Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

September 14, 2017
Start page ASEAN Living Live in Travel  

พระราชบัญญัตประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๐


หมวด ๓
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง


มาตรา ๔๗

  • พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทน
    พรรคการเมืองประจำจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้น
  • การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใน
    เขตเลือกตั้งใดให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจากผู้ซึ่งได้รับเลือกจาก
    สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับ
    ผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง

มาตรา ๔๘

  • การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
    ให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อ เพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัว
    แทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดโดยให้คำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจาก
    ภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงด้วย
  • คณะกรรมการจะกำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำของผู้สมัครซึ่งเป็นชายและหญิงที่
    พรรคการเมืองจะต้องส่งลงสมัครรับเลือกตั้งก็ได้ ในกรณีที่พรรคการเมืองใด
    ไม่อาจส่งผู้สมัครตามอัตราส่วนดังกล่าวได้ ให้แจ้งเหตุผลให้ประชาชนทราบ
    เป็นการทั่วไปก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง
  • การกำหนดอัตราส่วนตามวรรคสอง ให้คณะกรรมการหารือกับพรรคการเมืองด้วย

มาตรา ๔๙

  • ในการเลือกตั้งทั่วไป การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ ให้ดำเนินการสรรหาตามวิธีการที่
    กำหนดในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ เว้นแต่กรณีที่เป็นการส่งผู้สมัครรับ
    เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง
    แทนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ หรือการเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้ง หรือกรณีผู้สมัครตายก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง ให้ดำเนินการ
    ตามข้อบังคับ
  • เมื่อมีกรณีต้องสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้พรรคการเมืองจัดให้มีคณะ
    กรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งประกอบด้วยบุคคลและจำนวนตามที่
    กำหนดในข้อบังคับ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการ
    เมืองไม่เกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และหัวหน้า
    สาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ทั้งนี้ จำนวนหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดให้เป็นไป
    ตามข้อบังคับ แต่อย่างน้อยต้องมีหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสี่
    สาขาซึ่งมาจากภาคต่างกันที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๓๓ และให้มี
    หน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร
    รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
    ให้ได้ผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม
    ตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดในข้อบังคับ และตามที่กำหนดไว้ใน
    มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑
  • เพื่อประโยชน์ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
    แบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง พรรคการเมืองใดจะ
    ดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประกาศพระ
    ราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

มาตรา ๕๐

  • การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสมัครเป็นผู้
สมัครรับเลือกตั้งและประกาศให้สมาชิกทราบเป็นการทั่วไป

(๒) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับสมัครตาม (๑) ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจ
สอบคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง แล้วส่งรายชื่อผู้สมัครให้
สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบ
ในเขตเลือกตั้งนั้น

(๓) เมื่อสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดได้รับ
รายชื่อผู้สมัครจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง
หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดจัดการประชุมสมาชิกเพื่อลงคะแนน
เลือกผู้สมัครตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมา

(๔) การประชุมสาขาพรรคการเมืองต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่ง
ร้อยคน หรือการประชุมตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดต้องมีสมาชิกมา
ประชุมไม่น้อยกว่าห้าสิบคน โดยในการลงคะแนนให้สมาชิกมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้หนึ่งคน และเมื่อลงคะแนนเลือกเสร็จสิ้นแล้ว ให้นับคะแนนและประกาศ
ผลการนับคะแนนของสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำ
จังหวัดในเขตเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานรายชื่อผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนลำดับสูง
สุดสองลำดับแรกให้คณะกรรมการสรรหาโดยเร็ว ในกรณีที่มีผู้มีคะแนนเท่า
กันมากกว่าจำนวนดังกล่าว ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสรรหา
ในการจัดเรียงลำดับ

(๕) ให้คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนของแต่ละเขต
เลือกตั้ง ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองพิจารณาให้ความเห็นชอบ
โดยพิจารณาจากผู้มีคะแนนสูงสุดของแต่ละเขตเลือกตั้ง หากคณะกรรมการ
บริหารพรรคการเมืองไม่เห็นชอบ ให้แสดงเหตุผลและให้พิจารณาผู้สมัครซึ่ง
ได้คะแนนในลำดับถัดไปเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในกรณีที่คณะกรรมการบริหาร
พรรคการเมืองไม่เห็นชอบกับรายชื่อที่สาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัดส่งมาทั้งหมดให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และคณะ
กรรมการสรรหาประชุมร่วมกัน หากที่ประชุมร่วมกัน มีมติเห็นชอบกับรายชื่อผู้
สมัครผู้ใด ให้เสนอรายชื่อผู้นั้นเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ถ้าที่ประชุมร่วมกันมี
มติไม่เห็นชอบกับรายชื่อผู้สมัคร ที่สาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการ
เมืองประจำจังหวัดส่งมาทั้งหมด ให้คณะกรรมการสรรหาแจ้งเหตุผลให้หัวหน้า
สาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำ จังหวัดในเขตเลือกตั้งนั้นทราบ
และให้ดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) จนกว่าจะได้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

มาตรา ๕๑

  • การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
    ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการเสนอรายชื่อ
บุคคลเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง และมีหนังสือแจ้งไปยังคณะกรรมการบริหาร
พรรคการเมือง หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำ
จังหวัด และประกาศให้สมาชิกทราบเป็นการทั่วไป

(๒) เมื่อพ้นกำหนดเวลาเสนอรายชื่อจากกรรมการบริหารพรรคการเมือง
หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดตาม
(๑) ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติและจัดทำบัญชีรายชื่อไม่
เกินหนึ่งร้อยห้าสิบรายชื่อ โดยคำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ
และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง แล้วส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปยัง
สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด

(๓) ให้หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
จัดการประชุมเพื่อให้สมาชิกลงคะแนนเลือกบุคคลในบัญชีรายชื่อตาม (๒)
โดยให้สมาชิกลงคะแนนเลือกได้คนละไม่เกินสิบห้ารายชื่อ โดยการประชุม
สาขาพรรคการเมืองต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
หรือการประชุมตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดต้องมีสมาชิกมาประชุม
ไม่น้อยกว่าห้าสิบคน เมื่อลงคะแนนเลือกเสร็จสิ้นแล้ว ให้หัวหน้าสาขาพรรค
การเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดประกาศผลการนับคะแนน
ของสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดนั้น
แล้วรายงานไปยังคณะกรรมการสรรหาโดยเร็ว

(๔) ให้คณะกรรมการสรรหาจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเรียง
ลำดับตามผลรวมของคะแนนที่ได้รับจากสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทน
พรรคการเมืองประจำจังหวัดตาม (๓) ในกรณีที่หัวหน้าพรรคการเมือง
ประสงค์จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ให้หัวหน้าพรรคการเมืองอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งลำดับที่หนึ่ง
และให้เรียงลำดับรายชื่อตามผลคะแนนดังกล่าวในลำดับถัดไปจนครบจำนวน
ในกรณีที่คะแนนของบุคคลตามบัญชีรายชื่อเท่ากันให้เป็นอำนาจของคณะ
กรรมการสรรหาในการจัดเรียงลำดับ

(๕) ให้คณะกรรมการสรรหาส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตาม (๔)
ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองพิจารณาให้ความเห็นชอบ หากคณะ
กรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่เห็นชอบให้ดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓)
และ (๔) จนกว่าจะได้บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง

  • เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกผู้
    ใดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองหรือ
    ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นเป็นสมาชิกซึ่งมี
    ภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งของสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง
    ประจำจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งใกล้เคียงตามที่กำหนดในข้อบังคับ

มาตรา ๕๒

  • ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง
    ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑

มาตรา ๕๓

  • ในการดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑
    ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้สมาชิกลงคะแนนให้แก่
    ตนเองหรือผู้อื่น หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้ใด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

(๑) ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
แก่ผู้ใด

(๒) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจ
ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้ใด หรือไม่ให้ไปประชุมหรือลงคะแนน

มาตรา ๕๔

  • ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือให้ หรือสัญญาว่า
    จะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้สมาชิกผู้ใดลงสมัครหรือไม่ลง
    สมัครรับเลือก หรือเพื่อให้เสนอชื่อสมาชิกผู้ใดเข้ารับการเลือก ในการสรรหา
    ตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑

มาตรา ๕๕

  • ห้ามมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง
    หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดยินยอมให้บุคคลใดที่มิได้เป็นสมาชิก
    ของพรรคการเมืองเข้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมหรือออกเสียงลงคะแนน
    ในการดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑

มาตรา ๕๖

  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองออกหนังสือรับรองการส่งผู้ได้รับการสรรหา
    ตามมาตรา ๕๐ หรือส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตาม
    มาตรา ๕๑
  • เมื่อหัวหน้าพรรคการเมืองออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งหรือส่งบัญชีราย
    ชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อแล้ว แม้ภายหลังจะปรากฏว่ามิได้มี
    การดำเนินการตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ แล้วแต่กรณี หรือดำเนินการ
    ไม่ครบถ้วน ไม่ทำให้การสมัครรับเลือกตั้งนั้นเสียไป แต่ถ้าคณะกรรมการ
    ทราบถึงการไม่ดำเนินการดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะ
    ต้องกล่าวโทษหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น
    ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งมีเขตอำนาจเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

มาตรา ๕๗

  • การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ใช้ในการประกาศโฆษณาให้คำนึงถึง
    ความเห็นของสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
    นโยบายใดที่ต้องใช้จ่ายเงินการประกาศโฆษณานโยบายนั้น อย่างน้อยต้องมี
    รายการ ดังต่อไปนี้

(๑) วงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ

(๒) ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย

(๓) ผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายในกรณีพรรคการเมืองไม่
ได้จัดทำรายการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสั่งให้ดำเนินการให้ครบถ้วน
และถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด


 
 
 
 
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com