Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐

September 14, 2017
Start page ASEAN Living Live in Travel  

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐

หมวด ๑
คณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา ๘

  • คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์
    ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้

    (๑) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและ
    จัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะ
    กรรมการสรรหาจำนวนห้าคน จากผู้ซึ่งมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

    (ก) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ
    ที่เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

    (ข) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น
    ของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

    (ค) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
    มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์

    (ง) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองการประกอบวิชาชีพ
    โดยประกอบวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบปีนับถึงวันที่
    ได้รับการเสนอชื่อและได้รับการรับรองการประกอบวิชาชีพจากองค์กรวิชาชีพนั้น

    (จ) เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ทางด้านการบริหาร การเงิน การคลัง
    การบัญชี หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจในระดับไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
    มหาชนจำกัดมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี

    (ฉ) เคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (จ) รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี

    (ช) เป็นผู้ทำงานหรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบปี
    ตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด

(๒) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย และเคยดำรงตำแหน่ง
ไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อย
กว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวนสองคน

มาตรา ๙

  • นอกจากคุณสมบัติตามมาตรา ๘ แล้ว กรรมการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี

(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

(๕) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๑๐

  • กรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด

(๒) ติดยาเสพติดให้โทษ

(๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(๔) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

(๕) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(๖) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

(๗) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๘) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิ
สมัครรับเลือกตั้ง

(๙) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(๑๐) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่
หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

(๑๑) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำ
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๑๒) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือ
ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของ
พนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
ตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า
กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนักกฎหมายว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

(๑๓) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

(๑๔) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๑๕) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการเสนอ การแปรญัตติ หรือ
การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือ
กรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย

(๑๖) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

(๑๗) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้
กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๑๘) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง
หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะสิบปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

(๑๙) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อน
เข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

(๒๐) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๒๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

(๒๒) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

(๒๓) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

(๒๔) มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

มาตรา ๑๑

  • เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตามมาตรา ๘ (๑)
    ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย

(๑) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ

(๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ

(๓) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ

(๔) บุคคลซึ่งศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่คณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้งจาก
ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐
และไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ องค์กรละหนึ่งคน
เป็นกรรมการ

  • ให้เลขาธิการวุฒิสภาเป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา และให้สำนักงาน
    เลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา
  • ในการดำเนินการแต่งตั้งบุคคลตาม (๔) ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่คณะ
    กรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเสนอชื่อบุคคลซึ่งองค์กรนั้นแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหา
    ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการวุฒิสภา โดยให้คัดเลือกจากบุคคลซึ่งมี
    ความเป็นกลาง ซื่อสัตย์สุจริต มีความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    และไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใด ๆ และผู้จะได้รับ
    การคัดเลือกเป็นกรรมการสรรหาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดเท่าที่
    มีอยู่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือกรรมการองค์กรอิสระ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มี
    บุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ให้ลงคะแนนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในการลงคะแนน
    ครั้งนี้ ถ้ามีผู้เข้ารับการคัดเลือกเกินสองคน
  • ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหาตาม (๒) หรือกรรมการสรรหาตาม (๔) มี
    ไม่ครบไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือพ้นกำหนดเวลาการคัดเลือกตามวรรคสามแล้วมิได้มีการ
    เสนอชื่อ ให้คณะกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจไปพลางก่อนได้
    โดยในระหว่างนั้นให้ถือว่าคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
  • ให้กรรมการสรรหาตาม (๔) อยู่ในวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันที่มีกรณีที่ต้อง
    สรรหากรรมการใหม่ และให้กรรมการสรรหาดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อตาย
    ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
  • ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสรรหาตาม (๔) แล้ว จะเป็นกรรมการสรรหา
    ในคณะกรรมการสรรหาสำหรับศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระอื่นในขณะเดียวกันมิได้
  • ให้ประธานกรรมการสรรหา และกรรมการสรรหาเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๑๒

  • ในการสรรหากรรมการ ให้คณะกรรมการสรรหาปรึกษาหารือเพื่อคัดสรรให้ได้บุคคลซึ่งมี
    ความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ มีพฤติกรรมทางจริยธรรม
    เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม และไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมือง
    ใด ๆ รวมตลอดทั้งมีทัศนคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลสำเร็จ
    โดยนอกจากการประกาศรับสมัครแล้วให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาจากบุคคล
    ซึ่งมีความเหมาะสมทั่วไปได้ด้วยแต่ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึง
    ถึงความหลากหลายของประสบการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละด้านประกอบด้วย และเพื่อ
    ประโยชน์แห่งการนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือให้แสดง
    ความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ หรือวิธีการอื่นใดที่
    เหมาะสมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
  • ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่การคัดเลือกผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ
    ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาด้วยโดยอนุโลม
  • ในการสรรหาหรือคัดเลือก ให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผยและให้กรรมการสรรหาแต่ละคน
    บันทึกเหตุผลในการเลือกไว้ด้วย
  • ผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาต้องได้รับคะแนนเสียงถึงสองในสามของจำนวนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
    ของคณะกรรมการสรรหา
  • ผู้ซึ่งจะได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ
    จำนวนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของผู้พิพากษาในศาลฎีกา
  • ถ้าไม่มีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงตามวรรคสี่หรือวรรคห้า หรือมีแต่ยังไม่ครบจำนวนที่
    จะต้องสรรหาหรือคัดเลือก ให้มีการลงคะแนนใหม่สำหรับผู้ได้คะแนนไม่ถึงสองในสาม
    หรือไม่เกินกึ่งหนึ่งแล้วแต่กรณี ถ้ายังได้ไม่ครบตามจำนวนให้มีการลงคะแนนอีกครั้งหนึ่ง
    ในกรณีที่การลงคะแนนครั้งหลังนี้ยังได้บุคคลไม่ครบตามจำนวนที่จะต้องสรรหาหรือคัดเลือก
    ให้ดำเนินการสรรหาหรือคัดเลือกใหม่สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
  • เมื่อคณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาหรือคัดเลือกได้บุคคลใดแล้วให้
    เสนอชื่อไปยังวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือก
    นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
    สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
  • ในกรณีที่วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกรายใด ให้ดำเนินการสรรหา
    หรือคัดเลือกบุคคลใหม่แทนผู้นั้น แล้วเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป โดยผู้
    ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาในครั้งนี้จะเข้ารับการสรรหาในครั้งใหม่นี้ไม่ได้
  • เมื่อมีผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว หากเป็นกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจาก
    ตำแหน่งด้วย ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบประชุมร่วมกับกรรมการซึ่งยังไม่พ้นจากตำแหน่ง
    ถ้ามีเพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
    ในกรณีที่ผู้ซึ่งวุฒิสภาให้ความเห็นชอบยังได้ไม่ครบจำนวนที่ต้องสรรหาหรือคัดเลือก
    แต่เมื่อรวมกับกรรมการซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ ถ้ามี มีจำนวนถึงห้าคนก็ให้ดำเนินการ
    ประชุมเพื่อเลือกประธานกรรมการได้ และเมื่อโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งแล้ว
    ให้คณะกรรมการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไปพลางก่อนได้ โดยในระหว่างนั้น
    ให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ และให้ดำเนินการสรรหาหรือคัด
    เลือกเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องสรรหาหรือคัดเลือกต่อไปโดยเร็ว
  • ในการสรรหาเพิ่มเติมตามวรรคเก้าให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสรรหาชุดเดิมเป็น
    ผู้ดำเนินการ
  • ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ
    และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา ๑๓

  • ผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้เป็นกรรมการโดยที่ยังมิได้พ้นจากตำแหน่งตาม
    มาตรา ๑๐ (๒๐) (๒๑) หรือ (๒๒) หรือยังประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๑๐ (๒๓) อยู่
    ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพดังกล่าวแล้วนั้นต่อประธานวุฒิสภา
    ภายในเวลาที่ประธานวุฒิสภากำหนด ซึ่งต้องเป็นเวลาก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะนำความ
    กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งกรรมการในกรณีที่ไม่ได้แสดงหลักฐานภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
    ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ และให้ดำเนินการสรรหาหรือคัดเลือกใหม่ และให้นำความใน
    มาตรา ๑๒ วรรคสิบ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  • ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ผู้ได้รับการคัดเลือก
    หรือได้รับการสรรหา ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย
    คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นที่สุด
  • การเสนอเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการสรรหาวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
    และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหากำหนด
  • การวินิจฉัยให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผย
  • ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับแก่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ
    คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการสรรหาด้วยโดยอนุโลม แต่กรรมการสรรหาที่
    ถูกกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามจะอยู่ในที่ประชุมในขณะพิจารณาและ
    วินิจฉัยมิได้

มาตรา ๑๕

  • กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
    และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
  • ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่
    ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการใหม่แทน

มาตรา ๑๖

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐

  • เมื่อประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการ ให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการด้วย
  • เมื่อมีปัญหาว่ากรรมการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งตาม (๒) หรือ (๓) หรือไม่ ให้เป็นหน้าที่และอำนาจ
    ของคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นที่สุด
  • ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการ
    เลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ
  • ในระหว่างที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง และยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง
    ให้คณะกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้ามีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงสี่คน
    ให้กระทำได้แต่เฉพาะการที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
  • ในกรณีที่กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหาหรือคัดเลือกกรรมการใหม่
    ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนวันที่กรรมการครบวาระ แต่ถ้ากรรมการพ้นจากตำแหน่งด้วย
    เหตุอื่นนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหาหรือคัดเลือกกรรมการ
    ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง

มาตรา ๑๗

  • เมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีหลักฐานตามสมควรว่ากรรมการผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง
    ตามมาตรา ๑๖ (๒) หรือ (๓) ให้เลขาธิการวุฒิสภาเสนอเรื่องต่อประธานกรรมการ
    สรรหาภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ และให้คณะกรรมการสรรหาวินิจฉัยให้
    แล้วเสร็จโดยเร็ว ในการวินิจฉัยให้ถือเสียงข้างมาก กรณีที่มีเสียงเท่ากันให้ประธาน
    กรรมการสรรหามีเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

  • หลักฐานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด
  • ในกรณีที่กรรมการต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะถูกกล่าวหาและศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนก
    คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง และมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
    ให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและ
    ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่นเดียวกับกรรมการทำหน้าที่เป็นกรรมการเป็นการชั่วคราวให้ครบ
    เจ็ดคน โดยให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่ในฐานะกรรมการได้จนกว่ากรรมการที่ตนทำ
    หน้าที่แทนจะปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน

มาตรา ๑๘

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ วรรคห้า การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการ
    มาประชุมไม่น้อยกว่าห้าคน จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการคนใดไม่อาจมา
    ประชุมได้ ให้จดแจ้งเหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม
  • การลงมติในการประชุมของคณะกรรมการให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก โดยประธานในที่
    ประชุมและกรรมการที่มาประชุมต้องลงคะแนนเสียงเพื่อมีมติ และให้กรรมการคนหนึ่งมี
    เสียงหนึ่งในการลงคะแนน ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิ
    ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  • การไม่เข้าประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าเป็น
    การจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
  • ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม
    ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์
    และวิธีการประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๑๙

  • ในกรณีที่คณะกรรมการต้องมีมติวินิจฉัยในเรื่องดังต่อไปนี้ กรรมการทุกคนที่อยู่ในที่
    ประชุมต้องลงมติ การงดออกเสียงหรือการออกเสียงที่แตกต่างไปจากประเด็นที่จะต้อง
    ลงมติจะกระทำมิได้ แต่ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะลาออกจากตำแหน่งก่อนมีการลงมติ

(๑) การวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย

(๒) การให้ความเห็นชอบคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง

(๓) การแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งตามมาตรา ๓๐

(๔) การสั่งระงับการดำเนินการอันจะทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม
หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๓๓

(๕) การสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม หรือมาตรา ๔๑

(๖) การยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ของผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(๗) การสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และการ
วินิจฉัยว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นเพื่อประโยชน์ในการ
ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

(๘) เรื่องอื่นใดที่คณะกรรมการมีมติกำหนดด้วยคะแนนสองในสามของกรรมการทั้งหมด
เท่าที่มีอยู่

มาตรา ๒๐

  • ในการลงมติของกรรมการตามมาตรา ๑๙ หรือในเรื่องอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด
    ให้กรรมการลงมติเป็นหนังสือตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีชื่อเรื่อง
    และประเด็นที่ลงมติ มติที่ลง และลายมือชื่อของกรรมการที่ลงมติ และให้เลขาธิการเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน
  • มติที่ได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรอรับรองรายงาน
    การประชุมของคณะกรรมการ และในกรณีที่ต้องทำคำวินิจฉัย เมื่อคณะกรรมการให้
    ความเห็นชอบร่างคำวินิจฉัยนั้นและประธานกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ
    ได้ลงนามในคำวินิจฉัยนั้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
  • การให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง คณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่ง
    หรือหลายคนเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแทนคณะกรรมการก็ได้
  • คำวินิจฉัยตามวรรคสองให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
  • ในกรณีที่คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งคณะก่อนลงนาม
    ในคำวินิจฉัย ให้เลขาธิการบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยและให้เลขาธิการเป็นผู้ลง
    นามในคำวินิจฉัยนั้นแทน เมื่อเลขาธิการลงนามในคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว
    ให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นอันใช้บังคับได้

มาตรา ๒๑

  • กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา และการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจของคณะ
    กรรมการต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการ
    ใช้ดุลพินิจและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมาตรฐานทางจริยธรรม ในระหว่างการดำรง
    ตำแหน่ง กรรมการจะเข้ารับการศึกษาหรืออบรมในหลักสูตรหรือโครงการใด ๆ มิได้
    เว้นแต่เป็นหลักสูตรหรือโครงการที่คณะกรรมการเป็นผู้จัดขึ้นโดยเฉพาะสำหรับกรรมการ

มาตรา ๒๒

  • นอกจากหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะกรรมการ
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) หน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายอื่น

(๒) ออกข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายอื่น

(๓) วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศของ
คณะกรรมการ

(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน ข้าราชการ พนักงาน
หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
การสืบสวนและไต่สวน และการอื่นใดที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
และพรรคการเมือง

(๕) ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน ในการสร้าง
ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง และความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

(๖) วางระเบียบเกี่ยวกับการชำระค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเลือกตั้งและดอกเบี้ย
หรือเบี้ยปรับ รวมตลอดทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการลดหรือยกเว้นดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ

(๗) กำกับและติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่พรรคการเมืองได้รับการจัดสรรตามกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองเพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าว

(๘) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตต่อรัฐสภา และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
เป็นการทั่วไป

(๙) จัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อกำหนดวิธีการหรือมาตรการให้การเลือกตั้ง
เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

(๑๐) ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงาน

ในการควบคุม กำกับ ดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย ให้ถือเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการที่จะต้องดำเนินการสอดส่อง สืบสวน
หรือไต่สวนเพื่อป้องกันและขจัดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำใดอันจะก่อให้เกิดความไม่
สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมในการเลือกตั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในระหว่างประกาศใช้พระราช
กฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม

การกำหนดตาม (๑๐) ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และต้อง
คำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่สาธารณชนจะพึงได้รับ หลักธรรมาภิบาล
และความเป็นธรรมประกอบกัน

มาตรา ๒๓

  • ในกรณีที่พรรคการเมืองหรือผู้สมัครผู้ใดสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
    เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือข้อกำ หนด ระเบียบ หรือประกาศของ
    คณะกรรมการ ให้คณะกรรมการตอบข้อสอบถามให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ต้องไม่ช้ากว่าสามสิบวัน
    นับแต่วันได้รับการสอบถาม ในการนี้ คณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง
    หรือเลขาธิการเป็นผู้ตอบข้อสอบถามแทนคณะกรรมการก็ได้ และเมื่อได้ตอบแล้วให้เผยแพร่ให้
    ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
  • ในกรณีที่คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตอบข้อสอบถามไม่ทันภายในเวลาที่กำหนด
    ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
  • วิธีการสอบถามและวิธีการตอบข้อสอบถามให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๔

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจ
    ดังต่อไปนี้

(๑) ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน
หรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

(๒) ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตาม (๑) พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หรือบุคคลใด
มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือพยานหลักฐานที่
เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อประกอบการพิจารณา

(๓) ขอความร่วมมือให้ศาลส่งเอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณา

(๔) เข้าไปหรือแต่งตั้งให้บุคคลเข้าไปในที่เลือกตั้ง ที่ออกเสียงประชามติ หรือสถานที่
นับคะแนนเลือกตั้งหรือนับคะแนนการออกเสียงประชามติ

  • ให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งมีอำนาจตาม (๔) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดด้วย

มาตรา ๒๕

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการ
    มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
    โดยสุจริตและเที่ยงธรรม และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ
    และความรวดเร็วในการทำงาน

มาตรา ๒๖

  • ในระหว่างการเลือกตั้ง ให้กรรมการแต่ละคนมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) กำกับและตรวจสอบการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

(๒) มีคำสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนเมื่อพบเห็นการกระทำใดที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า
การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(๓) เมื่อพบการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำใดอันอาจเป็นเหตุให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไป
โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าการนั้นเป็นการกระทำ
หรือการงดเว้นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีอำนาจสั่งให้ระงับ ยับยั้ง แก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าเป็นการกระทำ
ของบุคคลซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
หรือสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บันทึกพฤติกรรมแห่งการกระทำ
และรวบรวมพยานหลักฐานไว้เพื่อดำเนินการต่อไปได้ตามที่จำเป็น หรือในกรณีจำเป็นอันไม่อาจ
หลีกเลี่ยงได้ จะสั่งให้ระงับหรือยับยั้งการดำเนินการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยหรือทุก
หน่วยในเขตเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำนั้นก็ได้

  • ในกรณีที่กรรมการสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบันทึกพฤติกรรมแห่งการกระทำ
    และรวบรวมพยานหลักฐานตาม (๓) ให้ถือว่าการดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวของผู้อำนวยการ
    การเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นการดำเนินการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมาย
    วิธีพิจารณาความอาญา
  • ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือไต่สวนตาม (๒) จะต้องมีคำสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
    ของผู้สมัครผู้ใดไว้เป็นการชั่วคราว หรือดำเนินการอื่นใด ให้เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย
  • เมื่อกรรมการผู้ใดออกคำสั่งตาม (๒) หรือ (๓) แล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบโดยเร็ว
    ในการนี้ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรจะมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิกคำสั่ง หรือมีมติให้ดำเนินการอย่างใด
    ตามที่เหมาะสมก็ได้
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตาม
    ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๗

  • การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา และการออกเสียงประชามติ
    ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการในการจัดการเลือกตั้ง หรือเลือก หรือออกเสียง
    ประชามติ
  • การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการให้
    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง
    ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการ กับให้มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่ง
    รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และกำหนดหลักเกณฑ์และ
    วิธีการปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง
  • ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจควบคุมดูแล
    การจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
    ตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
    และกฎหมายอื่น

มาตรา ๒๘

  • ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือการเลือกสมาชิกวุฒิสภาแต่ละครั้ง
    ให้คณะกรรมการจัดให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่
    ในแต่ละจังหวัดในระหว่างเวลาที่มีการดำเนินการเลือกตั้ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการ
    ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่ดำเนินการเลือกตั้ง และการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการ
    เลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือการกระทำใดที่จะเป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต
    หรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้วรายงานให้คณะกรรมการหรือกรรมการ
    ทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ในกรณีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
    ให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งมีอำนาจแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ถ้าไม่มีการดำเนินการแก้ไขให้
    ถูกต้องให้รายงานให้คณะกรรมการหรือกรรมการทราบโดยเร็ว ในการนี้ ให้สำนักงานคณะ
    กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีหน้าที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
    ของผู้ตรวจการเลือกตั้งด้วย
  • คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
    แต่จะมอบอำนาจของคณะกรรมการหรือกรรมการที่มีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมิได้
  • ระหว่างเวลาที่มีการดำเนินการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง หมายความถึงเวลาตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกา
    ให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งหรือภายหลังจากนั้นอีกไม่เกินหกสิบวัน
    ตามที่คณะกรรมการกำหนด
  • วิธีการรายงานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องกำหนดให้สามารถ
    รายงานได้โดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
  • ในกรณีที่มีการเลือกตั้งเพิ่มเติมหรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการออกเสียง
    ประชามติ หรือมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการจะสั่งให้
    ผู้ตรวจการเลือกตั้งไปปฏิบัติหน้าที่ตามกำหนดเวลาที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ในการแต่งตั้ง
    ผู้ตรวจการเลือกตั้ง ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๓๐

มาตรา ๒๙

  • ให้คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในแต่ละจังหวัดจังหวัดละไม่น้อยกว่า
    ห้าคนแต่ไม่เกินแปดคน เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งตามจำนวนที่เพียงพอแก่การปฏิบัติ
    หน้าที่ครบทุกจังหวัด โดยจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อขึ้นไว้ บัญชีรายชื่อดังกล่าวให้ใช้ได้เป็นเวลา
    ตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปี
  • เมื่อคัดเลือกบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง ให้คณะกรรมการประกาศรายชื่อ
    ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ประชาชนทราบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และให้นำข้อมูลที่ได้รับจาก
    ประชาชนมาประกอบการพิจารณาแต่งตั้งด้วย
  • จังหวัดใดไม่อาจแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดครบตามจำนวนตามวรรคหนึ่งไม่ว่าด้วย
    เหตุใด คณะกรรมการจะไม่แต่งตั้งผู้มีภูมิลำเนาจากจังหวัดนั้นเลยหรือจะแต่งตั้งน้อยกว่าที่กำหนด
    ไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นคณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาจากจังหวัดอื่น
    แทนให้ครบจำนวนก็ได้
  • ผู้ตรวจการเลือกตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้าง
    ของหน่วยงานของรัฐ หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นสมาชิกพรรค
    การเมืองใดในเวลาห้าปีที่ผ่านมาก่อนการแต่งตั้ง เป็นบุคคลซึ่งเชื่อได้ว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต
    ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียและต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดและไม่มีลักษณะ
    ต้องห้ามที่กำหนดไว้สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งต้องไม่เป็นผู้มี
    บุพการี คู่สมรส หรือบุตรเป็นหรือสมัครรับเลือกตั้งหรือรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง ต้องยืนยันในใบสมัครว่ามีความพร้อมที่จะไป
    ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดใด ๆ ที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๓๐
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัคร การคัดเลือก การประเมินผล การปฏิบัติงาน
    และการพ้นจากตำแหน่งของผู้ตรวจการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
    ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ถ้าคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า
    ผู้ตรวจการเลือกตั้งผู้ใดขาดความสุจริต ขาดความเที่ยงธรรม มีความประพฤติเสื่อมเสีย
    ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ละทิ้งหน้าที่
    หรือไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งและคัดออกจากบัญชี
    รายชื่อทันที

มาตรา ๓๐

  • เมื่อมีกรณีที่ผู้ตรวจการเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งบุคคล
    จากบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๒๙ มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินแปดคน
    โดยคำนึงถึงพื้นที่ของจังหวัดหรือพื้นที่ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง
    ประจำจังหวัดทุกจังหวัด
  • ให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ได้นับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง แม้จะยังมีจำนวนไม่ครบ
    ตามวรรคหนึ่งก็ตาม
  • การแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากบุคคล
    ซึ่งกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมาย จับสลากจาก

(๑) รายชื่อตามบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่จะแต่งตั้ง
จำนวนสองคน

(๒) รายชื่อตามบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ที่มิได้มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่จะแต่งตั้ง
ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดสำหรับจังหวัดนั้น

  • ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดตาม (๑) ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด
    คณะกรรมการจะแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดตาม (๒) แทนผู้ตรวจการเลือกตั้ง
    ประจำจังหวัดตาม (๑) ก็ได้
  • ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จไม่ช้ากว่าสิบวันนับแต่วันที่
    พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ แต่ต้องไม่เร็วกว่าสามสิบวันก่อนวันที่
    พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ
  • เมื่อพ้นเวลาระหว่างเวลาที่มีการดำเนินการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๘ แล้ว ให้คำสั่งแต่งตั้ง
    ผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นอันสิ้นผล เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดใดยังมี
    ความจำเป็นจะต้องดำเนินการต่อไป คณะกรรมการจะประกาศให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเวลา
    ที่กำหนดก็ได้

มาตรา ๓๑

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก
    ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายหรือการสงเคราะห์อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๓๒

  • เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดย
    สุจริตและเที่ยงธรรม และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการอาจขอให้มีการดำเนินการ
    ดังต่อไปนี้

(๑) ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สอบบัญชีของพรรคการเมือง
โดยอาจขอให้ตรวจสอบอย่างเร่งด่วนในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งด้วยก็ได้

(๒) เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด
หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ให้สำนักงานป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงินแจ้งรายงานการทำธุรกรรมของพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง
หรือผู้สมัคร ตามที่คณะกรรมการแจ้งให้ทราบ หรือให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสถาบัน
การเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแจ้งให้ทราบถึงการโอนหรือการเบิกจ่ายเงิน
ในกรณีดังกล่าวตามที่คณะกรรมการร้องขอ ทั้งนี้ ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
และมิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามหน่วยงานใดเปิดเผยข้อมูลในความครอบครองมาใช้บังคับ
แก่การแจ้งข้อมูลตามที่คณะกรรมการร้องขอ

(๓) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยที่เกี่ยวกับการข่าว แจ้งข้อมูลเบาะแสตามที่คณะกรรมการร้องขอ
แต่เมื่อได้รับแจ้งข้อมูลใดแล้วให้คณะกรรมการใช้ข้อมูลนั้นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนหาตัว
ผู้กระทำ ความผิดหรือวางมาตรการป้องกันการกระทำ ความผิดในส่วนที่เป็นหน้าที่และอำนาจ
ของคณะกรรมการ แต่คณะกรรมการจะเปิดเผยข้อมูลและแหล่งข้อมูลมิได้ และเพื่อประโยชน์ใน
การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินงบประมาณที่สำนัก
งานได้รับจัดสรรมาให้แก่หน่วยงานนั้นเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปของหน่วยงานนั้นได้

  • ในการสั่งให้ดำเนินการตาม (๑) คณะกรรมการมีอำนาจจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานการตรวจเงิน
    แผ่นดิน หรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๓๓

  • เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลใดดำเนินการด้านธุรกรรมทางการเงินผลิตหรือเตรียม
    การผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่อาจใช้ในการจัดการเลือกตั้งโดยไม่มีอำนาจ ใช้เงินหรือทรัพย์สิน
    หรืออิทธิพลคุกคามเพื่อให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง หรือดำเนินการอื่นตามที่
    คณะกรรมการกำหนดอันจะเป็นผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไป
    โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลนั้นระงับการดำเนินการนั้นไว้เป็น
    การชั่วคราวภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน
  • ผู้ได้รับคำสั่งตามวรรคหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลปกครองสูงสุดให้เพิกถอนคำสั่งนั้นได้ และถ้า
    ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าการดำเนินการของบุคคลนั้นมิได้เป็นไปเพื่อให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไป
    โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอน
    คำสั่งนั้น

มาตรา ๓๔

  • ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ
    คณะกรรมการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการเลือกตั้ง หรือการสืบสวน หรือไต่สวนตามที่
    คณะกรรมการร้องขอเป็นหนังสือ
  • เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งหรือแต่งตั้งข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของ
    หน่วยงานของรัฐ ให้ปฏิบัติการอันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการเลือกตั้ง หรือการ
    สืบสวนหรือไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควร และให้แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่ข้าราชการ พนักงาน
    หรือลูกจ้างนั้นสังกัดอยู่ทราบโดยเร็ว
  • ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ
    คณะกรรมการตามวรรคสองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำ
    ความผิดทางวินัย และถ้าเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่การดำเนินการเลือกตั้ง ให้ถือว่าเป็นการ
    กระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และให้คณะกรรมการส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทาง
    วินัยดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจแก่ผู้นั้นโดยเร็ว และแจ้งผลให้คณะกรรมการทราบด้วย

มาตรา ๓๕

  • เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือเป็นไปโดยชอบด้วย
    กฎหมาย คณะกรรมการอาจแต่งตั้งบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กรชุมชน หรือสถาบันการศึกษาซึ่ง
    สมัครใจปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานหรือเป็นผู้สังเกตการณ์ในการเลือกตั้งเพื่อ
    รายงานต่อคณะกรรมการหรือกรรมการทราบได้ตามสมควร
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน การสนับสนุนทางการเงิน การรายงาน
    และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และให้เผยแพร่
    ผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย

มาตรา ๓๖

  • ให้คณะกรรมการจัดให้มีการทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากหลักฐานทะเบียนบ้าน
    ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
  • ทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบและขอแก้ไข
    ให้ถูกต้องได้
  • ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจขอเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
    เพื่อนำมาดำเนินการจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรืออาจมอบหมายให้นายทะเบียน
    ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือบุคคลอื่นที่เห็นสมควรเป็นผู้จัดทำแทนได้ ทั้งนี้
    ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๓๗

  • ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอื่น คณะอนุกรรมการ บุคคลหรือคณะบุคคล
    เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
  • หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง ค่าตอบแทน และการสงเคราะห์อื่น
    รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบ
    ที่คณะกรรมการกำหนด
  • การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงาน ความคุ้มค่าและความรวดเร็วด้วย

มาตรา ๓๘

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้กรรมการ เลขาธิการ
    ผู้ตรวจการเลือกตั้ง และบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งตามมาตรา ๓๗ เป็นเจ้าพนักงาน
    ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๓๙

  • เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการและกรรมการ
    ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเท่ากับกรรมการ
    ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับเงิน
    ค่ารับรองเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเงิน
    ประจำตำแหน่งของประธานกรรมการหรือกรรมการ

มาตรา ๔๐

  • ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทน
    เป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ครบวาระ

(๒) ตาย

(๓) ลาออก

(๔) มีอายุครบเจ็ดสิบปี

  • ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๓๙ คูณด้วยจำนวนปี
    ที่ดำรงตำแหน่ง เศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
  • สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ เว้นแต่กรณีตาย ให้ตกได้แก่
    คู่สมรสและทายาทที่ได้แจ้งไว้ และถ้าการตายนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่หรือในการปฏิบัติ
    หน้าที่ ให้ได้รับเป็นสองเท่าของบำเหน็จตอบแทนที่กำหนดไว้ตามวรรคสอง


 
 
 
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com