Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

September 14, 2017
Start page ASEAN Living Live in Travel  

พระราชบัญญัตประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๐


หมวด ๒
การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง


มาตรา ๒๐

  • ให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็น
    นิติบุคคล มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลัก
    การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ
    เพื่อส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งพรรคการเมืองต้องไม่ดำเนินกิจการอันมีลักษณะ
    เป็นการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน

มาตรา ๒๑

  • พรรคการเมืองต้องมีคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ
    ดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย
    นโยบาย และข้อบังคับของพรรคการเมือง มติของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการ
    เมือง รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการซึ่งต้อง
    กระทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของ
    ประเทศชาติและประชาชน และต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วมและรับผิดชอบอย่าง
    แท้จริงในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และการคัดเลือกสมาชิกหรือ
    บุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม
    เข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือตำแหน่งอื่น หรือเพื่อ
    แต่งตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง
    เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก
    และกรรมการบริหารอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ
  • กรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดามติของ
    คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและในการดำเนินการตามหน้าที่
    และอำนาจของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติ
    ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ กฎหมาย และข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ
    และคำสั่งของคณะกรรมการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้คัดค้านในที่ประชุม
    คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองโดยปรากฏหลักฐานการคัดค้านนั้นใน
    รายงานการประชุมหรือได้ทำหนังสือคัดค้านยื่นต่อประธานในที่ประชุมภายใน
    เจ็ดวันนับแต่วันที่การประชุมนั้นสิ้นสุดลง
  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับ
    บุคคลภายนอกเพื่อการนี้ หัวหน้าพรรคการเมืองจะมอบหมายเป็นหนังสือให้
    เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมืองนายทะเบียนสมาชิก หรือ
    กรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ทำการ
    แทนก็ได้

มาตรา ๒๒

  • คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง
    มีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐ
    ธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับรวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ
    คณะกรรมการ
  • เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือให้มี
    การเลือกสมาชิก วุฒิสภา แล้วแต่กรณี คณะกรรมการบริหารพรรคการ
    เมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้
    สมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการในลักษณะที่อาจทำ
    ให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบ
    ด้วยกฎหมาย หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดซึ่งสมัครเข้ารับเลือก
    เป็นสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  • เมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือกรรมการ
    บริหารพรรคการเมืองหรือเมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้รับแจ้ง
    จากนายทะเบียนว่าสมาชิกกระทำการอันอาจมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนวรรค
    หนึ่งหรือวรรคสอง ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีมติหรือสั่งการ
    ให้สมาชิกยุติการกระทำนั้นโดยพลัน และกำหนดมาตรการหรือวิธีการที่
    จำเป็นเพื่อมิให้สมาชิกผู้ใดกระทำการอันอาจมีลักษณะดังกล่าวอีก แล้วแจ้ง
    ให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีมติ
  • ในกรณีที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนว่าคณะกรรมการบริหารพรรคการ
    เมืองไม่ปฏิบัติตามวรรคสาม ให้นายทะเบียนเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อ
    พิจารณามีคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นพ้นจากตำแหน่ง
    ทั้งคณะ คำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้
    กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุดังกล่าวดำรง
    ตำแหน่งใดในพรรคการเมืองจนกว่าจะพ้นเวลายี่สิบปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
  • กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวรรคสี่มีสิทธิยื่นคำ
    ร้องคัดค้านคำสั่งของคณะกรรมการต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวัน
    นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว
  • ห้ามมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวรรคสี่
    กระทำการอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการดำเนินกิจกรรม
    ของพรรคการเมืองนั้น เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามสิทธิและหน้าที่ของ
    สมาชิกตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และห้ามมิให้มีส่วนร่วมในการสรรหาผู้
    สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือตำแหน่งอื่นหรือการ
    สรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มาตรา ๒๓

  • ในการดำ เนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลักการปกครองในระบอบ
    ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างน้อยในแต่ละปี
    พรรคการเมืองต้องมีกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

(๑) ส่งเสริมให้สมาชิกและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างมีเหตุผลและมีความรับผิดชอบต่อสังคม และ
ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของปวงชนชาวไทย

(๒) ร่วมกับประชาชนในการหาแนวทางการพัฒนาประเทศ และการแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีเหตุผลโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่าง
การพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจและความอยู่เย็นเป็นสุขของ
ประชาชนประกอบกัน

(๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
รวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการดำเนินงานขององค์กร
อิสระอย่างมีเหตุผล

(๔) ส่งเสริมให้สมาชิกและประชาชนมีความสามัคคีปรองดอง รู้จักยอมรับใน
ความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่าง และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองโดยสันติวิธี เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน

(๕) กิจกรรมอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็น
สถาบันทางการเมืองของประชาชน ทั้งนี้ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการ

  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรค
    การเมือง จัดทำแผนหรือโครงการที่จะดำเนินกิจกรรมตามวรรคหนึ่งในแต่ละปี
    ส่งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนเมษายนของทุกปี และให้นายทะเบียนเผย
    แพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป

มาตรา ๒๔

  • สมาชิกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อบังคับ
    ซึ่งอย่างน้อยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
    ต้องห้ามตามมาตรา ๙ (๑) (๓) และ (๕)

มาตรา ๒๕

  • ให้นายทะเบียนสมาชิกมีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
    ของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก และจัดทำทะเบียนสมาชิกให้ตรงตามความเป็น
    จริงและต้องให้สมาชิกตรวจดูได้โดยสะดวก ณ สำนักงานใหญ่ของพรรคการ
    เมือง รวมทั้งประกาศชื่อและนามสกุลของสมาชิกให้ประชาชนทราบเป็นการ
    ทั่วไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้อง
  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกให้นายทะเบียน
    ทราบตามรายการหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
  • ในกรณีที่พรรคการเมืองใดแอบอ้างว่าผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่รู้เห็น
    หรือไม่สมัครใจ ผู้ที่ถูกแอบอ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถูกแอบอ้าง อาจ
    แจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาลบชื่อของผู้นั้น
    ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็น
    สมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น

มาตรา ๒๖

  • ให้นายทะเบียนมีหน้าที่ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของสมาชิกของทุกพรรคการเมือง
  • ในกรณีที่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่าบุคคลใดเป็นสมาชิกหลายพรรคการเมือง
    ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทราบและลบ
    ชื่อผู้นั้นออกจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น และให้หัวหน้าพรรค
    การเมืองแจ้งให้สมาชิกผู้นั้นทราบโดยเร็ว แล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน
    ระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
  • ให้สำนักงานจัดให้มีระบบฐานข้อมูลพรรคการเมือง เพื่ออำนวยความสะดวก
    ให้แก่พรรคการเมืองและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๗

  • สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มตั้งแต่ได้ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองตาม
    จำนวนที่กำหนดในข้อบังคับแล้ว โดยจะสิ้นสุดลงตามที่กำหนดในข้อบังคับ
    ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

(๑) ลาออก

(๒) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ เว้นแต่เป็นกรณี
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๖ (๑) ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการบวช
ตามประเพณีนิยม แต่ในระหว่างมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะใช้สิทธิใน
ฐานะสมาชิกมิได้

(๓) ไม่ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน
การลาออกตาม (๑) ให้ถือว่าสมบูรณ์เมื่อได้ยื่นใบลาออกต่อนายทะเบียน
สมาชิกหรือนายทะเบียน ในกรณีที่ยื่นต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งให้
นายทะเบียนสมาชิกทราบโดยเร็ว

  • ในกรณีที่ข้อบังคับกำหนดให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมติของพรรค
    การเมือง หากสมาชิกผู้นั้นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อ
    บังคับต้องกำหนดให้มติของพรรคการเมืองดังกล่าวมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
    สามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมือง
    และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น

มาตรา ๒๘

  • ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่
    สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรค
    การเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ
    ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

มาตรา ๒๙

  • ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ
    กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิก
    ขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

มาตรา ๓๐

  • ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน
    ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้
    บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมัครเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เว้นแต่สิทธิหรือประโยชน์ซึ่ง
    บุคคลจะพึงได้รับในฐานะที่เป็นสมาชิก

มาตรา ๓๑

ห้ามมิให้ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
จากพรรคการเมืองหรือจากผู้ใดเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก

มาตรา ๓๒

  • ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่พรรคการเมืองใช้ชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง
    หรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นพรรคการเมือง
    หรือใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “พรรคการเมือง” หรืออักษรต่างประเทศ
    ซึ่งแปลหรืออ่านว่า “พรรคการเมือง”

มาตรา ๓๓

  • ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน พรรคการเมือง
    ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการให้มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าพันคน และต้องเพิ่มจำนวน
สมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนภายในสี่ปีนับแต่วันที่นายทะเบียน
รับจดทะเบียน

(๒) จัดให้มีสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและ
จังหวัดที่คณะกรรมการกำหนดอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา โดยสาขาพรรค
การเมืองแต่ละสาขาต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ของสาขานั้นตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป

  • เมื่อจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองขึ้นในภาคใดแล้ว ให้หัวหน้าพรรคการเมืองมี
    หนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดตั้ง
    สาขานั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดโดยความเห็น
    ชอบของคณะกรรมการ และให้ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย
  • หนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง ต้องมีรายการตามที่นายทะเบียน
    กำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีแผนผังแสดงที่ตั้งสาขาพรรคการเมือง และชื่อ
    ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชนของคณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองซึ่ง
    ประกอบด้วยหัวหน้าและกรรมการสาขาพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนด
    ในข้อบังคับซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
  • ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสาขาพรรคการเมืองหรือคณะกรรมการ
    สาขาพรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองมีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียน
    ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นตามหลักเกณฑ์และ
    วิธีการที่นายทะเบียนกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และให้
    ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย
  • ภายหลังที่ได้จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองแล้ว สาขาพรรคการเมืองใดไม่เป็นไป
    ตาม (๒) ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้พรรคการเมืองนั้นดำเนินการให้ถูก
    ต้องภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนดหากพรรคการเมืองใดไม่ดำเนิน
    การหรือดำเนินการแล้วไม่ถูกต้องให้สาขาพรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพไป

มาตรา ๓๔

  • กรรมการสาขาพรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกและมีคุณสมบัติและไม่มี
    ลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการบริหารพรรคการเมือง
    การได้มา การดำรงตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
    วิธีการบริหารและหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสาขาพรรคการเมือง
    ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับโดยอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีหน้าที่
    ดำเนินการตามมาตรา ๒๓ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสาขาพรรคการเมือง
    นั้นด้วย

มาตรา ๓๕

  • เขตเลือกตั้งในจังหวัดใดที่มิได้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขาพรรคการเมือง
    ถ้าพรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำ เนาอยู่ในเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้น
    เกินหนึ่งร้อยคน ให้พรรคการเมืองนั้นแต่งตั้งสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต
    เลือกตั้งในจังหวัดนั้นซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิกดังกล่าวเป็นตัวแทน
    พรรคการเมืองประจำจังหวัดเพื่อดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองในเขตพื้นที่
    ที่รับผิดชอบนั้นและให้นำความในมาตรา ๓๔ มาใช้บังคับแก่ตัวแทนพรรค
    การเมืองประจำจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
  • ให้พรรคการเมืองแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการ
    แต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดตามหลักเกณฑ์
    และวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๓๖

  • สาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดจะจัดตั้งขึ้น
    นอกราชอาณาจักรมิได้

มาตรา ๓๗

  • พรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

มาตรา ๓๘

  • การดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ ให้กระทำโดยที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง

(๑) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการ
เมืองหรือนโยบายของพรรคการเมือง

(๒) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ

(๓) การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิก
พรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง

(๔) การเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

(๕) ให้ความเห็นชอบรายงานการเงินและการดำเนินกิจการของพรรคการ
เมืองที่ได้ดำเนินการไปในรอบปีที่ผ่านมา

(๖) กิจการที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือหัวหน้าสาขา
พรรคการเมือง

(๗) กิจการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
กฎหมาย หรือข้อบังคับ

  • กิจการตาม (๑) (๒) และ (๓) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของ
    พรรคการเมืองแล้ว ให้พรรคการเมืองมีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบเพื่อ
    แก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็น
    ชอบจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง และให้นายทะเบียนประกาศ
    การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
  • ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองครบวาระ ตาย ลาออก เปลี่ยนชื่อตัว
    เปลี่ยนชื่อสกุล หรือเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุใด ๆ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งให้
    นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว และให้นาย
    ทะเบียนประกาศเหตุดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาด้วย

มาตรา ๓๙

  • องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับซึ่งอย่างน้อย
    ต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
    จำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ผู้แทนของสาขาพรรคการ
    เมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสาขาพรรคการเมือง ซึ่งในจำนวนนี้จะต้อง
    ประกอบด้วยผู้แทนของสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสองสาขาซึ่งมาจาก
    ภาคต่างกันที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๓๓ ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด และสมาชิก ทั้งนี้ มีจำนวนรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าสองร้อยห้าสิบคน
  • องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองให้เป็นไปตามที่กำหนดใน
    ข้อบังคับซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการสาขาพรรคการเมืองไม่น้อย
    กว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการสาขาพรรคการเมืองทั้งหมด และสมาชิกสาขา
    พรรคการเมือง ทั้งนี้ มีจำนวนรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน

มาตรา ๔๐

  • การลงมติในที่ประชุมใหญ่ให้กระทำโดยเปิดเผย แต่การลงมติเลือกบุคคล
    ตามมาตรา ๓๘ (๓) และ (๔) ให้ลงคะแนนลับ

มาตรา ๔๑

  • สมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของ
    จำนวนสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือกรรมการบริหารพรรค
    การเมืองจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมือง
    หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
    ของพรรคการเมืองหรือไม่น้อยกว่าสองร้อยห้าสิบคน แล้วแต่จำนวนใดจะน้อย
    กว่า มีสิทธิเข้าชื่อกันยื่นคำร้องขอให้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค
    การเมืองนั้นได้

มาตรา ๔๒

  • ในกรณีสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งคนใด หรือสมาชิก
    จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน เห็นว่ามติของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก
    อยู่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น ให้มีสิทธิ
    ร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
  • ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยว่ามติใดของพรรคการเมืองขัดต่อพระราชบัญญัติ
    ประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอน
    มติดังกล่าวได้

มาตรา ๔๓

  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง
    ในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองเพื่ออนุมัติ
    ภายในเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายการ
    ตามที่คณะกรรมการกำหนด
  • พรรคการเมืองใดที่จดทะเบียนยังไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับถึงวันสิ้นปีปฏิทิน
    ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งสำหรับปีนั้น
  • ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองซึ่ง
    ที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติแล้วตามวรรคหนึ่ง ต่อนายทะเบียน
    ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติ ตามหลัก
    เกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
    และให้ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย

มาตรา ๔๔

  • ห้ามมิให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง และสมาชิกรับ
    บริจาคจากผู้ใดเพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อน
    ทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ
    หรือราชการแผ่นดิน

มาตรา ๔๕

  • ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการ
    หรือส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความ
    สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการ
    ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

มาตรา ๔๖

  • ห้ามมิให้พรรคการเมือง สมาชิก หรือผู้ใด เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน
    ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อให้ผู้นั้นหรือบุคคลอื่นได้รับแต่งตั้ง
    หรือสัญญาว่าจะให้ได้รับแต่งตั้ง หรือเพราะเหตุที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรง
    ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งใดในการบริหารราชการแผ่นดินหรือใน
    หน่วยงานของรัฐ
  • ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่
    พรรคการเมือง สมาชิก หรือผู้ใด เพื่อจูงใจให้ตนหรือบุคคลอื่นได้รับการแต่ง
    ตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือตำแหน่งใดในการบริหารราชการแผ่นดิน
    หรือในหน่วยงานของรัฐ


 
 
 
 
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com