Living in Thailand

สปก.ฉบับ "พะเยา โมเดล"

 
หน้าแรก living live in            

     

"พะเยา โมเดล"

ที่ดิน สปก. หน้ามหาวิทยาลัยพะเยาที่เป็นข่าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงจาก ที่ดินสปก. ให้เป็นที่อยู่
อาศัยและอาคารพาณิชย์ ด้วยการ ออกกฏหมาย ให้มีการเวนคืนที่ดินแล้วปล่อยให้เช่าเพื่อเป็น
ที่อยู่อาศัยหรือการพาณิชย์่ ขัดต่อเจตนารมณ์ สปก.หรือไม่

ปัญหาที่ดินทำกินกลายเป็นเมืองเกิดจากการเวนคืนที่ดิน สปก. เพื่อการก่อสร้างมหาวิทยาลัยพะเยา
ที่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา กว่า 12,000 ไร่ ที่ดินหน้ามหาวิทยาลัยซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน สปก.
ได้มีการก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์และหอพัก ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ดั้งเดิม กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของ
ที่ดินเวนคืน และได้มีการนำไปขายให้นายทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารดังกล่าว

นอกจาก ม. พะเยา ก็ยังมี ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่เคยมีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านและอาจารย์
เมื่อหลายปีก่อน แต่เรื่องก็เงียบไป และอีกแห่งหนึ่งก็คือการเวนคืนเพื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4
ที่ อ.เชียงของ จ.เชีงราย ซึ่งที่ดินรอบบริเวณนั้นก็ถูกนายทุนซื้อไป ตุนไว้ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเสียอีก
และในพื้นที่บริเวณนั้นก็ได้กลายเป็นชุมชนหรือเมืองขนาดเล็กไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อความจำเป็นในการ
ใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยบนที่ดินทำกินที่เป็นอยู่ก่อน การแก้กฏหมายและผังเมือง เพื่อให้สอดคล้อง
กับการ เปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า "มีข้อเสนอวิธีแก้ปัญหา ให้ผมออก
พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ สปก.ที่กลายเป็นชุมชนเมืองไปแล้ว ให้พ้นสภาพการเป็นที่การเกษตร
แต่ผมไม่อยากใช้วิธีนี้ เพราะถ้าเพิกถอนพื้นที่ให้กลายเป็นที่ว่าง ผู้ที่ใช้ที่ดินผิดประเภทก็จะใช้ช่องว่างนี้
ตีความเข้าข้างตัวเอง ให้ตัวเองได้ประโยชน์ คนที่มีเจตนาเช่นนี้มีอยู่มาก ถ้าเราทำตามวิธีนี้ ก็จะรักษา
ที่ดินเพื่อการเกษตรไม่ได้ กลายเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของ สปก.ไปในที่สุด”

"ทางออกเรื่องนี้คือ ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้ามาตีกรอบว่า ขนาดของเมืองที่เหมาะสมควรจะ
หยุดอยู่แค่ไหน ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ โดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา หรือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเท่านั้น
แต่รวมไปถึงพื้นที่อื่นๆ ของ สปก. ที่ความเจริญเข้าไปถึงจนสภาพ ที่ดินมีแนวโน้มเปลี่ยนไปจากการ
เกษตรกรรม เช่น ด่านเชียงของ จ.เชียงราย ที่มีการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 หากกรม
โยธาฯ วางผังเมืองแล้วเสร็จ ก็จะให้โอนที่ดิน สปก. ที่อยู่ในเขตเมืองเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์
เพื่อเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐ" นายปิติพงศ์ กล่าว

นอกจากความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่สามแห่งนี้ ในระยะเวลาไม่ไกลจากนี้ ที่ดิน สปก.ในบางพื้นที่ก็อาจ
มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับที่ มหาวิทยาลัยพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา เหตุเพราะความเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจ การขยายขอบเขตของผังเมือง เช่นในเขตพื้นที่ด่าน ชายแดนบางพื้นที่ที่ประกาศให้เป็นเขต
เศรษฐกิจพิเศษ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นไป

การก่อสร้างรถไฟรางคู่ (ทางคู่) ก็อีกทางหนึ่งที่ทำให้มีการเวนคืนที่ดินที่ทางรถไฟผ่าน และบริเวนสถานี
รถไฟก็จะกลายเป็นชุมชน หรือ เมืองขนาดเล็ก ซึ่งแน่นอนว่า การกำหนดทิศทางของผังเมืองจะต้องมีขึ้น
และแน่นอนว่า ที่ดิน สปก.ในบริเวนดังกล่าว ก็ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรมม เป็นที่อยู่อาศัย
การพาณิชย์ หรือเขตอุสาหกรรม แล้วแต่กรณี

แน่นอนว่า นายทุนได้มีการส่งตัวแทนออกกว้านซื้อที่ดินตามเขตด่านชายแดนและตามแนวทางรถไฟ
แล้วถ้ายังไม่ได้กว้านซื้อเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ผูที่ยังครอบครองโฉนดที่ดิน น.ส.3 อยู่ก็จะเห็นราคา
ที่พุ่งสูงขึ้นแน่นอน

ที่ดิน สปก. 14 ไร่ หน้า ม.พะเยา ขณะนี้ได้มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง อ้างว่า เป็นการยึดที่ดินไปให้
นายทุนซึ่งเป็นอดีตข้าราชการ และอดีตอาจารย์เช่า นอกจากนี้ที่ดินบริเวณรอบมหาวิทยาลัยกว่า 2,000ไร่
ก็มีการกว้านซื้อโดยนายทุนหลังจากมีข่าวว่าจะมีการโอนที่ สปก. ในบริเวณนี้ไปให้กรมธนารักษ์เพื่อเปิด
ให้มีการเช่าเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยหรือการค้า หรืออื่นใดนอกเหนือจากเกษตรกรรม

การเพิกถอนที่ดิน สปก. 4-01 เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยหรือธุรกรรมอื่นด้วยการเวนคืนแล้วโอนที่ดิน
ไปอยู่ในกรมธนารักษ์ แล้วให้ กรมธนารักษ์ปล่อยให้เช่า เป็นวิธีหนึ่งที่ทำได้ตามกฏหมาย ความชอบธรรม
อยู่ที่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และบริเวณใกล้สะพานมิตรภาพ
แห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ

แต่ปัญหาที่ดิน สปก. หน้า ม.พะเยา ที่มีการก่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ก่อนที่จะมีกฏหมาย
บังคับใช้อาจเข้าข่าย การใช้ที่ดิน สปก.ผิดวัตถุประสงค์ และต้องเพิกถอน

     
     
     
All Rights reserved    
admin@livinginthailand.com