Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐

September 14, 2017
Start page ASEAN Living Live in Travel  

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐

หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา ๕๐

  • ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา
    กำกับดูแล และรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  • กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมาย
    ว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่
    พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
    ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๕๑

  • สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการ และดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการบรรลุภารกิจและหน้าที่
ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายอื่น

(๒) อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
กรรมการ และผู้ตรวจการเลือกตั้ง

(๓) ดำเนินการเพื่อให้พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่พรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง
มีความรู้ความเข้าใจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
และมติของคณะกรรมการ

(๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือที่คณะกรรมการมอบหมาย

มาตรา ๕๒

  • ในการกำ กับดูแลสำ นักงาน ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศ
    ในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว

(๒) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งและค่าตอบแทนหรือสิทธิ
และประโยชน์อื่นของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน

(๓) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม
สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง
การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ สำหรับเลขาธิการและพนักงานของสำนักงาน รวมทั้ง
วิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้างของสำนักงาน

(๔) การบริหารและจัดการการเงินและทรัพย์สิน การงบประมาณ และการพัสดุของสำนักงาน

(๕) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นซึ่งรวมถึงการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แก่เลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน และหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย
ในกรณีเลขาธิการดำรงตำแหน่งครบวาระ

(๖) การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการได้มาซึ่งเลขาธิการ

(๗) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบของคณะกรรมการ เลขาธิการ พนักงาน
และลูกจ้างของสำนักงาน

(๘) การอื่นใดอันจำเป็นต่อการกำกับหรือควบคุมการดำเนินงานของสำนักงานหรือการ
บังคับบัญชาเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน หรือการทำให้บุคคลดังกล่าว
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การดำเนินการตาม (๑) ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความคล่องตัว
  • การกำหนดตาม (๒) ต้องคำนึงถึงค่าครองชีพ และความเพียงพอในการดำรงชีพและ
    ภาระความรับผิดชอบที่แตกต่างกันของพนักงานและลูกจ้างแต่ละสายงานและระดับด้วย
  • ในการออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการคำนึงถึง
    ความเที่ยงธรรม ขวัญและกำลังใจของบุคลากร โดยจะกำหนดให้มีคณะบุคคลเพื่อกำกับ
    ดูแล หรือพิจารณาคำร้องทุกข์หรือคำอุทธรณ์ที่เป็นอิสระด้วยก็ได้

มาตรา ๕๓

  • ให้คณะกรรมการออกข้อกำหนดทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับแก่พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน
    ทั้งนี้ ข้อกำหนดทางจริยธรรมดังกล่าวต้องระบุด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับ
    โทษอย่างใด
  • ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานผู้ใด
    กระทำการใดโดยไม่สุจริตหรือเอื้อประโยชน์หรือกลั่นแกล้งผู้ใดในการปฏิบัติหน้าที่หรือในการ
    ดำเนินการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการทางวินัยโดยเร็ว และในระหว่างนั้น ให้คณะกรรมการย้ายผู้
    นั้นให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือจากท้องที่ที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ทันที
  • ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่เลขาธิการด้วยโดยอนุโลม โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจ
    สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้พลางก่อนได้

มาตรา ๕๔

  • ให้สำ นักงานมีเลขาธิการคนหนึ่งซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งตามมติของคณะกรรมการเป็นผู้
    บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน
    ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการจะกำหนดให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่ง
    และปฏิบัติงานรองจากเลขาธิการก็ได้
  • ให้เลขาธิการทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ

มาตรา ๕๕

  • เลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะ
    เวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน
    หกสิบปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ
    และมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของสำนัก
    งานตามที่คณะกรรมการกำหนด
  • เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับ
    แต่งตั้งใหม่ได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

มาตรา ๕๖

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๕

(๔) ไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา

(๕) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือมีการกระทำหรือมีคุณลักษณะไม่
เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ

(๖) เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง

มาตรา ๕๗

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ เลขาธิการมีหน้าที่และอำ นาจควบคุมดูแลการปฏิบัติงานโดยทั่วไป
    ของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และมติของคณะกรรมการ
    และให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานหรือ
ลูกจ้างของสำนักงาน ตลอดจนให้พนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตามระเบียบของคณะกรรมการ

(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานเท่าที่ไม่ขัดกับระเบียบหรือประกาศ
หรือมติของคณะกรรมการ

(๓) หน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น
และตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๕๘

  • ในกิจการของสำนักงานที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสำนักงานเพื่อการนี้
    เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานแทนก็ได้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
  • ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การงบประมาณของ
    สำนักงาน และกิจการอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการตามที่คณะกรรมการ
    กำหนด ให้เลขาธิการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน

มาตรา ๕๙

  • คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
    ในแต่ละจังหวัดเพื่อปฏิบัติหน้าที่และมีอำนาจตามที่คณะกรรมการกำหนด
  • หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแต่งตั้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้เป็นไปตาม
    ที่คณะกรรมการกำหนด
  • ให้นำความในมาตรา ๕๓ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดด้วย

มาตรา ๖๐

  • ให้คณะกรรมการเสนองบประมาณรายจ่าย เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของคณะกรรมการและ
    สำนักงานไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี
    หรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
  • ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้ไม่เพียงพอ
    ให้คณะกรรมการเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทน
    ราษฎรได้โดยตรง
  • ในการเสนองบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คณะกรรมการแจ้งให้
    คณะรัฐมนตรีทราบถึงรายได้และทรัพย์สินที่มีอยู่ด้วย

ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งมากกว่างบประมาณที่สำนักงานได้รับ ให้รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่าย
ให้เพียงพอกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ

มาตรา ๖๑

  • เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
    ตามมาตรา ๖๐ ใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงานจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
  • การใช้จ่ายเงินของสำนักงานต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามวรรคหนึ่ง
    เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการเป็นการเฉพาะกรณี
  • ในการเบิกงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ให้สำนักงานส่งข้อมูลคำขอเบิกงบประมาณต่อ
    กรมบัญชีกลาง โดยให้ระบุจำนวนเงินที่จะต้องใช้ในแต่ละงวด งวดละสามเดือน และให้กรมบัญชี
    กลางสั่งจ่ายเงินให้แก่สำนักงานภายในสามวันก่อนวันขึ้นงวดใหม่ แต่ในกรณีที่สำนักงานมีความจำ
    เป็นต้องใช้เงินมากกว่าที่ได้แจ้งไว้ในงวดใด ให้กรมบัญชีกลางจ่ายให้ตามที่สำนักงานร้องขอ

มาตรา ๖๒

  • รายได้และทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงาน ประกอบด้วย

(๑) เงินอุดหนุนที่ได้รับตามมาตรา ๖๑

(๒) รายได้จากค่าธรรมเนียมหรือทรัพย์สินของสำนักงาน

(๓) ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สำนักงาน

(๔) ดอกผลหรือผลประโยชน์ของเงินหรือทรัพย์สินของสำนักงาน

(๕) รายได้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

  • ในการรับทรัพย์สินตาม (๓) ให้คำนึงถึงความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ และในกรณีที่
    คณะกรรมการเห็นว่าการรับทรัพย์สินดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
    ของสำนักงาน จะสั่งให้สำนักงานไม่รับทรัพย์สินนั้นหรือให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้อุทิศให้ก็ได้

มาตรา ๖๓

  • รายได้ของสำนักงานไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
    กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
  • ให้สำนักงานจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งเสนอต่อรัฐสภา
    และคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี
  • อสังหาริมทรัพย์ซึ่งสำนักงานได้กรรมสิทธิ์มาไม่ว่าจากการซื้อ หรือมีผู้ยกให้ ให้เป็นที่ราชพัสดุ
    แต่สำนักงานมีอำนาจในการปกครองดูแล ใช้ หรือหาประโยชน์ได้

มาตรา ๖๔

  • ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
    และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้มิได้

มาตรา ๖๕

  • ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการ ส่งผู้สอบบัญชีภายใน
    เก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
  • ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงาน โดยให้ทำการตรวจสอบ
    รับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของสำนักงาน รวมทั้งประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน
    ของสำนักงาน โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด
    ได้ผลตามเป้าหมายมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ และคุ้มค่าเพียงใด แล้วทำรายงานเสนอผล
    การสอบบัญชีต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี โดยไม่ชักช้า


 
 
 
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com