มาตรา ๕
- ให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็น
พลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติซึ่ง
จะต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบปี
- การประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติให้ทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ และหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ
- การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้าบริหารราชการ
แผ่นดิน การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่า
ด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนอื่นใด รวมตลอดทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติิ
- ให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะกำกับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย
ดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคสองและวรรคสาม
- ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ
หรือองค์กรอัยการ การกำกับดูแลตามวรรคสี่ ให้หมายความถึงการประสาน การปรึกษา
หรือเสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าว
มาตรา ๖
- ยุทธศาสตร์ชาติอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
(๒) เป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว กำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมาย และตัวชี้วัดการบรรลุเป้าหมาย
(๓) ยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ
- เป้าหมายการพัฒนาประเทศตาม (๒) อย่างน้อยต้องมีเป้าหมายในด้านความมั่นคงของ
ประเทศด้านคุณภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านบทบาทของรัฐที่มีต่อประชาชน
มาตรา ๗
- การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติ ความต้องการและความจำเป็นในการ
พัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก
ธรรมาภิบาล และเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ โดยให้ดำเนินการตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(๑) มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
(๒) วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้านทั้งในประเทศและต่างประเทศ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด รวมทั้งความเสี่ยงของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
(๓) การให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน
- การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาวตามมาตรา ๖ (๑) และ (๒)
ต้องมีความชัดเจนเพื่อให้เห็นภาพในอนาคตของประเทศ โดยเป็นกรอบอย่างกว้างที่ยืดหยุ่นตาม
การเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องกำหนดระยะเวลาการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละ
ช่วงเวลา รวมทั้งมีการระบุตัวชี้วัดการบรรลุเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน
มาตรา ๘
- ในกระบวนการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ ให้คณะกรรมการจัดให้ประชาชน
ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(๑) การรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นเพื่อนำมาใช้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
(๒) การรับฟังความคิดเห็นเมื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ แล้วเสร็จเบื้องต้น
เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง
- การรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องใช้วิธีการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะได้โดยสะดว
และทั่วถึง และต้องมีการแสดงข้อมูลที่เพียงพอแก่การที่ประชาชนจะเข้าใจและสามารถ
แสดงความคิดเห็นได้ด้วย
มาตรา ๙
- เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเสร็จแล้ว ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องใด ให้ส่งคืนคณะกรรมการ ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร แล้วส่งให้คณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
- ให้คณะรัฐมนตรีนำร่างยุทธศาสตร์ชาติที่ได้รับจากคณะกรรมการหรือที่คณะกรรมการแก้ไข
เพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งแล้ว เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่าง
ยุทธศาสตร์ชาติ
- ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติและลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้แล้ว
เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติ และให้วุฒิสภาพิจารณาและลง
มติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้
รับร่างจากสภาผู้แทนราษฎร
- ถ้าสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ชาติไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด
เวลาตามวรรคสาม ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี ได้ให้ความเห็น
ชอบในร่างยุทธศาสตร์ชาติที่คณะรัฐมนตรีเสนอ
- ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ให้ร่างยุทธศาสตร์ชาติเป็นอันตกไป และให้คณะกรรมการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์
ชาติขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ
แต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ โดยให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ เว้นแต่ระยะเวลาหกสิบวันและสามสิบวันตามวรรคสาม
ให้ลดเหลือสามสิบวันและสิบห้าวัน แล้วแต่กรณี
- ร่างยุทธศาสตร์ชาติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำ ขึ้น
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวัน เพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ
มาตรา ๑๐
- เมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ให้คณะกรรมการ
จัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละด้านจัดทำแผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ใน
ยุทธศาสตร์ชาติเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
- แผนแม่บทและแผนการปฏิรูปประเทศตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการ
ปฏิรูปประเทศต้องมีความสอดคล้องกัน
- แผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ให้มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้งการจัด
ทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทด้วย
- ในกรณีที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บท ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ให้คณะกรรมการ จัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีก่อน
และเมื่อคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว จึงดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
มาตรา ๑๑
- ให้คณะกรรมการจัดให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุกห้าปีหรือในกรณีที่สถานการณ์ของโลก หรือสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถ หรือไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการตาม เป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งด้านใดได้
หากคณะกรรมการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้คณะกรรมการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนดำเนินการ
- เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ให้คณะกรรมการ
ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ และเมื่อได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วให้ถือเป็น
ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ
|