ข่าวที่ดิน ส.ป.ก. English

หน้าแรก living live in            
เริ่มแล้ว ปฏิบัตการยึดคืนที่ดิน สปก.

หลังจากเป็นข่าวร่วมปี ว่า ทางรัฐจะสำรวจที่ดิน สปก. ที่มีการครอบครองกันอย่างผิดเงื่อนไข สปก.เพื่อเรียกคืนไป จัดสรรให้คนจนที่ไม่มีที่ทำกิน แต่ก็ไม่มีใครแสดงตนหรือส่งคืนที่ดิน ทำให้ภาครัฐต้องบังคับใช้กฏหมาย ม.44 เพื่อยึดคืนที่ดิน

จะว่าผู้ที่ครอบครองที่ดิน สปก. ไม่รู้กฏระเบียบของการครอบครองที่ดินก็ยากที่จะเชื่อได้ ผู้ที่ครอบครองที่ดินผืน ใหญ่ เป็นถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นายตำรวจ นายทหาร รวมทั้งผู้กว้างขวาง (ผู้มีอิทธิพล) ในท้องถิ่น และผู้ที่มีธุระ กิจเกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ และรวมทั้งวัดวาอารามพุทธศาสนาก็เอาด้วย

การครอบครองที่ดินมากกว่า 500 ไร่ ถึงนับพันไร่ เชื่อว่าผู้ครอบครองต้องรู้กฏหมาย แต่ที่ผ่านๆ มาระบบอุปถัมภ์ ค้ำจุนกันอยู่ มือใครยาวสาวได้สาวเอา เลยเถิดเข้าไปครอบครองที่ดินในเขตป่าเขตอุทยานหรือแม้กระทั่งที่ดินของ รัฐและที่สาธารณะประโยชน์ ลำธารลำห้วยก็ยึดไปด้วย

การที่ที่ดิน สปก.ถูกนำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์มีให้เห็นอย่างชัดเจน เช่นการสร้างรีสอร์ท หรือการสร้างบ้านบน ชะง่อนผา หรือที่ลาดชันเกินกว่า 35 องศา น่าจะเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ผู้รักษากฏหมายกลับไม่รู้ไม่เห็น ก็ไม่น่าแปลกใจที่การฮุ๊บที่ดินเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประชาชนทั่วไปก็เอาบ้าง 20-30 ไร่ หรือหลายร้อยไร่ก็มี ชอบที่ตรงไหน หรือต้องการที่ตรงไหนเพื่อนำไปขายให้คนที่ไม่รู้ หรือชาวต่างชาติ ก็เพียงแค่จ่ายเงินใต้โต๊ะ ก็ได้รับ น.ส. 3

ใครที่ไม่รู้ก็ซื้อ น.ส.3 ไป ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการทำประโยชน์ในที่ดิน หรือบางคนซื้อไปคิดว่าจะทำอะไรกับที่ดินก็ได้ เช่นสร้างรีสอร์ท รวมทั้งมีการเชื่อว่า ที่ดินที่ซื้อมาจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น หรือข้าราชการระดับสูง ไม่ต้องเกรงกลัว กฏหมาย เพราะระบบอุปถัมภ์ค้ำจุนอยู่ ไม่มีใครคิดว่า วันหนึ่งเมื่อการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดจะเกิดขึ้น การปราบปรามการทุจริตจะเกิดขึ้น และระบบอุปถัมภ์ต้องสิ้นสุดลง แล้ววันนั้นก็มาถึง


เรียกคืนที่ดิน สปก. ใครอยู่ในข่ายที่จะถูกเรียกคืน

ก่อนอื่นอย่าลืมว่า ที่ดิน สปก. เป็นที่ดินของรัฐ รัฐจัดสรรให้เกษตรกรผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน แต่ที่ผ่านมาการใช้สิทธิไม่เป็นไปตามกฏระเบียบ (อ่านกฏระเบียบที่ดิน สปก.) ทำให้เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน

ใครเข้าข่ายที่จะถูกเรียกคืน

  • ผู้ครอบครองเกินกว่ากฏระเบียบ สปก.กำหนด
  • ผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่ปฏิรูปในที่ดิน
  • ผูที่ใช้ดินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สปก.
  • ผู้ที่ครอบครองที่ดินรุกล้ำเขตป่า อุทยานฯ และพื้นที่ลาดชันเกินกว่า 35 องศา

ที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลไหนที่เอาจริงกับการตรวจสอบการถือครองที่ดิน สปก. ส่วนหนึ่งของการปล่อยปละละเลย ก็ เพราะว่า คนของรัฐเองหรือพรรคพวกกันเองเป็นผู้ครอบครอง อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ การออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่ไม่มีการปฏิรูป หรือพื้นที่นอกเขต สปก. รวมทั้งที่ดินลาดชันเกินกว่ากฏหมายกำหนด และมีการซื้อขายกันแบบผิดกฏหมาย สุดท้ายก็ไปตกอยู่ในมือของนายทุน หรือผู้มีอิทธิพล หรือนักการเมือง

สำหรับผู้ที่ครอบครองรายย่อย ก็มีคำถามว่า ได้มาถูกต้องหรือไม่ ทำประโยชน์ในที่ดินหรือเปล่า ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์หรือเปล่า

ที่ดิน สปก. มีการซื้อขาย เปลี่ยนผ่านผู้ถือครองมากมาย ผู้ครอบครองหลังสุดหรือผู้ครอบครองสุดท้ายที่กำลังจะถูก ตรวจสอบ อาจสูญเสียที่ดินที่ซื้อมาโดยไม่รู้ประวัติความเป็นมาของที่ดินผืนนั้น แม้ว่าจะเป็น น.ส.3 ก็ตาม

เรียกคืนที่ดิน สปก.

เตรียมใช้มาตรา 44 เรียกคืนที่ดิน สปก. ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการใช้ทำประโยชน์ในที่ดิน

สปก. (สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) ได้ทำร่างประกาศ คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)เรียกคืนที่ดิน สปก. โดยใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ตามที่รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้สั่งการ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

ที่ดิน สปก.ที่จะเรียกคืนชุดแรกคือผู้ถืครอง 500 ไร่ขึ้นไป และรองลงมาถึงผู้ครอบครอง 100 ไร่ตามลำดับ รวมเป็น พื้นที่ที่จะถูกเรียกคืน 428,390 ไร่ ครอบคลุม 34 จังหวัด (8 มิ.ย.59)

ถึงเวลายึดคืนที่ดินปากช่อง

อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีที่ดินสวยงามมากมาย ที่ดินติดป่าถาวร ที่ดินติดอุทยานแห่งชาติ ที่ดิน สปก. ที่ดินรัฐ ที่ดินที่ใช้ทำประโยชน์ (ภบท.5) มากมายเยอะแยะหลายหมื่นไร่กำลังถูกฝ่ายกฏหมายและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบการครอบครองที่ดิน การใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ การบุกรุกป่า ไม่มีการเว้นแม้แต่ผู้มีอกนาจในท้องถิ่นหรือ ระดับชาติ นายทุนใหญ่หรือชาวบ้านทั่วไป

การตรวจสอบในพื้นที่พบว่า ที่ดินหลายร้อยแปลงรวมเนื้อที่กว่าหมื่นไร่มีการบุกรุกป่า ออกเอกสารสิทธิ์มิชอบ ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ เช่นสนามกอล์ฟที่กินเนื้อที่นับพันไร่ และไร่โบนันซ่า เป็นต้น

สำหรับรายย่อยก็พลอยติดร่างแหไปด้วย ใครที่ไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่องที่ดิน สปก. ที่ดินที่ใช้ ภบท.5 ขายทอดตลาดกัน เป็นทอดๆ รวมทั้งที่ดินในเขตป่าที่ไม่สามารถออกเอสารสิทธิ์ได้

ถ้าไม่แน่ใจว่าที่ดินที่ได้มาถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ก็ควรตรวจสอบให้แน่ชัดด้่วยตนเอง ไม่ใช่ถามคนที่ขายให้ ถ้ารู้ว่าซื้อที่ดินมา หรือไดรับที่ดินมาอย่างผิดกฏหมาย ก็ถึงเวลาตัดสินใจจะต่อสู้กับขบวนการยุติธรรมหรือหนี ในบางกรณีย์ก็แค่ถูกยึดคืนที่ดิน แต่บางกรณีย์อาจเกี่ยวข้องกฏหมายอาญา และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปลับพื้นที่ ให้เหมือนเดิม

สั่งยึดที่ดิน ภรรยานายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก.4-01 กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะจัดสรรให้เกษตรกรที่ยากจนไร้ที่ดิน ทำกินได้เข้าไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่ดินที่จัดสรรให้ไปไม่สามารถซื้อขายหรือเปลี่ยนมือผู้ถือครองรายใหม่ได้ เกษตรกรรายใดมีชื่อเป็นเจ้าของเอกสารสิทธิ์ ต้องเข้าไปทำประโยชน์ด้านเกษตรกรรมในที่ดินของตนเอง จะให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้ทำประโยชน์แทนไม่ได้

ที่ดิน ส.ป.ก. จำนวน 61 ไร่ ที่ภรรยาอดีต รมต. ระบุว่าเข้าไปใช้ประโยชน์ปลูกสวนยางในจังหวัดเชียงราย ที่เป็นข่าวออกมา จะสั่งให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  (ส.ป.ก.) เข้าไปตรวจสอบข้อมูลโดยด่วน

แต่เบื้องต้นยืนยันว่า ไม่สามารถทำได้ เกษตรกรเจ้าของที่ดินจะต้องเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เอง จะไปอนุญาตให้ คนอื่นเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของตนเองไม่ได้

ใครใช้ที่ดิน สปก. 4-01 ไม่เป็นไปตามวัตถุปรสค์ สปก. ระวังถูกเวนคืน

หลังจากการยึดอำนาจโดย คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) คสช.ก็ได้มีการสะสางคดีต่าง ๆ ที่สะสมมานาน ไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล รวมทั้งที่ดินทำกินของเกษตรกร การบุกรุกป่า และที่ดิน สปก.ที่นำไปใช้ประโยชน์อื่น ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สำนักงานปติรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก) จึงมีการตรวจสอบโดย คสช. ร่วมกับ กรมป่าไม้ และ สปก. อย่างจริงจัง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นก็เริ่มมีการตรวจสอบในพื้นที่ตนเอง

เพียงระยะเวลาไม่ถึงเดือน คสช.ได้มีการจับกุมยึดของกลางสิบกว่ารายในเขตพื้นที่เกือบ 20 จังหวัด และล่าสุดก็ ที่ดินของท่านผู้หญิงยศวดี บูรณะสัมฤทธิ์อัมพรไพศาล (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นเจ้าของ "ยศวดี รีสอร์ท" บนพื้นที่กว่า 700 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่าสงวน ภูเรือ จ.เลย และเขต สปก. ที่อ้างว่ามี น.ส. 3 แต่ศาลปกครองสูงสุด ได้ ตัดสินแล้วว่า เป็นการออก น.ส.3 โดยมิชอบ

จังหวัดเชียงราย, เมื่ื่อวันที่ 1 ก.ค. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม่จังหวัดเชียงราย ได้มีการเข้ายึดรีสอร์ทที่ก่อสร้าง ใน เขตป่าสงวนดอยนางแล และดอยพระบาท จำนวน 4 แห่ง

ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีที่ดิน สปก. รอบ หรือใกล้เคียงมหาวิทยาลัยพะเยา

หลังจากมีการก่อตั้งมหวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา ทำให้มีความต้องการหอพัก และ อาคารพาณิชย์ แต่เหตุเพราะ ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน สปก. องค์การบริหารท้องถิ่นจึงไม่สามารถอนุญาตให้มีการก่อสร้าง เพราะขัดวัตถุประสงค์ ที่ดิน สปก.

ข่าวดี

นายสมปอง อินทร์ทอง รองเลขาธิการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ในระหว่างการวิจัยพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ดิน สปก. เพื่อกำหนดให้เป็นที่ดินเชิงพาณิชย์เพื่อรองรับ ความเจริญเติบโตในท้องถิ่น ทั้งนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่อที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชน

ความเป็นไปได้ก็คือ การกำหนดเขตที่ดิน สปก. บางส่วนเพื่อใช้เป็นโซนนิ่งสำหรับที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ โดยไม่มีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบพื้นที่ทำกินของชุมชน

นี่คือตัวอย่างของความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงที่ดิน สปก. เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก "สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" ไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่ดิน ส.ป.ก.

ตั้งแต่มี พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ) การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2518 ก็มีการยึดครอง หรือครอบครองที่ดินกันทั่วประเทศ ก่อนที่จะออกเป็น พ.ร.บ. ก็มีการจับจองไปแล้วค่อนประเทศเห็นจะได้ ทั้งๆที่ยังไม่รู้รายละเอียดของกฏหมายที่ "คณะปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" (ส.ป.ก.) จะออกมาเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังมีคนที่ไม่เข้าใจกฏหมายมากมาย หรือไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของ พรบ. ปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดการครอบครองที่ดินที่ผิดกฏหมาย การถ่ายโอนและซื้อขายที่ ขัดต่อกฏหมาย สปก. การครอบครองที่ดินโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิถือครองที่ดิน สปก. รวมทั้งการทุจริตต่อหน้าที่ของภาครัฐ การออกเอกสารสิทธิมิชอบ


ที่ดิน "วังน้ำเีขียว"

รื้อรีสอร์ตวังน้ำเขียว

นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สั่งรื้อรีสอร์ตและบ้านพัก ตากอากาศ จำนวน 418 แห่ง ที่บุกรุกอุทยานแห่งชาติ จำนวนรีสอร์ตทั้ง 418 แห่ง ศาลได้ตัดสินเป็นที่สิ้นสุดแล้ว และกรมอุทยานฯได้ปิดประกาศให้เจ้าของที่ ได้รับทราบแล้ว ตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการรื้อถอนรัสอร์ตที่ได้ ้มีการแจ้งเตือนจำนวนหนึ่งแล้ว

ในช่วงดึกของคืนวันที่ 31 ก.ค. ก็ได้มีการรื้อถอน "ทะเลหมอกรีสอร์ต" และ จะรื้อถอนออกทั้งหมด ก่อนจะเกษียณอายุราชการต้นปีหน้า เพื่อให้เป็น "วังน้ำเขียวโมเดล" นายดำรงค์ พิเดชกล่าว (ตามที่เป็นข่าว)

นอกจากผู้บุกรุกจะต้องถูกดำเนินคดีแล้ว จะต้องถูกฟ้องร้องค่ารื้ถอนและการคืนพื้นที่ ป่าอีกด้วย

การบุกรุกทำลายป่าและอุทยานแห่งชาติ เป็ฯการทำลายชาติ เป็นวาระแห่งชาติ ที่รัฐาลต้องทำทันที ก่อนที่สัตว์ป่า พันธุ์พืช และพื้นที่ป่าจะหมดสิ้น

การบุกรุกป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศนับร้อยแห่ง มีผู้บุกรุกสร้างรีสอร์ต บ้านพัก หรือใช้เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น ปลูกต้นยางและทำไร่ข้าวโพดเป็นต้น แต่ที่ผ่านมา ไม่มีหัวหน้าอุทยานปรือกรมป่าไม้ หรืออธิบดีคนไหนกล้าทำในหน้าที่ที่ ตนเองได้รับมอบหมาย เพราะว่าผู้บุกรุกหรือผู้ครอบครอง เป็นนักการเมืองท้องถิ่น หรือระดับประเทศ เช่น ส.ส. ส.ว. หรือเป็นนายตำรวจ นายทหาร หรือข้าราชการ ระดับสูง รวมทั้งผู้พิพากษาก็มี หรือผู้ครอบครองพื้นที่ที่บุกรุกอุทยาน วังน้ำเขียว อย่างเช่น "วัดธรรมกาย" ครอบครองพื้นที่กว่า 200ไร่ อีกจำนวนหนึ่งก็เป็นบุคคล ธรรมดาทั่วไปที่มีการซื้ขาย น.ส. 3, ส.ค. 1 และ ภ.บ.ท. 5 ถึงกับมีการประกาศขายกันอย่างเปิดเผย

ต้องเรียกว่า ผู้มีอิทธิพลจำนวนไม่น้อยที่ครอบครองพื้นที่อย่างผิดกฏหมาย ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นก็รู้กฏหมายดี จะเห็นได้ว่า การเข้ารื้อถอนเป็นไปด้วยความยาก ลำบาก พบกับการต่อต้าน ปิดถนน จำต้องเข้ารื้อถอนในเวลากลางคืน

นายดำรงค์ พิเดช นับว่าเป็นอธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีความมุ่งมั่น รักษ์ป่ารักษ์อุทยาน รักษากฏหมายตามหน้าที่ที่พึงกระทำ

น่าเสีดายที่นายดำรงค์ พิเดช จะปลดเกษียณในเดือนตุลาคม ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจในการกำจัดผู้บุกรุกป่าและอุทยานให้หมดสิ้น ควรต่ออายุราชการให้น ายดำรงค์ อยู่ต่อ เพื่อที่จะได้ปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่าและอุทยานทั่วประเทศให้หมดสิ้


พื้นที่ดินที่กำลังเป็นข่าว เป้นพื้นที่ ส.ป.ก. ซึ่งติดกับพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ ที่อดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของ กรมป่าไม้และอุทยานแห่งชาติว่ามีการบุกรุกป่าสงวนและหรืออุทยานแห่งชาติหรือ ไม่

แต่การที่ผู้ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. (หรือนายทุนที่ครอบครองที่ดิน) ปรับพื้นที่สร้างเป็นรีสอร์ทเป็นเนื้อที่นับพันไร่ ก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว เพราะที่ดิน ส.ป.ก. มีไว้ให้ครอบครองเพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว การอ้างอิงเหตุผลใดไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อยกเว้นได้ ไม่เชื่อก็ไปฟ้องศาลดู

19ก.ค. นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ สั่งลื้อรีสอร์ทที่สร้างบนที่ดิน ส.ป.ก. หลังได้รับรายงานจาก ส.ป.ก.จังหวัดนครราชสีมาว่ามีการสร้างรีสอร์ทบนที่ดิน ส.ป.ก.จริง มีจำนวน 25 ราย รายละ 5 ไร่ ซึ่งเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง

ส่วนการตรวจสอบการบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวน นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า พบว่ามีการสร้างที่อยู่อาศัยและรีสอร์ทในขตป่าสงวนจำนวน 22 ราย กรมป่าไม้จะไปขอหมายศาล เพื่อเข้าตรวจสอบและรื้อถอน แม้ว่าผู้ครอบครองจะมีเอกสารสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น ส.ค.1 หรือ น.ส.3ก หรือแม้แต่โฉนดที่ดิน ก็จะมีการตรวจสอบไปยังกรมที่ดินว่าออก เอกสารสิทธิ์เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวน


ที่อำเภอปากช่อง ก็จะมีการตรวจสอบในลำดับต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีพื้นที่ที่ถูกบุกรุกและมีการใช้ที่ดินผิด วัตถุประสงค์ และมีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ เช่นมีการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองที่ดินซึ่งไม่ใช่ ทาญาติของผู้ครอบครองเดิม ตามที่ได้รับเอกสารสิทธิ์

30 ก.ค. นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเตรียมเข้าตรวจสอบการบุกรุก ที่ดินเขตป่าสงวนประมาณ 300 ไร่ ที่ อ.เชียงกลาง จังหวัดน่าน

หลังจากนั้นก็จะเข้าตรวจสอบพื้นที่สาธารณะประโยชน์ใน จ.นครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ ทีมีการบุกรุกโดยกลุุ่มนายทุนซึ่งเป็นเครือญาติกับนักการเมือง ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการทุจริตต่อหน้าที่ในภาครัฐ ในการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ

นายอำพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็ได้มีการตรวจสอยการออกเอกสารสิทธิ์บุกรุกพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ที่จังหวัด เชียงราย และในกรณีที่ผู้ครอบครองที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ ส.ค. 1 ก็จะมีการตรวจสอบว่าได้ยื่นคำร้องขอเมื่อใด

วังน้ำเขียวเป็นหนึ่งในหลายร้อย หรือนับพันแห่งที่เปลี่ยนแปลงที่ ส.ป.ก.เป้นรีสอร์ท หรือสนามกอล์ฟ หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ "สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร" ซึ่งจัดสรรให้ เพื่อเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินมีที่ดินทำกินของตนเอง และมีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายที่ดินนั้น

นอกจากมีการซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก.อย่างเปิดเผยแล้ว ยังมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมเมือง

การซื้อขายหรือการเข้าครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. โดยนายทุน และมีการสร้างรีสอร์ท หรือสนามกอล์ฟ จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการรู้เห็นจากฝ่ายรัฐ ซึ่งแน่นอน จะต้องมีผลตอบแทนในทางการเงินหรือผลประโยชน์ หรือที่เรียกันว่า "คอรัปชั่น" เพราะไม่เพียงนายทุนเท่านั้นที่เข้าครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย แต่ยังมี "บิ๊ก" นักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ซึ่งในหลายกรณีก็จบลงอย่างเงียบๆ คือผู้ฟ้องไม่กล้าเพราะผู้ถูกฟ้องเส้นโตหรือเงินหนา

สำนักงาน ส.ป.ก. กรมป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ในภาครัฐ จะเริ่มมีการตรวจสอบอย่างจริงจัง

ข่าวรายงานว่า อาจจะมีการจัดการให้ วังน้ำเขียว เป็น "วังน้ำเขียว Model" คือมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ผ่อนปรนให้พื้นที่ วังน้ำเขียว ซึ่งเป็นอยู่ในขณะนี้ให้อยู่ได้ต่อไปโดยไม่มีการลื้อถอน พูดง่ายๆ ก็คือ ลื้อบ้านมันน่าเสียดาย ลื้อกฎหมายทิ้งน่าจะง่ายกว่า มิน่าประเทศไทยถึงไปไม่ถึงไหน

ก็ต้องคอยดูต่อไปว่า ผู้รักษากฎหมายจะยอมจำนนกฎหมู่ "อีก" หรือไม่


ที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้แล้วก็หายไป

ที่ดิน "สวนผึ้ง" ราชบุรี การบุกรุกที่ดินเขตป่าสงวนเมืองกาณฯ การบุกรุกที่ดินเขตป่าสงวน "กิ่วทับยั้ง" เชียงราย การบุกรุกที่ดินเขตป้าสงวน "ป่าสบกก" ที่เชียงราย การบุกรุดที่ดินเขตป่าภูเขา จ.ประจวบคีรีขันธ์

16 ก.ค. 2554 จากการที่มีข่าวว่า มีการซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก. บนอินเตอร์เน็ต

นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เตือน อย่างหลงเชื่อซื้อที่ดิน ส.ป.ก. ที่ประกาศขายในอินเตอร์เน็ต เพราะเป็นการผิดกฎหมาย ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถขายได รวมทั้ง โฉนดชุมชน ก็ขายไม่ได้

ข้องใจหรือไม่ว่า ทำไมมีการประกาศขายที่ดิน หรือบ้านพร้อมที่ดินสวยงามราคา ถูก? ที่ดินหรือบ้านเหล่านั้นอาจกำลังถูกกรมที่ดินเพิกถอนสิทธิครอบครอง เพราะผู้ประกาศขายได้ที่ดินมาโดยมิชอบ หรือใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ หรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน

29 ธ.ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) มีมติ ดำเนินคดีกับ นายธวัชชัย อนุกุล หัวหน้าฝ่ายทะเบียน และพวก สำนักงาน กรมที่ดินจังหวัด ภูเก็ต ในข้อหาออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่ นายบุนเก้ง ศรีแสนสุชาติ โดยมิชอบ ด้วยการ ใช้ ส.ค.1 จากพื้นที่อื่นมาทับพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ไม่มีเอกสาร ส.ค.1 เป็นเนื้อที่ กว่า 362ไร่ ตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 61483 – 61491 เขตตำบล รัษฎา อ.เมือง จ.หวัดภูเก็ต และสังให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าว

การปลอมแปลงเอกสาร หรือการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ดังเช่นกรณีนี้มี้ มีมากมายหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เมื่อได้โฉนดแล้ว ก็ขายต่อ หรือจัดสรรที่ดินแล้วขาย ถ้าคุณซื้อที่ดินดังกล่าว คุณอาจเหลือเพรียงกระดาษแผ่นเดียวที่ไม่มีความหมาย

ที่ดินที่เขายายเที่ยง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งที่ขัดต่อกฎหมายที่ดิน ทำกิน หรือ ส.ป.ก. แต่ในที่นี้เป็นการซื้อขายสิทธิ์ หรือที่แท้ก็คือ ภบท.5 ซึ่งไม่ใช่สิทธิครอบครอง แต่เป็นเพียงใบแจ้งผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเสีย ภาษีบำรุงท้องถิ่น (ภบท)

ที่ดิน 30ไร่ ที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ครอบครองนั้น เป็นที่ดินที่ได้มาโดยไม่ถูกต้อง เพราะเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งซื้อ ขายและโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แต่ให้สิทธิครอบครองตกทอดถึง ทายาทโดยชอบธรรมได้เป็นการถาวร

เมื่อประมาณ 40กว่าปี มีบุคคลจำนวนมากยึดพื้นที่เขายายเที่ยง ถางป่าเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวน ตามกฎหมายพื้นที่ ป่าสงวน พ.ศ. 2508

วันที่ 29 เมษายน 2518 คณะรัฐมนตรีเห็นพ้อง ให้ยกพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำกิน ให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน ครอบครัวละไม่เกิน 15ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เกษตร 14ไร่ 2งาน และอีก2งานเป็นที่อยู่อาศัย

ในปี 2538 นายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ขายที่ดิน 30ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ นายนพดล ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ ในปี 2538 - 2545 ต่อมาในปี 2540 - 2545 พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ และตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยาของ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่

ซึ่งตลอดเวลาไม่มีเจ้าหน้าที่ใดแจ้งข้อหาหรือดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวนกับผู้ใดเลย

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2550 คุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว และพวกอีก 11คน ได้ฟ้องรองกับเจ้าหน้าที่ ให้ดำเนินคดีกับ นายก รัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ (ในขณะนั้น) นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ

พนักงานสอบสวนมีความเห็นไม่สั่งฟ้องข้อหาบุกรุกป่าสงวนตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และได้ส่งสำนวนให้อัยการจังหวัดพิจารณาตามกฎหมาย วันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมามีความเห็นชอบกับคำสั่ง ไม่ฟ้องของ อธิบดีอัยการเขต 3 เพราะ นายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ครอบครองที่ดินโดยถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 เมษายน 2518

ในกรณีย์นี้ พล.อ. สุรยุทธ์ (ซึ่งควรจะเป็น คุณหญิงจิตรวดี) ไม่ได้บุกรุกป่าสงวน ไม่มีความผิด แต่ไม่มีสิทธครอบครองที่ดิน และรัฐมนตรีอีก 3คนก็ไม่มีความผิด แต่ที่ดินที่ครอบครอง ต้องส่งคืนเป็นสมบัติของรัฐ เพราะผิดมติคณะธรัฐมนตรี ซึ่งห้ามไม่ให้ขายต่อ

     
     
     
     
All Rights reserved    
admin@livinginthailand.com