Living in Thailand

พระราชบัญญัติ

 
start page living live in            

พระราชบัญญัติ การดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมวด ๒
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ


มาตรา ๑๔

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๘ วรรคสามและวรรคสี่ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน
    ประกอบด้วยคณะกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยแต่ละคณะ
    ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการปฏิรูปคนหนึ่ง และกรรมการปฏิรูปจำนวนไม่เกินสิบสามคน
    ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านที่จะดำเนิน
    การปฏิรูป โดยคำนึงถึงความหลากหลายของผู้มีประสบการณ์ในภาครัฐ ภาคเอกชน
    หรือภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
  • ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการปฏิรูปและเลขานุการคนหนึ่งตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการ
    และให้เลขาธิการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความเหมาะสม
  • กรรมการปฏิรูปต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี

มาตรา ๑๕

  • กรรมการปฏิรูปมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี
  • ให้กรรมการปฏิรูปซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า
    กรรมการปฏิรูปซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
  • กรรมการปฏิรูปซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๑๖

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการปฏิรูปพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคสาม

(๔) ดำเนินการตามมาตรา ๑๑ ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา

(๕) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ

มาตรา ๑๗

  • ให้มีการประชุมร่วมกันของประธานกรรมการปฏิรูปทุกคณะ เพื่อพิจารณาแผนการปฏิรูป
    ประเทศแต่ละด้านให้เกิดการบูรณาการและสอดคล้องกับแผนแม่บท และดำเนินการอื่น
    ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ โดยให้กรรมการยุทธศาสตร์ชาติซึ่งคณะกรรมการ
    ยุทธศาสตร์ชาติมอบหมายเป็นประธานของที่ประชุมร่วม
  • ให้เลขาธิการเป็นเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความเหมาะสม
  • ประธานกรรมการปฏิรูปตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงประธานคณะกรรมการตามมาตรา ๘ วรรคสี่

มาตรา ๑๘

  • เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ให้ที่ประชุมร่วมมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศโดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา ๑๑ (๑)

(๓) กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ
แผนการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผล
การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ และมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน
ทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ

(๔) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอแนะต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ

(๕) กำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้หน่วยงาน
ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศใช้ในการประเมินผล

(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย

มาตรา ๑๙

ให้คณะกรรมการปฏิรูปมีอำ นาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วย
คณะกรรมการปฏิรูปในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๓) ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปกำหนด

มาตรา ๒๐

การประชุมของที่ประชุมร่วม คณะกรรมการปฏิรูป และคณะอนุกรรมการ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมร่วมกำหนด

มาตรา ๒๑

  • ให้ประธานของที่ประชุมร่วม ประธานกรรมการปฏิรูป กรรมการปฏิรูป
    และอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่
    คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๒

  • ในกรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปจำเป็นต้องได้ข้อมูลหรือมีการศึกษาเรื่องใด
    จะขอให้สำนักงานจ้างบุคคล สถาบันการศึกษา หรือสถาบันที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย
    เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าวก็ได้
  • วิธีการจ้าง ค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอื่นของบุคคลหรือสถาบันตามวรรคหนึ่ง
    ให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมร่วมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

มาตรา ๒๓

  • ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่
    สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูป โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการปฏิรูปและคณะอนุกรรมการ

(๒) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลและความเห็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณากำหนด
แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาข้อมูลเพื่อสนับสนุน
งานด้านวิชาการให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปและคณะอนุกรรมการ

(๓) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) ดำเนินการให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตามมาตรา ๑๑
วรรคสอง

(๕) เผยแพร่แผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อน
แผนการปฏิรูปประเทศ

(๖) รับผิดชอบในการดำเนินการให้มีการประเมินผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูป
ประเทศและการจัดทำรายงานตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ วรรคสอง

(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการปฏิรูป
หรือที่ประชุมร่วมมอบหมายในการดำเนินการตาม (๒) ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม

 
 
     
     
     
All Rights Reserved admin@livinginthailand.com