Living in Thailand

พระราชบัญญัติ

 
start page living live in            

พระราชบัญญัติ การดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมวด ๑
การปฏิรูปประเทศ


มาตรา ๕

  • การปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่บัญญัติไว้
    ในรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

(๑) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ

(๒) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ

(๓) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
และการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การปฏิรูปประเทศต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ

มาตรา ๖

  • ให้มีแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อกำ หนดกลไก วิธีการ และขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศใน
    ด้านต่าง ๆ แต่ละด้านตามมาตรา ๘ รวมทั้งผลอันพึงประสงค์ของการปฏิรูปประเทศในด้านนั้น ๆ
    ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศ
  • การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน จะทำเป็นแผนเดียวกันหรือแยกเป็นแผนแต่ละด้าน
    หรือหลายด้านรวมกันก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับแผนแม่บท และเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก
    คณะรัฐมนตรีและรายงานต่อรัฐสภาเพื่อทราบแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    และใช้บังคับต่อไป
  • หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้
    การปฏิรูปประเทศบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศ
  • ให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะกำกับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย
    ดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคสาม
  • ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ
    หรือองค์กรอัยการ การกำกับดูแลตามวรรคสี่ ให้หมายความถึงการประสาน การปรึกษา
    หรือเสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าว

มาตรา ๗

  • แผนการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(๑) แผน ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการปฏิรูปประเทศ และผลอันพึงประสงค์ในด้านที่จะ
ดำเนินการปฏิรูป ซึ่งต้องสอดคล้องกับผลที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ชาติ

(๒) กำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการในแต่ละขั้นตอนตามลำดับในลักษณะที่เป็นการบูรณาการ
และตัวชี้วัดผลการดำเนินการปฏิรูปประเทศในแต่ละด้าน

(๓) การกำหนดหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินการตาม (๑) และ (๒)

(๔) วงเงินที่คาดว่าจะใช้ในการดำเนินการปฏิรูปประเทศในแต่ละด้านหรือแต่ละเรื่อง
ตามมาตรา ๘ แล้วแต่กรณี รวมตลอดทั้งประมาณการของแหล่งที่มาของเงิน

(๕) ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการปฏิรูปประเทศที่คาดหวังว่าจะบรรลุภายในระยะเวลาห้าปี

(๖) การเสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามแผนการปฏิรูป
ประเทศ

  • การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาความเร่งด่วนของการปฏิรูปประเทศ
    ในแต่ละด้านเพื่อกำหนดลำดับขั้นตอนในการปฏิรูปประเทศ และต้องคำนึงถึงความพร้อม
    ทางด้านบุคลากรและการเงินการคลังของประเทศด้วย

มาตรา ๘

  • ให้จัดทำแผนการปฏิรูปประเทศในด้าน ดังต่อไปนี้

(๑) ด้านการเมือง

(๒) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

(๓) ด้านกฎหมาย

(๔) ด้านกระบวนการยุติธรรม

(๕) ด้านการศึกษา

(๖) ด้านเศรษฐกิจ

(๗) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๘) ด้านสาธารณสุข

(๙) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

(๑๐) ด้านสังคม

(๑๑) ด้านอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

  • ที่ประชุมร่วมโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจะแยกด้านตามวรรคหนึ่ง นอกจากด้านตาม (๕)
    ออกเป็นเรื่องต่าง ๆ ก็ได้
  • ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้านเพื่อทำหน้าที่จัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ
    ตามวรรคหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย ในกรณี
    ที่มีการแยกด้านใดออกเป็นเรื่องตามวรรคสอง ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศสำหรับเรื่อง
    นั้นเป็นคณะแยกจากกัน
  • ในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
    ตามมาตรา ๒๕๘ ง. (๔) และด้านการศึกษาตามมาตรา ๒๕๘ จ. ด้านการศึกษา ของรัฐ
    ธรรมนูญ ให้คณะกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา ๒๖๐ หรือมาตรา ๒๖๑
    ของรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี เป็นผู้ดำเนินการ
  • การจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
    และเงื่อนไขที่ที่ประชุมร่วมกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
    ทั้งนี้ อย่างน้อยต้องกำหนดเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐ
    ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของ
    องค์กรฝ่ายตุลาการมาใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศใน
    ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรฝ่ายตุลาการด้วย

มาตรา ๙

  • ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศด้านอื่นใดตามมาตรา ๘
    (๑๑) ให้ส่งเรื่องให้ที่ประชุมร่วมกำหนดผลอันพึงประสงค์ของการปฏิรูปประเทศในด้าน
    ดังกล่าว และดำเนินการตามมาตรา ๑๑ ต่อไป

มาตรา ๑๐

  • การปฏิรูปประเทศในแต่ละด้านให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตามมาตรา ๘

(๒) ให้ที่ประชุมร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ
ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตาม (๑) แล้วเสนอ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในสิบห้าวัน และ

(๓) ให้เริ่มดำเนินการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศตามกระบวนการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน
มาตรา ๑๑

มาตรา ๑๑

  • การจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะกรรมการปฏิรูปจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศในด้านที่รับผิดชอบให้แล้วเสร็จ
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๐ (๒) แล้วเสนอที่ประชุมร่วมพิจารณา
ให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวัน

(๒) เมื่อที่ประชุมร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนการปฏิรูปประเทศแล้ว ให้เสนอ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
ซึ่งต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง

(๓) ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอร่างแผนการปฏิรูปประเทศที่ผ่านการพิจารณาแล้ว
ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวัน และดำเนินการตามมาตรา ๖
วรรคสองต่อไป

  • ในการดำเนินการตาม (๑) ให้คณะกรรมการปฏิรูปเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ
    การปฏิรูปประเทศในด้านนั้น เข้าร่วมชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการดำเนินการ
    รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและ
    แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะได้โดยสะดวกและทั่วถึง ทั้งนี้ ต้องมีการแสดงข้อมูลที่เพียงพอ
    แก่การที่ประชาชนจะเข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย
  • ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปคณะใดภายหลังพ้นกำหนดเวลาตาม
    มาตรา ๑๐ (๒) การนับเวลาตามที่กำหนดไว้ใน (๑) ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง
    คณะกรรมการปฏิรูปคณะนั้น
  • ระยะเวลาการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะ
    ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้ตามความจำเป็น

มาตรา ๑๒

  • การปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมและด้านการศึกษาตามมาตรา ๘ วรรคสี่
    ให้คณะกรรมการตามมาตราดังกล่าวดำเนินการโดยอิสระตามแนวทางที่เห็นสมควร และให้ส่ง
    ข้อเสนอแนะหรือร่างกฎหมายในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อดำเนินการตามมาตรา ๒๕๘ ง.
    ด้านกระบวนการยุติธรรม (๔) หรือ จ. ด้านการศึกษา ของรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เพื่อให้
    คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
    และยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนความสอดคล้อง และบูรณาการ
    กับแผนการปฏิรูปประเทศด้านอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย และเมื่อ
    คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตาม
    ข้อเสนอแนะดังกล่าวโดยพลัน ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่มาตรา ๒๖๐ หรือมาตรา ๒๖๑ ของรัฐธรรมนูญ
    บัญญัติไว้ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๑๓

  • ในกรณีมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านใดเพราะมีการแก้ไขเพิ่มเติม
    ยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บทหรือเพราะเหตุอื่นใด ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการ ปฏิรูป
    ด้านนั้นดำเนินการแก้ไขปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านนั้นโดยเร็ว โดยให้นำความใน
    มาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  • การแก้ไขปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับผลตามที่บัญญัติ
    ไว้ในมาตรา ๒๕๘ ของรัฐธรรมนูญ

 
 
     
     
     
All Rights Reserved admin@livinginthailand.com