Living in Thailand

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ


กลับไปหน้าแรก พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ปปช.  

     

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑


หมวด ๙

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

มาตรา ๑๔๑

  • ให้มีสำ นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ป.ป.ช.” เป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อ
    คณะกรรมการ ป.ป.ช.

มาตรา ๑๔๒

  • สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการ และดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. บรรลุภารกิจและหน้าที่
ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายอื่น

(๒) อำนวยความสะดวก ประสานงาน ให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ

(๓) ประสานงานและให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๔) ดำเนินการหรือจัดให้มีการรวบรวม วิเคราะห์ ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ
การทุจริตและประพฤติมิชอบและอันตรายของการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน
หรือชี้เบาะแส ตามกลไกที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดตามมาตรา ๓๓

(๖) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานของรัฐ หรือภาคเอกชน เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๗) จัดทำระบบสารสนเทศของข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุผู้รับผิดชอบและความคืบหน้าของการดำเนินการของแต่ละเรื่อง เพื่อกรรมการ
จะได้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

(๘) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย และตามที่กฎหมายบัญญัติ

  • ในการดำเนินการตาม (๖) สำนักงานต้องตอบข้อหารือภายในสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณี
    ที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาดังกล่าว ประธานกรรมการอาจขยาย
    ระยะเวลาออกไปตามที่จำเป็นได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

มาตรา ๑๔๓

  • ในการกำกับดูแลสำนักงาน ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจออกระเบียบ
    หรือประกาศในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว

(๒) การบริหารและจัดการการเงินและทรัพย์สิน การงบประมาณ และการพัสดุของสำนักงาน

(๓) การวางระเบียบว่าด้วยการจัดทำ การเปิดเผย การเผยแพร่ การเก็บรักษา และการทำลายเอกสาร
และข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ทั้งนี้ ในการเผยแพร่ข้อมูล
ให้จัดทำสำหรับคนพิการที่จะสามารถเข้าถึงได้ด้วย

(๔) วางระเบียบเก็บรักษาและบริหารจัดการพยานหลักฐานของกลางในคดีและทรัพย์สิน รวมทั้ง
การจำหน่าย การมอบหมายให้ผู้อื่นเก็บรักษา หรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว

(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายอื่น และ
ค่าตอบแทนของพยานบุคคลหรือผู้ซึ่งช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามคำร้องขอของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับ
มอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(๖) วางระเบียบเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะบุคคล
เพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ใช่การไต่สวน และกำหนด
เบี้ยประชุมให้แก่บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าว

(๗) วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดเบี้ยประชุมของคณะกรรมการไต่สวนตามมาตรา ๕๑
คณะกรรมการตามมาตรา ๓๓ วรรคสอง และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๓๓ วรรคสาม

  • การดำเนินการตาม (๑) ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความคล่องตัว
  • ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามและเมื่อได้ประกาศ
    ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๑๔๔

  • ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน
    ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่ง และค่าตอบแทนหรือ
สิทธิและประโยชน์อื่นของเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน

(๒) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การถอดถอน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การดำเนินการสอบสวนทางวินัย
การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
สำหรับเลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไข
ในการจ้างพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงาน

(๓) การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการ
ของสำนักงาน

(๔) วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดราชการประจำปี

(๕) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งเครื่องแบบของกรรมการ เลขาธิการ ข้าราชการ
พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน

(๖) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงาน รวมตลอดทั้งค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนอื่นให้แก่
บุคคลดังกล่าว

(๗) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ ข้าราชการ พนักงานราชการ และ
ลูกจ้างของสำนักงาน

(๘) การรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการสำนักงาน

  • การกำหนดตำแหน่งตาม (๑) อย่างน้อยต้องกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน
    และพนักงานไต่สวน โดยผู้ช่วยพนักงานไต่สวนและพนักงานไต่สวนต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
    ตามมาตรา ๑๔๖ (๑) ด้วย
  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอก
    ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ หรือด้านการงบประมาณ จำนวนไม่เกินสามคน
    ร่วมเป็นกรรมการ โดยให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งข้าราชการสำนักงาน
    จำนวนไม่เกินสามคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำกับดูแลหรือ
    พิจารณาคำร้องทุกข์หรือคำอุทธรณ์ที่เป็นอิสระ และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการใด ๆ
    ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือทำหน้าที่ในคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วย
    ระเบียบข้าราชการพลเรือนด้วยก็ได้ โดยมีองค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
    ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงานกำหนด
  • ในการออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึง
    ความเที่ยงธรรม ขวัญและกำลังใจของบุคลากร โดยเฉพาะการกำหนดตาม (๑) ต้องคำนึงถึงค่าครองชีพ
    และความเพียงพอในการดำรงชีพ และภาระความรับผิดชอบที่แตกต่างกันของข้าราชการ พนักงานราชการ
    และลูกจ้างแต่ละสายงานและระดับด้วย
  • ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนาม และเมื่อได้ประกาศ
    ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
  • ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับกับวินัยและการลงโทษทางวินัย
    แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยโดยอนุโลม
  • การปฏิบัติหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน และคณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
    ให้มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ แล้วแต่กรณี
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
    คำว่า “ก.พ.” ให้หมายถึง “คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน
    ป.ป.ช.” และคำว่า “ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อ
    นายกรัฐมนตรี” ให้หมายถึง “สำนักงาน ป.ป.ช.”

มาตรา ๑๔๕

  • ข้าราชการสำนักงาน ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ
    ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
  • ให้ข้าราชการสำนักงานเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
    และให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  • การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

มาตรา ๑๔๖

  • ตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
    โดยให้จำแนกประเภทตำแหน่งดังต่อไปนี้

(๑) ข้าราชการสำนักงาน สาขากระบวนการยุติธรรม ต้องเป็นผู้มีพื้นความรู้สำเร็จการศึกษา
ระดับตั้งแต่ปริญญาโททางกฎหมายขึ้นไป หรือสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายและปริญญาสาขาอื่น
อันจะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ทั้งนี้ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย หรือการดำเนินคดีในชั้นศาล ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

(๒) ข้าราชการสำนักงานประเภททั่วไป ให้จำแนกประเภทตำแหน่งตามสาขาอาชีพและตามภารกิจ
ของลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ โดยจะมีตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนด้วยก็ได้

  • ในส่วนของตำแหน่งทางบริหารตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    ประกาศกำหนด
  • คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะแต่งตั้งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้ดำรงตำแหน่ง
    ระดับผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าในสำนักงานให้เป็นหัวหน้าพนักงานไต่สวนด้วยก็ได้ ทั้งนี้
    ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

มาตรา ๑๔๗

  • มาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดตามมาตรา ๑๔๔ (๒) ต้องระบุด้วยว่าการฝ่าฝืน
    หรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษอย่างใด
  • ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าข้าราชการหรือลูกจ้างของสำนักงาน
    ผู้ใดกระทำการใดโดยไม่สุจริตหรือเอื้อประโยชน์หรือกลั่นแกล้งผู้ใดในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดำเนินการทางวินัย
    โดยเร็ว และในระหว่างนั้น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย้ายผู้นั้นให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือจากท้องที่
    ที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ทันที
  • ให้นำ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่เลขาธิการด้วยโดยอนุโลม โดยให้
    คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้พลางก่อนได้

มาตรา ๑๔๘

  • ให้สำนักงานมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงาน
    และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    จะกำหนดให้มีรองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เป็นผู้ช่วยสั่งและ
    ปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
  • วิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
  • เมื่อมีกรณีที่จะแต่งตั้งเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าให้คณะกรรมการ
    ป.ป.ช. เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

มาตรา ๑๔๙

  • เลขาธิการต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปฏิบัติหน้าที่และ
    ใช้อำนาจโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ เป็นกลาง มีจริยธรรมที่ดี และปราศจากอคติทั้งปวง และมีคุณวุฒิ
    ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของสำนักงานตามที่คณะกรรมการ
    ป.ป.ช. กำหนด
  • เลขาธิการมีวาระการดำ รงตำแหน่งห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้ดำ รงตำแหน่ง
    ได้เพียงวาระเดียว

มาตรา ๑๕๐

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเพราะขาดคุณสมบัติ
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔๔ (๒)

(๓) ลาออก

(๔) คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะไม่ผ่านการประเมิน ตามระเบียบหรือประกาศที่ออก
ตามมาตรา ๑๔๔ (๒)

  • กรณีที่เลขาธิการพ้นตำแหน่งตามวาระแต่ยังไม่พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
    ข้าราชการ หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระตามวรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) ให้บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่ง
    ที่ปรึกษาประจำสำนักงาน หรือตำแหน่งอื่นใดซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่า

มาตรา ๑๕๑

  • เลขาธิการมีหน้าที่และอำนาจควบคุมดูแลการปฏิบัติงานโดยทั่วไปของสำนักงาน
    ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้มีหน้าที่และอำนาจ
    ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) บรรจุ แต่งตั้ง โอน ถอดถอน เลื่อน เงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยข้าราชการ
พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงาน ตลอดจนให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง
ของสำนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามระเบียบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา ๑๔๔ (๒)

(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานเท่าที่ไม่ขัดกับระเบียบหรือประกาศหรือ
มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

(๓) หน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น
และตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

มาตรา ๑๕๒

  • ในกิจการของสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทน
    ของสำนักงาน เพื่อการนี้ เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติราชการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้
    ต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับการงบประมาณของสำนักงาน และ
    กิจการอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
    ให้เลขาธิการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก่อน

มาตรา ๑๕๓

  • ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนองบประมาณรายจ่ายเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุน
    ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ
    ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี
  • ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้ไม่เพียงพอ
    ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอคำ ขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณของ
    สภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรง
  • ในการเสนองบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้
    คณะรัฐมนตรีทราบถึงรายได้และทรัพย์สินที่มีอยู่ด้วย

มาตรา ๑๕๔

  • เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีหรือพระราชบัญญัติ
    งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามมาตรา ๑๕๓ ใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงานจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
    เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
  • การใช้จ่ายเงินของสำนักงานต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามวรรคหนึ่ง
    เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการเฉพาะกรณี
  • ในการเบิกงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ให้สำนักงานส่งข้อมูลคำ ขอเบิกงบประมาณ
    ต่อกรมบัญชีกลาง โดยให้ระบุจำนวนเงินที่จะต้องใช้ในแต่ละงวด งวดละสามเดือน และให้กรมบัญชีกลาง
    สั่งจ่ายเงินให้แก่สำนักงานภายในสามวันก่อนวันขึ้นงวดใหม่ แต่ในกรณีที่สำนักงานมีความจำเป็นต้องใช้เงิน
    มากกว่าที่ได้แจ้งไว้ในงวดใด ให้กรมบัญชีกลางจ่ายให้ตามที่สำนักงานร้องขอ

มาตรา ๑๕๕

  • ทรัพย์สินของสำ นักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและผู้ใด
    จะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้มิได้

มาตรา ๑๕๖

  • ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการ ส่งผู้สอบบัญชีภายใน
    เก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
  • ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงาน โดยให้ทำการตรวจสอบรับรองบัญชี
    และการเงินทุกประเภทของสำนักงาน โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย มีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ และคุ้มค่าเพียงใดแล้วทำรายงานเสนอ
    ผลการสอบบัญชีต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๑๕๗

  • ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
    และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
    ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้กรรมการ กรรมการไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน
    พนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ มี ใช้ และพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ยุทธภัณฑ์ และ
    อุปกรณ์เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ การมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
    ยุทธภัณฑ์ และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

มาตรา ๑๕๘

  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองขึ้นไป ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน
    พนักงานไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีตำแหน่งและหน้าที่เกี่ยวกับ
    การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยัง
    ไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น
    ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สิน
    และหนี้สิน ในการตรวจสอบดังกล่าว เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลและเป็นการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์
    ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดระเบียบมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบบัญชี
    ทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการเฉพาะก็ได้
  • ให้นำความในมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับกับการดำเนินคดีกับบุคคลตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๕๙

  • เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลและเป็นการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์
    เมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริต
    ต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะดำเนินการไต่สวน
    และวินิจฉัยเอง หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนก็ได้
  • คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องพิจารณาและวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน
    นับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวน

มาตรา ๑๖๐

  • เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับแจ้งจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินว่า ผู้ว่าการ
    ตรวจเงินแผ่นดินได้ดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินแล้วมีหลักฐาน
    อันควรเชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานมีพฤติการณ์อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือ
    ใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายแล้ว หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นว่า การไต่สวนเบื้องต้นของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
    คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะแจ้งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินยุติการดำเนินการและ
    ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนเองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
    ต่อไปก็ได้ และเมื่อดำเนินการเป็นประการใดแล้วให้แจ้งให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
  • ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการไต่สวนเบื้องต้นต่อไป
    เมื่อผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้ส่งสำ นวนการไต่สวนเบื้องต้นให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว
    ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาวินิจฉัยโดยให้ถือสำนวนการไต่สวนเบื้องต้น เอกสารและหลักฐาน
    ที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจัดทำขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

มาตรา ๑๖๑

  • ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำ
    จังหวัด เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด” เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงาน มีหน้าที่และ
    อำนาจเกี่ยวกับการตรวจสอบเบื้องต้น การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
    และหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานกำหนด แต่ไม่รวมถึงหน้าที่และ
    อำนาจในการไต่สวนเบื้องต้น เว้นแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติมอบหมายให้ดำเนินการไต่สวนเบื้องต้น
    เฉพาะกรณี โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด
  • เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการสำนักงานให้จัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคตามจำนวน
    ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสิบสองภาค และให้มีหัวหน้าสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค
    เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเลขาธิการ
  • สำนักงาน ป.ป.ช. ภาคมีหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนเบื้องต้น กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของ
    สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด และมีหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานกำหนด
 
       
All right reserved      
admin@livinginthailand.lcom