Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ


กลับไปหน้าแรก พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ปปช.  

     

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑


หมวด ๕

การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน

ส่วนที่ ๑
การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการตรวจสอบ
 

มาตรา ๑๐๒

  • ในการดำเนินการตามมาตรา ๒๘ (๓) อย่างน้อยคณะกรรมการ ป.ป.ช.
    ต้องกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร
    ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๒) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

(๓) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

(๔) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป

(๕) ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป

(๖) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดำรงตำแหน่ง
ตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป

(๗) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง

(๘) ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

(๙) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

  • คู่สมรสตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสด้วย
    ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

มาตรา ๑๐๓

  • เจ้าพนักงานของรัฐตำแหน่งใดจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส
    และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
    โดยให้นำความในวรรคสองของมาตรา ๑๐๒ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๐๔

  • เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
    และหนี้สินตามมาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๐๓ แล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป และ
    ให้แจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบด้วย

มาตรา ๑๐๕

  • การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ยื่นพร้อมหลักฐาน
    ที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษี
    ที่ผ่านมา โดยในกรณียื่นเป็นเอกสารผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีทรัพย์สิน
    และหนี้สิน และสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้า พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดของเอกสารประกอบบัญชีทรัพย์สิน
    และหนี้สินที่ยื่นด้วย ทั้งนี้ ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดงรายการ ให้รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
    ในต่างประเทศ และให้รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าวที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือ
    ดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมด้วย
  • หลักเกณฑ์ ระยะเวลา การขยายระยะเวลา วิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และหลักฐาน
    ประกอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยอาจกำหนดให้ยื่นด้วยวิธีการ
    ทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ การกำหนดดังกล่าวให้คำนึงถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบและ
    วิธีการใช้อิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เอกสารได้ด้วย รวมทั้งให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
    ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
  • การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นตามกำหนด ดังต่อไปนี้

(๑) ตำแหน่งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) และ (๙) ให้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง และ
พ้นจากตำแหน่ง

(๒) ตำแหน่งตามมาตรา ๑๐๒ (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และตำแหน่งอื่นที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช. กำหนด นอกจาก (๑) ให้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งและเมื่อพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ
ทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  • ในกรณีตาม (๑) ถ้าพ้นจากตำแหน่งและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่
    ภายในหนึ่งเดือน ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งและกรณีเข้าดำรงตำแหน่งใหม่
    แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นั้นจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน
  • ในกรณีตาม (๑) หรือ (๒) ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นใด
    ที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและ
    หนี้สินใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นั้นจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน

มาตรา ๑๐๖

  • เพื่อประโยชน์ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
    ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ และ
    เอกสารประกอบของผู้ดำ รงตำ แหน่งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) เฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา และบุคคลตามมาตรา ๑๐๒ (๒) (๓) (๗) และ (๙)
    รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ให้ประชาชนทราบ
    เป็นการทั่วไปโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว โดยบัญชีแสดง
    รายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ และเอกสารประกอบต้องไม่ระบุถึงรายละเอียด
    ทางทะเบียนของทรัพย์สิน และภาพถ่ายทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่จำเป็นหรือที่อาจก่อ
    ให้เกิดอันตรายต่อเจ้าของข้อมูลได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยการเผยแพร่
    ให้กำหนดช่วงระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน
  • การเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลตามมาตรา ๑๐๒ (๙) ตำแหน่งใด
    ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
  • ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง อาจก่อให้เกิดอันตราย
    ต่อเจ้าของข้อมูล ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใด
    ที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลนั้นก่อนการเปิดเผยให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปได้ โดยแจ้งให้ผู้ยื่นทราบถึง
    การดำเนินการดังกล่าว

มาตรา ๑๐๗

  • เมื่อมีการแต่งตั้งหรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นจากตำแหน่งที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    กำหนดให้ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินในหน่วยงานใด ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    ทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีของเจ้าหน้าที่
    ของรัฐที่ได้รับเลือกตั้ง ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะเป็นผู้แจ้ง

มาตรา ๑๐๘

  • บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่มีผู้ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สำนักงานจัดให้
    มีมาตรการป้องกันมิให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อความหรือเอกสารได้

มาตรา ๑๐๙

  • ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ใดไม่ยื่น
    บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามเวลาที่กำหนด ให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบ
    โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งกำหนดเวลาที่ขยายให้ซึ่งต้องไม่เกิน
    สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และในกรณีที่มีความจำเป็นอาจขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
  • เมื่อปรากฏว่าบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบที่ได้รับมาตามวรรคหนึ่งไม่ครบถ้วน
    หรือมีข้อมูลคลาดเคลื่อน และไม่มีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่ามีเจตนาปกปิดทรัพย์สินหรือหนี้สิน ให้เลขาธิการ
    หรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายแจ้งให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการให้ครบถ้วนหรือถูกต้องภายในระยะเวลา
    ที่เลขาธิการกำหนด
    เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ถ้าบุคคลดังกล่าวยังไม่ยื่น
    บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ยื่นไม่ครบถ้วนหรือมีข้อมูลคลาดเคลื่อน และมีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่ามีเจตนา
    ปกปิดทรัพย์สินหรือหนี้สิน ให้สำนักงานเสนอเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ ต่อไป

มาตรา ๑๑๐

  • ในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ
    ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินตามบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้
    ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งแรก และเมื่อมีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งต่อ ๆ ไป
    ให้ตรวจสอบถึงความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินด้วย
  • การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ
    พนักงานไต่สวน ดำเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งก่อนเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาก็ได้
    ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาที่จะต้องตรวจสอบหรือพิจารณาข้อโต้แย้งให้แล้วเสร็จ และเงื่อนไข
    ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนด
  • เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ให้นำความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๘
    มาใช้บังคับกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินด้วยโดยอนุโลม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานไต่สวน
    มีอำนาจตามมาตรา ๓๔ (๑) (๒) และ (๓) ด้วย

มาตรา ๑๑๑

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖ ให้คณ ะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยผล
    การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป การเปิดเผยดังกล่าวให้เปิดเผย
    ว่าผิดปกติหรือไม่
  • ในกรณีที่มีการเปิดเผยผลการตรวจสอบว่าไม่พบเหตุผิดปกติ การเปิดเผยเช่นนั้นไม่เป็นการตัดอำนาจ
    คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยของความถูกต้องหรือ
    ความมีอยู่จริงขึ้นในภายหลัง

มาตรา ๑๑๒

  • ในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจสั่งให้
    หน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงิน หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องหรือความมีอยู่จริง
    ตามที่ปรากฏในรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือทรัพย์สินหรือหนี้สินอื่นใด
    ที่มิได้แจ้งไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และแจ้งผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายในระยะเวลา
    ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยมิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามหน่วยงานใดเปิดเผยข้อมูล
    ในความครอบครองมาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลดังกล่าว

มาตรา ๑๑๓

  • ในกรณีที่ผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินพบว่า
    มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเพื่อร้องขอให้ทรัพย์สิน
    ตกเป็นของแผ่นดินต่อไป

มาตรา ๑๑๔

  • เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
    ผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความ
    อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มา
    แห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้นั้นทราบ และกำหนดระยะเวลาตามสมควรที่ผู้นั้นจะมาชี้แจงข้อกล่าวหา ทั้งนี้
    ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด แล้วนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.
    เพื่อพิจารณาต่อไป
  • กรณีตามวรรคหนึ่ง หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ
    ทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือ
    ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สิน
    หรือหนี้สิน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีเป็นบุคคลตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) และ (๙) ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้ ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีของบุคคลตามมาตรา ๑๐๒ (๙) ด้วย

(๒) กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๑๐๒ (๙) ให้เสนอเรื่อง
ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อวินิจฉัย

  • ในการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาตามวรรคสอง ให้นำความในมาตรา ๘๐ มาตรา ๘๑ และ
    มาตรา ๘๖ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
 
       
All right reserved      
admin@livinginthailand.lcom