยนกไม่มีผู้นำหลัก ได้ยกให้ ขุนลัง (ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเป็นเสมือนผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้นำ ชาวเวียงปรึกษาจึงได้มีการแสดงความคิดเห็นด้วยการออกเสียงประชามติ ..... ก็น่าจะเรียกได้ว่า นี่คือต้นแบบของประชาธิปไตย

จากตำนานเล่าขานของชาวพื้นเมืองแต่โบราณ และตำนานจากใบลาน ที่มีเรื่องราวแตกต่างกันไป ถ้าจะยึดเรื่องฝากใดแต่ปล่อยทิ้งอีกฝากหนึ่ง เรื่องก็คงไม่ครบองค์ประกอบกับหลักฐานที่มีอยู่

เวียงปรึกษาอยู่ที่ใดกันแน่ จากหลักฐานที่เชียงแสนน้อย ซึ่งกรมศิลปากรได้สำรวจแล้วเห็นว่า บริเวณนี้คือที่ตั้งของเวียงปรึกษา ที่ขุนล้งได้นำชาวเวียงโยนกฯ มาสร้างเป็นที่พักชั่วคราว เพื่อสำรวจหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างเมือง

อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อได้ว่า เวียงปรึกษาอยู่ที่ เชียงแสนน้อย

เชียงแสนน้อยอยู่ใกล้ลำน้ำโขงและลำน้ำแม่กก และไม่ห่างไกลจากเวียงโยนกมากนัก และสาเหตุที่ใกล้ลำน้ำซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์

สร้างเมืองเชียงแสน

ชาวเวียงปรึกษาได้มาพบพื้นที่เหมาะสมในการสร้างเมืองบนพื้นที่ราบบริเวณริมแม่น้ำโขง (อ.เชียงแสนในปัจจะบัน) ห่างจากเวียงปรึกษาประมาณ 7 กิโลเมตร จึงได้สร้างเมืองที่บริเวณนี้ และเรียกเมืองนี้ว่า "เหรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน" (บางตำนานก็เรียก "หิรัญนครเงินยาง" บางตำนานก็เรียก "ไชยบุรีศรีช้างแสน"

กษัตริย์ครองหิรัญนครเงินยางองค์แรกคือ พระเจ้าลวะ (หรือ ลัวะ ) จังกราช (หรือ จักกราช) อ้างอิงจากตำนานบนฝาผนังวัดพระธาตุภูเข้า กล่าวว่า ในปี พ.ศ.๑๑๘๒ ลวะจักราชเทพยุตรได้รับอภิเษกให้ครองเมืองเหรัญนครเงินยางเชียงแสนครึ่งหนึ่ง ๖ ปีต่อมาเหล่าท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ราชบัณฆิตทั้งหลายทั้งหลาย ก็พากันสถาปนาพระองค์ให้เป็นใหญ่ครองทั้งเมือง และทรงพระนามใหม่ว่า ลวะเอกกษัตริย์ เป็นกษัตริย์องค์แรกตั้งแต่นั้นมา

พงศาวดารเงินยางเชียงแสน

ตำนานสิงหนวัติ


ปรับปรุง 31 ต.ค. 2020

     
วัดสังฆาแก้วดอนทัน อ.เชียงแสน
วัดสังฆาแก้วดอนทัน อ. เชียงแสน

แผ่นป้ายจากกรมศิลปากร

กล่าวถึงการสร้างเมือง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน จากพงศาวดารโยนก ไว้ว่า ลาวจก ได้สร้าง วัดสังฆาแก้วดอนทัน (หรือวัดสังกายางเงิน) หลังการสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง ประมาณ ปี พ.ศ. 1182 หรือเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1,385 ปี มาแล้ว ซึ่งก็ตรงกับระยะเวลาเวียงโยกนกล่มสลายไปเมื่อประมาณ 1,500 ปี

 

วัดสังฆาแก้วดอนทัน หรือวัดสังกายางเงิน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ระหว่าง อ.เชียงแสน และ กำแพงเมืองเก่า (ทางไปสามเหลี่ยมทองคำ)

วัดเจดีหลวง
ป้ายกรมศิลปกรที่วัดเจดีย์หลวง

แผ่นป้ายจากกรมศิลปากร

ตำนานกล่าวไว้ว่าพระเจ้าแสนภูโปรดให้สร้างวัดเจดีย์หลวงขึ้น ในปี พ.ศ. 1814 (หลังจากสร้างกำแพงเมือง เชียงแสนแล้ว 3 ปี)

"พระเจ้าแสนภูสร้างกำแพงเมืองเชียงแสน" กรมศิลปากร ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงแสน

พญามังรายขึ้นครองราชหลังจากพระบิดาซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนสิ้นพระชนเมื่อปี พ.ศ. 1805

พญามังรายได้ย้ายเมืองเอกมาที่เมืองเชียงรายที่พระองค์สร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ. 1805

พระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทธโกษาเป็นชาวโกศลเมืองสุธรรมวดี (สะเทิน) ในรามัญประเทศ ได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีป นำคัมภีร์พระไตรปิฎกแห่งลังกาทวีปมาสู่รามัญประเทศ และพุกามประเทศและเข้าสู่แคว้นนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราชเจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ ... ก็หมายความว่า ... พระเจ้าแสนภูไม่ได้เป็นคนสร้างเมืองเชียงแสน

ประวัติพระธาตุภูเข้า (ตำนานสิงหนวัติ)
ภาพประวัติความเป็นมาพระธาตุภูเข้ากล่าวถึงกษัตริย์องค์แรกครองหิรัญนครเงินยาง

ประวัติพระธาตุภูเข้า กล่าวถึงกษัตริย์ผู้สร้างวัดพระธาตุภูเข้า

ในราวปี พ.ศ.๑๑๘๒ ลวะจังกราชเทพบุตรได้รับอภิเษกให้ปกครองเมือง เหรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสนครึ่งหนึ่ง ๖ ปีต่อมา เหล่าท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิตทั้งหลาย ก็พากันสถาปนาพระองค์ให้เป็นใหญ่ครองทั้งเมือง และทรงพระนามใหม่ว่า ลวะจังกราชเอกกษัตริย์ เป็นกษัตริย์องค์แรกตั้งแต่นั้นมา

เมื่อทรงครองราชสมบัติแล้วพระองค์เป็นผู้มีเจตนา ศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงได้มาสร้าง พระสถูปเจดี ณ จอมดอยที่ปูเข้านี้ แล้วพระพุทธองค์ ทรงทำนายว่า ที่นี้ต่อไปจักได้ชื่อว่า ดอยภูเข้า ว่าตั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าลาวเก้าแก้วจึงได้มาสร้าง มหาเจดีย์ ณ ที่แห่งนี้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว พระองค์ ทรงำทำบุญให้ทานฉลองพระธาตุเจดีย์เป็นการใหญ่ ชนทั้งหลายจึงขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า พระธาตุเจ้าดอยภูเข้านั่นแล

 
     
เวียงปรึกษา - เชียงแสนน้อย (ชุมชนหลังการล่มสลายของเวียงโยนก)

เวียงปรึกษา (หรือ เปิ๊กสา) หรือ เชียงแสนน้อย ในปัจจุบัน

หลังจาก เวียงโยนกนาคพันธ์สิงหนวัติ ล่มสลาย ชาวเมืองที่เหลือได้พากันหาที่ตั้งเมืองใหม่ ตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า ขุนล้ง และชาวเมือง ได้มาพบพื้นที่ด้านตะวันออกของเวียงโยนกที่ล่มสลายไป เป็นที่เหมาะสมในการตั้งเมืองชั่วคราว และได้เรียกเมืองใหม่นี้ว่า "เวียงปรึกษา" (เปิ๊กสา) ปัจจุบันก็คือ เชียงแสนน้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านสบคำ ต.เวัยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

หลังจากสถาปนาเวียงเชียงแสน (หิรัญนครเงินยาง หรือ เหรัญนครเงินยาง) จึงได้ใช้เวียงปรึกษาเป็นเมืองหน้าด่าน

เวียงปรึกษาอยู่ห่างจากเมืองเชียงแสนไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบเช่นเดียวกับการสร้างเมืองในสมัยนั้น

จากแผ่นป้ายที่กรมศิลปากร หน่วยที่ 4 ติดตั้งไว้ที่บริเวณวัดธาตุเขียว เขียนไว้ว่า

"ในตำนานโยนก บันทึกไว้ว่า พญาแสนภู ตั้งค่ายพักเป็นการชั่วคราว ณ.บริเวณเวียงปรึกษา เพื่อสำรวจสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นราว พ.ศ. 1831 เมืองเชียงแสนน้อยสร้างขึ้นก่อนสถาปนาเมืองเชียงแสน"

ข้อความนี้อาจจะหมายถึงการสร้างเมืองใหม่บนพื้นที่เมืองเก่า นั่นคือ เมืองเชียงแสน หรือเป็นการสร้างเมืองใหม่ครอบเมืองเก่า จะเห็นได้จากกำแพงเมืองเก่าที่ยังหลงเหลืออยู่มีสองชั้น (หลังจากสำรวจพื้นที่แล้วพญาแสนภูคงเห็นว่า เมืองเชียงแสนเป็นทำเลที่เหมาะสม หรือไม่ก็ เห็นควรบูรณะเวียงเชียงแสน )

การที่พญาแสนภูพักที่ เวียงปรึกษา ก็คงจะไม่ใช่สร้างเวียงปรึกษาเพื่อเป็นที่พัก แต่ใช้เวียงปรึกษาที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นที่พักพิง

พญาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นใหม่ (หรือบูรณะเมืองขึ้นใหม่) เพราะเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยางได้ถูกทิ้งร้างหลังจากพม่ากวาดต้อนผู้คนไป (หรือว่า ชาวขอมโบราณซึ่งเรืองอำนาจในขณะนั้น) ปล่อยให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองร้าง

พญาเม็งราย (ม้งราย) ประฐมกษัตริย์เมืองเชียงราย ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1781 (หรือ 1782 แล้วแต่จะเชื่อใครดี) เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง (ลาวม้ง) กษัตริย์ปกครอง หิรัญนครเงินยาง

พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 1804 ขึ้นครองราข เมื่อปี พ.ศ. 1805 และได้ย้ายเมืองเอกมาที่เชียงราย

แสดงว่า หิรัญนครเงินยาง ได้ถูกสร้างขึ้นก่อนพญาแสนภู

เวียงปรึกษา หรือปัจจุบันหมู่บ้านเชียงแสนน้อย เป็นสถานที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ สมควรอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา เพราะเวียงปรึกษาเป็นสถานที่ หรือเมืองของชุมชนที่อพยบมาจากเวียงโยนกที่ล่มสลายเมื่อ 1,500 ปี หากไม่มีสถานที่นี้ที่เรียกว่า "เวียงปรึกษา" ก็จะไม่รู้ว่า ชาวเมืองโยนกย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ใด เรื่องราวก็ไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้บริเวณใต้พื้นดินแห่งนี้อาจมีวัตถุโบราณอันล้ำค่าซ่อนอยู่ ซึ่งวันหนึ่งอาจเป็นการค้นพบข้อมูลที่อาจช่วยให้เรียนรู้การล่มสลายของ อาณาจักรโยนกก็เป็นได้

ข้อมูลสำคัญในแผ่นป้ายกรมศิลปากร กล่าวว่า ในบริเวณเชียงแสนน้อยมีโบราณสถานที่สำคัญซึ่่งอยู่ภายใต้การอนุรักษ์ของกรมศิลปากร ดังนี้ วัดธาตุเขียว วัดธาตุโขง และวัดพระธาตุสองพี่น้อง

.....................................

นอกจากบ้านเชียงแสนน้อย หมู่บ้านสบคำ ต.เวัยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ยังมีโบราณสถานเสำคัญอีกแห่งหนึ่ง "วัดพระธาตุผาเงา" สถานที่นี้เป็นโบราณสถานที่มีประวัติย้อนหลังกว่า 2,000 ปี ..... อย่าลืมไปแวะชมและสักการะ

วัดธาตุเขียว
วัดธาตุเขียว
วัดธาตุเขียว
วัดธาตุเขียว
วัดธาตุเขียว
วัดธาตุเขียว
แผ่นป้ายกรมศิลปากร
ประวัติพระธาตุภูเข้า (ตำนานสิงหนวัติ)
ประวัติความเป็นมาของพระธาตุภูเข้าและส่วนหนึ่ง ของแรกเริ่มเมือง "หิรัญนครเงินยางเชียงแสน" จากพงศาวดารเงินยางเชียงแสน ตำนานสิงหลวัติ
     
     
 
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com