มาตรา ๙
- บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคนอาจร่วมกัน
ดำเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้
(๑) มีสัญ ชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลง
สัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี
(๓) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๘ (๑)
(๒) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๔) (๑๖) (๑๗) หรือ (๑๘) ของ
รัฐธรรมนูญ
(๔) อยู่ในระหว่างถูกสั่งห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองตามพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(๕) ไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นหรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้ง
พรรคการเมืองอื่นตามมาตรา ๑๑ หรือผู้แจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการ
เมืองอื่นตามมาตรา ๑๘
- เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องมีทุน
ประเดิมไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท โดยผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองทุกคน
ต้องร่วมกันจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาทแต่ไม่
เกินคนละห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๐
- ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง
ตามมาตรา ๙ ต้องประชุมร่วมกันโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าสองร้อย
ห้าสิบคนเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง คำประกาศ
อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมือง นโยบายของพรรคการเมือง และข้อบังคับ
(๒) เลือกหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกและกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง
(๓) ดำเนินการอื่นอันจำเป็นต่อการจัดตั้งพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการกำหนด
- ชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองตาม (๑) ต้องไม่มีลักษณะ
ตามมาตรา ๑๔ และต้องไม่ซ้ำ พ้อง หรือคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพ
เครื่องหมายของพรรคการเมืองที่จดทะเบียน หรือที่ยื่นขอจดทะเบียนตาม
มาตรา ๙ อยู่ก่อนแล้ว หรือของพรรคการเมืองที่ถูกยุบและยังไม่พ้นยี่สิบปี
นับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ หรือของพรรคการเมืองที่มีผู้แจ้งไว้แล้ว
ตามมาตรา ๑๘ และต้องไม่ซ้ำ พ้อง หรือคล้ายคลึงกับพระปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริย์หรือพระนามของพระราชวงศ์ หรือที่มุ่งหมายให้หมายถึง
พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์
- การประชุมตามวรรคหนึ่งต้องมีบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และ
มติของที่ประชุมให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุม โดยผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนซึ่งต้องทำโดยเปิดเผย และ
การมอบหมายให้ลงคะแนนแทนกันจะกระทำมิได้
- ในกรณีที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๗ ให้
ถือว่าการประชุมตามวรรคหนึ่งเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่หนึ่งของ
พรรคการเมือง
มาตรา ๑๑
- ในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นหัวหน้า
พรรคการเมืองตามมาตรา ๑๐ (๒) เป็นผู้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนพร้อมด้วย
เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการกำหนด และให้นาย
ทะเบียนออกใบรับคำ ขอให้แก่ผู้ยื่นคำ ขอไว้เป็นหลักฐาน
- คำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียน และการออกใบรับคำขอตามวรรค
หนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๒
- คำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง อย่างน้อย
ต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง
(๒) ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง
(๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคการเมือง
(๔) ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชนและลายมือชื่อของหัวหน้าพรรคการ
เมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียน
สมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๓
เอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นไปพร้อมกับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการ
เมืองตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน และลายมือชื่อของผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรค การเมืองทุกคน
(๒) หลักฐานการชำระเงินทุนประเดิมของผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองทุกคน
(๓) ข้อบังคับ
(๔) บันทึกการประชุมตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งผู้ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า
พรรคการเมืองรับรองความถูกต้อง
(๕) หนังสือรับแจ้งของนายทะเบียนในกรณีที่มีการแจ้งการเตรียมการจัดตั้ง
พรรคการเมืองตามมาตรา ๑๘
มาตรา ๑๔
- ข้อบังคับต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขและต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
(๒) ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๓) อาจก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างชนในชาติ
(๔) ครอบงำหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๕
- ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง
(๒) ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง
(๓) คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองและนโยบายของ
พรรคการเมือง
(๔) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมืองซึ่งต้องตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
(๕) โครงสร้างการบริหารพรรคการเมือง และตำแหน่งต่าง ๆ ในพรรคการเมือง
(๖) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และหน้าที่และอำนาจของหัวหน้า
พรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นาย
ทะเบียนสมาชิก กรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง คณะกรรมการ
บริหารพรรคการเมือง หัวหน้าและกรรมการสาขาพรรคการเมือง และตัวแทน
พรรคการเมืองประจำจังหวัด
(๗) การบริหารจัดการสาขาพรรคการเมือง และของตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด
(๘) การประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองและการประชุมใหญ่ของสาขาพรรคการเมือง
(๙) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก การรับเข้าเป็นสมาชิก และ
การพ้นจากการเป็นสมาชิก
(๑๐) สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ความรับผิดชอบของสมาชิกต่อพรรคการเมือง
และความรับผิดชอบของพรรคการเมืองต่อสมาชิก
(๑๑) มาตรฐานทางจริยธรรมของกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิก โดยมาตรฐาน
ทางจริยธรรมของกรรมการบริหารพรรคการเมืองอย่างน้อยต้องเทียบเคียงได้
กับมาตรฐานทางจริยธรรมที่ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑๒) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสมาชิกเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ และการ
คัดเลือกบุคคลซึ่งพรรคการเมืองเห็นสมควรจะเสนอให้ได้รับการพิจารณา
แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๘๘ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องกำหนดให้
สมาชิกมีส่วนร่วมในการคัดเลือกด้วยอย่างกว้างขวาง
(๑๓) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งต้อง
กำหนดให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการคัดเลือกด้วยอย่างกว้างขวาง
(๑๔) วิธีการบริหารการเงินและทรัพย์สิน และการจัดทำบัญชีของพรรคการเมือง
สาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ซึ่งต้องกำหนด
ให้เป็นไปโดยเปิดเผยและให้สมาชิกตรวจสอบได้โดยสะดวก
(๑๕) รายได้ของพรรคการเมือง และอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมือง
ซึ่งต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งร้อยบาท
(๑๖) การเลิกพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
- การพิจารณาเพื่อออกข้อบังคับตาม (๖) (๘) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔)
(๑๕) และ (๑๖) ต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วมพิจารณาอย่างกว้างขวาง
- การกำหนดข้อบังคับในลักษณะที่เป็นการให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำ
การอันเป็นการควบคุมครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองใน
ลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระไม่ว่าโดยตรงหรือ
โดยอ้อมจะกระทำมิได้
- พรรคการเมืองอาจกำหนดให้เรียกเก็บค่าบำรุงพรรคการเมืองจากสมาชิก
แบบตลอดชีพตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสองพันบาท
- เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บค่าบำรุงพรรคการ
เมืองตาม (๑๕)
- ให้สำนักงานประสานกับธนาคาร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะ
กรรมการกำหนด
มาตรา ๑๖
- หัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง
นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี
และมีวาระการดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดในข้อบังคับแต่ต้องไม่เกินคราวละสี่ปี
มาตรา ๑๗
- ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองและเอกสารและหลักฐานที่ยื่น
พร้อมกับ คำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองถูกต้องและครบถ้วนตาม
มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ ให้นาย
ทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการ
เมืองและให้ประกาศการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
- หากนายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง หรือเอกสาร
หรือหลักฐานที่ยื่นพร้อมกับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองในเรื่องใดไม่
ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕
หรือมาตรา ๑๖ ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมี
หนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อแก้ไขให้แล้ว
เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว
แล้วไม่มีการแก้ไขหรือยังแก้ไขไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียน
รายงานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและมีมติไม่รับจดทะเบียนจัดตั้ง
พรรคการเมือง และให้นายทะเบียนแจ้งมติของคณะกรรมการให้ผู้ยื่นคำขอ
จัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ
- ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ได้ยื่นไม่เป็นไป
ตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ ให้นายทะเบียนรายงานคณะกรรมการเพื่อ
พิจารณาและมีมติให้เพิกถอนข้อบังคับนั้น และให้แจ้งมติของคณะกรรมการ
ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะ
กรรมการมีมติ ในการนี้ คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องดำเนินการ
แก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ
หนังสือนั้น เมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วหากไม่มีการแก้ไขหรือยังแก้ไขไม่ถูก
ต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
- ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองหรือหัวหน้าพรรคการเมืองมีสิทธิ
ยื่นคำร้องคัดค้านมติของคณะกรรมการตามวรรคสองหรือวรรคสามต่อศาล
รัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งมติของคณะกรรมการ
มาตรา ๑๘
- บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙ จำนวนไม่น้อย
กว่าสิบห้าคน จะยื่นคำขอแจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนาย
ทะเบียนไว้ก่อน แล้วดำเนินการรวบรวมผู้จัดตั้งพรรคการเมืองให้ได้ครบ
จำนวนตามมาตรา ๙ ก็ได้ แต่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง
ตามมาตรา ๑๑ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับแจ้ง ถ้า
มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้คำ
ขอนั้นเป็นอันสิ้นผล
- คำขอแจ้ง การยื่นคำขอแจ้ง และการรับแจ้ง ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ คำขอแจ้งนั้นอย่างน้อยต้องประกอบ
ด้วยชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง ชื่อ ชื่อย่อ และภาพ
เครื่องหมายของพรรคการเมืองที่แจ้งตามวรรคสอง ต้องไม่มีลักษณะตาม
มาตรา ๑๔ และต้องไม่ซ้ำ พ้อง หรือคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่อง
หมายของพรรคการเมืองที่มีผู้แจ้งตามวรรคหนึ่งไว้แล้วหรือของพรรคการ
เมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้วหรือที่ยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรา ๙ อยู่ก่อนแล้ว
มาตรา ๑๙
- หากนายทะเบียนเห็นว่าการแจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองไม่เป็นไป
ตามมาตรา ๑๘ ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งทราบพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อแก้ไขให้
แล้วเสร็จภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนดหรือที่ขยายให้ เมื่อพ้นระยะเวลา
ดังกล่าวแล้วไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน ให้คำขอนั้นเป็นอันสิ้นผล
|