มาตรา ๖๒
- พรรคการเมืองอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) เงินทุนประเดิมตามมาตรา ๙ วรรคสอง
(๒) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กำหนดในข้อบังคับ
(๓) เงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง
(๔) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของ
พรรคการเมือง
(๕) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค
(๖) เงินอุดหนุนจากกองทุน
(๗) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรค
การเมือง
- การได้มาซึ่งรายได้ตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือหลัก
ฐานการได้มาซึ่งรายได้นั้นเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
- การจำหน่ายสินค้าหรือบริการตาม (๓) และการจัดกิจกรรมระดมทุนของ
พรรคการเมืองตาม (๔) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
คณะกรรมการกำหนด
- รายได้ของพรรคการเมืองจะนำไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากการดำเนินงาน
ของพรรคการเมืองมิได้
มาตรา ๖๓
- รายได้และทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๖๔
- การหารายได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมืองต้องกระทำโดย
เปิดเผย
และแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการระดมทุนของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน
- ให้หัวหน้าพรรคการเมืองประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปถึงจำนวน
และที่มาของเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาจากกิจกรรมดังกล่าว
และให้มีหนังสือแจ้งนายทะเบียนทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
กิจกรรมดังกล่าวสิ้นสุดลง
- ประกาศและหนังสือแจ้งตามวรรคสอง ให้ระบุชื่อบุคคลผู้สนับสนุนเงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่มีมูลค่าหนึ่งแสนบาทขึ้นไปด้วย
มาตรา ๖๕
- ทุกเดือน ให้พรรคการเมืองประกาศรายชื่อผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดที่มีมูลค่าตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า
ห้าพันบาท ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการ
บริจาค และให้แจ้งนายทะเบียนทราบตามแบบหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะ
เวลาที่คณะกรรมการกำหนดด้วย
- การประเมินมูลค่าของสิ่งที่ได้รับบริจาคตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะ
กรรมการกำหนด
มาตรา ๖๖
- บุคคลใดจะบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง
มีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปีมิได้ และในกรณีที่บุคคลนั้น
เป็นนิติบุคคล การบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง
ไม่ว่าพรรคเดียวหรือหลายพรรคเกินปีละห้าล้านบาท ต้องแจ้งให้ที่ประชุม
ใหญ่ผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมใหญ่คราวต่อไปหลังจากบริจาคแล้ว
- พรรคการเมืองจะรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกิน
วรรคหนึ่งมิได้
มาตรา ๖๗
- หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขา
พรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือสมาชิกผู้ใดได้รับ
บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดโดยผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคให้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ต้องแจ้งให้พรรค
การเมืองทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับ และให้พรรคการเมือง ออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
เป็นหนังสือให้แก่ผู้บริจาคเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
- กิจกรรมของพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงการดำเนิน
งานทางการเมืองของพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการ
เมืองประจำจังหวัด สมาชิก หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย
มาตรา ๖๘
- ภายใต้บังคับมาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๗ นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศใช้บังคับแล้วจนถึงวันเลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดได้รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่มี
มูลค่ารวมกันแล้วเกินหนึ่งหมื่นบาทต่อวัน โดยผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคให้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้
นั้นหรือของพรรคการเมืองหรือเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง ต้องแจ้งให้คณะกรรมการ
ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบริจาคตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
- ถ้าสิ่งของที่ได้รับบริจาคตามวรรคหนึ่งไม่อาจนำส่งพรรคการเมืองได้หรือเป็น
ของสดเสียได้ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นแจ้งให้พรรคการเมืองทราบเพื่อบันทึก
มูลค่าของสิ่งนั้นไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้น
- ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดมีเหตุสงสัยว่าเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดที่ตนได้รับเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการ
เมืองหรือเพื่อใช้ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง หรือเป็นสิ่งของตามวรรคสองหรือไม่ ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
มาตรา ๖๙
- ผู้เสียภาษีเงินได้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลมีสิทธิแสดงเจตนาในแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้รัฐนำเงินที่ตนได้เสียภาษีไว้ไปอุดหนุน
พรรคการเมืองที่ตนระบุพรรคใดพรรคหนึ่งปีละห้าร้อยบาทได้ ทั้งนี้ ตามหลัก
เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
- ให้กรมสรรพากรจัดทำรายชื่อพรรคการเมืองที่ได้รับการระบุตามวรรคหนึ่ง
พร้อมจำนวนเงินที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับการอุดหนุนจากการแสดง
เจตนาตามวรรคหนึ่งทั้งหมดส่งให้นายทะเบียน และโอนเงินดังกล่าวให้กองทุน
ภายในเดือนกันยายนของทุกปีเพื่อโอนต่อให้พรรคการเมืองที่ได้รับอุดหนุน
ตามมาตรานี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการและกรม
สรรพากรจะได้ตกลงกัน
มาตรา ๗๐
- ผู้บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลด
หย่อนหรือรายจ่ายเพื่อการบริจาคตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากรได้ตาม
จำนวนที่บริจาคแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทสำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกินห้า
หมื่นบาท สำหรับนิติบุคคล
- วิธีการขอหักค่าลดหย่อนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากร
กำหนด
- เพื่อประโยชน์ในการหักค่าลดหย่อน ให้ถือว่าการสนับสนุนเงิน ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดตามมาตรา ๖๔ เป็นเงินบริจาคตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๗๑
- ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองเปิดบัญชีกับธนาคาร
พาณิชย์โดยระบุชื่อเจ้าของบัญชีในนามของพรรคการเมืองนั้น และให้หัว
หน้าพรรคการเมืองแจ้งหมายเลขบัญชีของบัญชีเงินฝากและจำนวนเงินที่
เปิดบัญชีของทุกบัญชีให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่
เปิดบัญชีดังกล่าว
มาตรา ๗๒
- ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๗๓
- ห้ามมิให้ข้าราชการการเมืองใช้สถานะหรือตำแหน่งหน้าที่เรี่ยไรหรือชักชวน
ให้มีการบริจาคให้พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร แต่ไม่รวมถึงการที่ข้าราชการการเมืองผู้นั้นเข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรา ๖๔ โดยมิได้กระทำหรือมีส่วนกระทำการอันเป็นการต้องห้ามนั้น
มาตรา ๗๔
- ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดจาก
(๑) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(๒) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจด
ทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร
(๓) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรโดยมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมี
ทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้า ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้พิจารณาตามที่ปรากฏใน
ทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว หุ้นที่ไม่ปรากฏชื่อผู้ถือหรือถือโดยตัวแทน
ของบุคคลที่ไม่เปิดเผยชื่อ ให้ถือว่าเป็นหุ้นที่ถือโดยผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(๔) คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
หรือซึ่งมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(๕) บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาคเพื่อดำเนินกิจการของ
พรรคการเมือง หรือเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจากบุคคล คณะบุคคล
หรือนิติบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
(๖) บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับ (๑) (๒)
(๓) (๔) หรือ (๕) ตามที่คณะกรรมการกำหนด
- ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีสมาชิกรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใดดังกล่าวที่มิใช่เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
มาตรา ๗๕
บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลตามมาตรา ๗๔ จะบริจาคเงิน ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองหรือสมาชิกเพื่อดำเนินกิจการของ
พรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมิได้
มาตรา ๗๖
- ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือกิจการที่รัฐ
ถือหุ้นใหญ่ บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองหรือ
เข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรา ๖๔
- กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงกิจการที่รัฐเป็นหุ้นส่วนหรือ
ถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ
หรือมีจำนวนถึงหนึ่งในสามของหุ้นส่วนหรือหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
- ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับวัด หรือนิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการ
ศาสนาและองค์กรทางศาสนาไม่ว่าจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ด้วย โดย
คณะกรรมการจะกำหนดให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ประโยชน์สาธารณะหรือนิติบุคคลที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรมาแบ่งปัน
กันด้วยก็ได้
มาตรา ๗๗
- เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดมาตรการและวิธีการที่จำ
เป็นให้พรรคการเมืองปฏิบัติเพื่อให้การรับบริจาคของพรรคการเมืองเป็นไป
โดยชอบด้วยกฎหมาย เปิดเผยและตรวจสอบได้ และให้มีหน้าที่ตรวจสอบ
ความถูกต้องของการบริจาคแก่พรรคการเมือง รวมทั้งให้มีอำนาจออกคำสั่ง ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้พรรคการเมืองปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง
- ให้พรรคการเมืองมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะกรรมการ
หมวด ๖
กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
มาตรา ๗๘
ให้มีกองทุนเพื่อการพัฒ นาพรรคการเมืองกองทุนหนึ่งในสำนักงานมีวัตถุประสงค์
เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมือง การให้การ
ศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของ
ประชาชนซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน และสมาชิกมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินการอย่างแท้จริงและการดำเนินการอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนด
กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ภาระผูกพัน และงบประมาณที่โอนมาตามมาตรา ๑๔๗
(๒) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่าย
(๓) เงินที่ได้รับมาจากกรมสรรพากรตามมาตรา ๖๙
(๔) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๕) เงินและดอกเบี้ยที่เรียกคืนจากผู้ซึ่งต้องรับผิดในการจัดให้มีการเลือกตั้ง
ใหม่อันเนื่องจากการเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม
(๖) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่พรรคการเมืองได้มาโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(๗) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๙๕
และมาตรา ๑๒๕
(๘) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่มีผู้มอบให้ แต่กองทุนจะรับมอบเงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลตามมาตรา ๗๔ มิได้
(๙) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดของกองทุน
เงินตาม (๓) ให้จัดสรรให้พรรคการเมืองที่ผู้เสียภาษีเงินได้แสดงเจตนาไว้ตาที่ อธิบดีกรมสรรพากรแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๖๙
เงินของกองทุนให้ใช้ได้เฉพาะเพื่อการอันเป็นวัตถุประสงค์ของกองทุนและ
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๗๙
ทรัพย์สินของกองทุนเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไม่อยู่ในความรับผิด
แห่งการบังคับคดี และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้มิได้
|