Living in Thailand    
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔
Living in Thailand - หน้าแรก living travel

หมวด ๑
บททั่วไป

มาตรา ๙

  • ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจจัดและควบคุมดูแลการออกเสียงให้เป็นไป
    โดยสุจริต เที่ยงธรรม เสรี เสมอภาค และชอบด้วยกฎหมาย
    การออกเสียงตามพระราชบัญญัตินี้ มีดังต่อไปนี้

(๑) การออกเสียงเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่มีบทบัญญัติกำหนดไว้
ในรัฐธรรมนูญ

(๒) การออกเสียงกรณีเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีเหตุอันสมควร

(๓) การออกเสียงตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการออกเสียง

(๔) การออกเสียงในกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มี
การออกเสียงและได้แจ้งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ

(๕) การออกเสียงกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
ในการออกเสียง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

  • การออกเสียงในเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้
    จะกระทำมิได้
  • ในกรณีที่จะต้องดำเนินการออกเสียงตามวรรคสอง เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการออกเสียง
    หรือเมื่อประธานรัฐสภาแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้วแต่กรณี ให้นายกรัฐมนตรีประกาศใน
    ราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงตามวันที่กำหนดตามที่ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการ

มาตรา ๑๐

  • เมื่อมีกรณีที่จะต้องจัดให้มีการออกเสียงตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
    แห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙ (๑)
    ให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ให้มีการออกเสียงตามวันที่กำหนดตามที่ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวัน
    และไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา
  • ในการแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
    เพิ่มเติมและสาระสาคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมโดยสรุปในลักษณะที่ประชาชนจะสามารถเข้าใจ
    เนื้อหาสาคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยสะดวกให้นายกรัฐมนตรีทราบพร้อมกับส่งให้
    คณะกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไปด้วย

มาตรา ๑๑

  • เมื่อมีกรณีที่จะต้องจัดให้มีการออกเสียงตามมาตรา ๙ (๔) ให้ประธานรัฐสภา
    แจ้งมติเห็นชอบของแต่ละสภาให้นายกรัฐมนตรีทราบ ในการแจ้งดังกล่าวให้ส่งสาระสาคัญของเรื่องที่จะ
    ขอทำประชามติในลักษณะที่ประชาชนจะสามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญได้โดยสะดวกให้นายกรัฐมนตรี
    ทราบด้วย
  • หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนดตามมาตรา ๙ (๕) อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด
    เกี่ยวกับจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน ส่วนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการถูก
    จำกัดสิทธิของผู้มีสิทธิเข้าชื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๔
  • เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรตามมาตรา ๑๖๖
    ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการที่จะให้มีการออกเสียงตามมาตรา ๙ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕)
    ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงตามวันที่กำหนดตามที่ได้หารือร่วมกับ
    คณะกรรมการ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวันและไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
    เว้นแต่กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นในทางงบประมาณหรือเหตุจำเป็นอันมิอาจ
    หลีกเลี่ยงได้ คณะรัฐมนตรีอาจกาหนดวันแตกต่างจากที่กำหนดไว้ได้ ในปร ะกาศดังกล่าวต้องระบุ
    เรื่องที่จะขอให้ประชาชนออกเสียงประชามติ โดยมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียง
    เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติได้โดยสะดวก

มาตรา ๑๒

  • การออกเสียงให้ใช้วิธีลงคะแนนออกเสียงโดยตรงและลับ
  • การออกเสียงให้กระทำโดยใช้บัตรออกเสียง หรือคณะกรรมการอาจกำหนดให้กระทำโดยวิธี
    ลงคะแนนออกเสียงทางไปรษณีย์ หรือออกเสียงโดยเครื่องลงคะแนนออกเสียงอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
    ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโดยวิธีอื่น โดยวิธีการนั้นสามารถป้องกันการทุจริตได้อย่าง
    มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก และอาจใช้วิธีลงคะแนนวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี และ
    ใช้ในเขตออกเสียงใดเขตออกเสียงหนึ่งหรือหลายเขตออกเสียง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
    เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๑๓

  • การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้
    สิทธิออกเสียงเป็นจานวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้
    สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

     
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔
     
     
 
 
   
     
     
     
All Rights Reserved  
adming@livinginthailand.com