เวียงปรึกษา (หรือ เปิ๊กสา) หรือ เชียงแสนน้อย ในปัจจุบัน
หลังจาก เวียงโยนกนาคพันธ์สิงหนวัติ ล่มสลาย ชาวเมืองที่เหลือได้พากันหาที่ตั้งเมืองใหม่ ตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า ขุนล้ง และชาวเมือง ได้มาพบพื้นที่ด้านตะวันออกของเวียงโยนกที่ล่มสลายไป เป็นที่เหมาะสมในการตั้งเมืองชั่วคราว และได้เรียกเมืองใหม่นี้ว่า "เวียงปรึกษา" (เปิ๊กสา) ปัจจุบันก็คือ เชียงแสนน้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านสบคำ ต.เวัยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
หลังจากสถาปนาเวียงเชียงแสน (หิรัญนครเงินยาง หรือ เหรัญนครเงินยาง) จึงได้ใช้เวียงปรึกษาเป็นเมืองหน้าด่าน
เวียงปรึกษาอยู่ห่างจากเมืองเชียงแสนไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบเช่นเดียวกับการสร้างเมืองในสมัยนั้น
จากแผ่นป้ายที่กรมศิลปากร หน่วยที่ 4 ติดตั้งไว้ที่บริเวณวัดธาตุเขียว เขียนไว้ว่า
"ในตำนานโยนก บันทึกไว้ว่า พญาแสนภู ตั้งค่ายพักเป็นการชั่วคราว ณ.บริเวณเวียงปรึกษา เพื่อสำรวจสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นราว พ.ศ. 1831 เมืองเชียงแสนน้อยสร้างขึ้นก่อนสถาปนาเมืองเชียงแสน"
ข้อความนี้อาจจะหมายถึงการสร้างเมืองใหม่บนพื้นที่เมืองเก่า นั่นคือ เมืองเชียงแสน หรือเป็นการสร้างเมืองใหม่ครอบเมืองเก่า จะเห็นได้จากกำแพงเมืองเก่าที่ยังหลงเหลืออยู่มีสองชั้น (หลังจากสำรวจพื้นที่แล้วพญาแสนภูคงเห็นว่า เมืองเชียงแสนเป็นทำเลที่เหมาะสม หรือไม่ก็ เห็นควรบูรณะเวียงเชียงแสน )
การที่พญาแสนภูพักที่ เวียงปรึกษา ก็คงจะไม่ใช่สร้างเวียงปรึกษาเพื่อเป็นที่พัก แต่ใช้เวียงปรึกษาที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นที่พักพิง
พญาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นใหม่ (หรือบูรณะเมืองขึ้นใหม่) เพราะเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยางได้ถูกทิ้งร้างหลังจากพม่ากวาดต้อนผู้คนไป (หรือว่า ชาวขอมโบราณซึ่งเรืองอำนาจในขณะนั้น) ปล่อยให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองร้าง
พญาเม็งราย (ม้งราย) ประฐมกษัตริย์เมืองเชียงราย ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1781 (หรือ 1782 แล้วแต่จะเชื่อใครดี) เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง (ลาวม้ง) กษัตริย์ปกครอง หิรัญนครเงินยาง
พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 1804 ขึ้นครองราข เมื่อปี พ.ศ. 1805 และได้ย้ายเมืองเอกมาที่เชียงราย
แสดงว่า หิรัญนครเงินยาง ได้ถูกสร้างขึ้นก่อนพญาแสนภู
เวียงปรึกษา หรือปัจจุบันหมู่บ้านเชียงแสนน้อย เป็นสถานที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ สมควรอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา เพราะเวียงปรึกษาเป็นสถานที่ หรือเมืองของชุมชนที่อพยบมาจากเวียงโยนกที่ล่มสลายเมื่อ 1,500 ปี หากไม่มีสถานที่นี้ที่เรียกว่า "เวียงปรึกษา" ก็จะไม่รู้ว่า ชาวเมืองโยนกย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ใด เรื่องราวก็ไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้บริเวณใต้พื้นดินแห่งนี้อาจมีวัตถุโบราณอันล้ำค่าซ่อนอยู่ ซึ่งวันหนึ่งอาจเป็นการค้นพบข้อมูลที่อาจช่วยให้เรียนรู้การล่มสลายของ อาณาจักรโยนกก็เป็นได้
ข้อมูลสำคัญในแผ่นป้ายกรมศิลปากร กล่าวว่า ในบริเวณเชียงแสนน้อยมีโบราณสถานที่สำคัญซึ่่งอยู่ภายใต้การอนุรักษ์ของกรมศิลปากร ดังนี้ วัดธาตุเขียว วัดธาตุโขง และวัดพระธาตุสองพี่น้อง
.....................................
นอกจากบ้านเชียงแสนน้อย หมู่บ้านสบคำ ต.เวัยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ยังมีโบราณสถานเสำคัญอีกแห่งหนึ่ง "วัดพระธาตุผาเงา" สถานที่นี้เป็นโบราณสถานที่มีประวัติย้อนหลังกว่า 2,000 ปี ..... อย่าลืมไปแวะชมและสักการะ
|