Living in Thailand  
index Living Travel

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖
ระเบียบกรมราชทัณฑ์
ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน
พ.ศ. ๒๕๖๖

ลักษณะ ๙
วินัยผู้ถูกกักกัน


ข้อ ๑๒๓

  • ผู้ถูกกักกันผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ระเบียบ คำสั่ง
    ข้อบังคับสถานกักกัน ระเบียบกรมราชทัณฑ์ หรือระเบียบของทางราชการ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทาผิดวินัย

ข้อ ๑๒๔

  • ผู้ถูกกักกันกระทาผิดวินัยให้ลงโทษสถานหนึ่งหรือหลายสถาน ดังต่อไปนี้

(๑) ภาคทัณฑ์

(๒) ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อไม่เกิน 1 เดือน เว้นแต่เป็นกรณี
การติดต่อกับทนายความตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นการติดต่อของผู้ถูกกักกันหญิงกับบุตรผู้เยาว์

(๓) แยกกักกันไว้ในสถานที่อันจำกัดภายในเขตของสถานกักกันได้ไม่เกินครั้งละ ๑๕ วัน

ข้อ ๑๒๕

  • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นหรือทราบว่าผู้ถูกกักกันกระทำผิดวินัย ให้ทำบันทึก
    รายงานพฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวหา หรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิด ชื่อตัว และชื่อสกุล
    ของผู้กระทำผิด วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่มีหรือรวบรวมได้
    เสนอผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปทราบ และเสนอผู้อำนวยการสถานกักกันพิจารณา

ข้อ ๑๒๖

  • เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันได้รับบันทึกรายงานพฤติการณ์ตามข้อ ๑๒๕ แล้ว
    ให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานกักกันจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน เพื่อสอบสวนการกระทำผิดวินัย
    เว้นแต่การกระทำผิดนั้นมีกระบวนการในการพิจารณาลงโทษเป็นการเฉพาะ

ข้อ ๑๒๗

  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๑๒๖ แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกักกัน
    ซึ่งถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งสอบถามว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ และให้จัดทำบันทึกคำให้การ
    ดังกล่าวไว้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกักกันชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานมาแสดง
    เพื่อประกอบคำให้การต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ โดยให้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเสนอ
    ความเห็นต่อผู้อำนวยการสถานกักกันถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดวินัย รวมทั้งโทษที่จะลงแก่ผู้ถูกกักกัน
  • การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานกักกันดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา
    ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ และผู้ถูกกักกันเป็นสำคัญ

ข้อ ๑๒๘

  • ผู้อำนวยการสถานกักกันมีอำนาจลงโทษทางวินัยผู้ถูกกักกันซึ่งกระทำผิดวินัย
    ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๑๒๓ โดยคำสั่งลงโทษทางวินัยให้มีผลนับแต่วันที่ผู้ถูกกักกันได้รับแจ้งคำสั่ง

ข้อ ๑๒๙

  • ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ถูกกักกันซึ่งจะได้รับโทษหรืออยู่ระหว่าง
    การลงโทษทางวินัยตามข้อ ๑๒4 เจ็บป่วยหรือมีเหตุจาเป็นอื่นใดที่สมควรเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด
    หรือชะลอการบังคับโทษ ให้รายงานไปยังผู้อำนวยการสถานกักกัน
  • เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง อาจเรียกพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ถูกกักกัน
    มาชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด หรือชะลอการบังคับโทษก็ได้
    และเมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันได้พิจารณาและมีคาสั่งประการใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานกักกันปฏิบัติ
    ตามคำสั่งและบันทึกเหตุแห่งการเพิกถอน เปลี่ยนแปลง งด หรือชะลอการบังคับโทษ
  • คำสั่งของผู้อำนวยการสถานกักกันตามวรรคสองให้เป็นที่สุด

ข้อ ๑๓๐

  • ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันภาคทัณฑ์ผู้ถูกกักกันซึ่งกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
    และได้สำนึกถึงความผิดที่ได้กระทำไปแล้ว
  • การภาคทัณฑ์ตามวรรคหนึ่งเมื่อออกคำสั่งเป็นหนังสือแล้ว ให้เรียกตัวผู้ถูกกักกันมาว่ากล่าวสั่งสอน
    ให้ประพฤติตัวอยู่ในวินัย

ข้อ ๑๓๑

  • ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อ
    กับบุคคลภายนอกแก่ผู้ถูกกักกันซึ่งกระทาผิด ดังต่อไปนี้

(๑) ประพฤติผิดระเบียบหรือข้อบังคับอันมีไว้สำหรับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อ
กับบุคคลภายนอก

(๒) นำสิ่งของซึ่งมิใช่ของตนเข้าหรือออกจากสถานกักกัน โดยไม่ได้รับอนุญาต

(๓) ทำให้เกิดเหตุติดขัดในกิจการงานของสถานกักกันและกิจกรรมของผู้ถูกกักกันอื่น

(๔) ละทิ้งหรือเพิกเฉยต่อการงานอันเป็นหน้าที่

ข้อ ๑๓๒

  • ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันแยกกักกันผู้ถูก กักกันไว้ในสถานที่อันจำกัด
    ภายในเขตสถานกักกันได้ไม่เกินครั้งละ ๑๕ วัน แก่ผู้ถูกกักกันซึ่งได้กระทำผิด ดังต่อไปนี้

(๑) เล่นการพนัน

(๒) ทะเลาะวิวาท

(๓) เสพยาเสพติด ดื่มสุราหรือของมึนเมาทุกชนิด

(๔) กระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนหรือผู้ได้รับประโยชน์
จากสิ่งของดังกล่าว

(๕) พยายามหลบหนีหรือหลบหนีไปแล้วแต่ได้ตัวกลับคืนมา

(๖) พยายามทาร้ายหรือทาร้ายร่างกายผู้อื่น

(๗) กระด้างกระเดื่องหรือขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๘) ทาให้ทรัพย์สินของทางราชการหรือของผู้อื่นเสียหาย

(๙) ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น รวมทั้งอุปกรณ์
สำหรับสิ่งของดังกล่าว

  • ผู้ถูกกักกันซึ่งถูกลงโทษทางวินัยตามวรรคหนึ่ง ห้ามพบปะติดต่อกับบุคคลภายนอก
    ภายในระยะเวลาที่ต้องแยกกักกันนั้นด้วย เว้นแต่เป็นกรณีการติดต่อกับทนายความตามที่กฎหมายกำหนด
    หรือเป็นการติดต่อของผู้ถูกกักกันหญิงกับบุตรผู้เยาว์

ข้อ ๑๓๓

  • ถ้ามีการกระทำผิดอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน
    พิจารณาลงโทษทางวินัยตามที่เห็นสมควร

ข้อ ๑๓๔

  • เมื่อผู้ถูกกักกันได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัยแล้ว ไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง
    โดยยื่นหนังสือต่อผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกักกันได้รับแจ้งคำสั่ง
  • การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษของผู้อำนวยการ
    สถานกักกัน

ข้อ ๑๓๕

  • การออกคำสั่งลงโทษทางวินัย การเพิกถอน การอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์
    และการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คาสั่งลงโทษทางวินัย ให้นำความในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
    มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๓๖

  • กรณีที่มีการเพิกถอนคำสั่งลงโทษผู้ถูกกักกันซึ่งกระทำผิดวินัย ให้ผู้อำนวยการ
    สถานกักกัน ดำเนินการเยียวยาผู้ถูกกักกันซึ่งถูกลงโทษ ดังต่อไปนี้

(๑) โทษตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียน ให้จัดวันเยี่ยมเยียนทดแทนนอกจาก
วันเยี่ยมเยียนปกติเท่ากับจำนวนวันที่ถูกตัด

(๒) โทษแยกกักกัน ให้จัดให้ได้รับการเยี่ยมเยียนเพิ่มขึ้นนอกจากวันเยี่ยมเยียนปกติ
เป็นจำนวนสองเท่าของวันที่ถูกแยกกักกัน หรือเพิ่มระยะเวลาการเยี่ยมเยียนเป็นสองเท่าของระยะเวลา
ตามปกติ

  • เมื่อเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยแล้ว ให้บันทึกการเพิกถอนคำสั่งในทะเบียนประวัติ
    ผู้ถูกกักกันคนนั้น และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เป็นผลจากการถูกลงโทษนั้นคืนด้วย

ข้อ ๑๓๗

  • ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันได้กระทำความผิดอาญาขึ้นภายในสถานกักกันและความผิดนั้น
    เป็นความผิดลหุโทษ ความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ของสถานกักกัน หรือความผิดฐานพยายามหลบหนีที่กักกัน
    ให้ผู้อานวยการสถานกักกันมีอานาจวินิจฉัยลงโทษฐานผิดวินัยตามระเบียบนี้ และจะนำเรื่องขึ้นเสนอ
    ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนหรือฟ้องร้องตามกฎหมายด้วยก็ได้
  • ความผิดตามวรรคหนึ่งที่ผู้อำนวยการสถานกักกันจะใช้อำนาจวินิจฉัยลงโทษทางวินัย
    ได้แก่ความผิด ดังต่อไปนี้

(๑) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้

(ก) มาตรา ๓๖๗ ฐานไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่หรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ
เมื่อเจ้าพนักงานถาม

(ข) มาตรา ๓๖๘ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้
โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร

(ค) มาตรา ๓๖๙ ฐานกระทำให้ประกาศหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานปิดไว้ฉีกหรือไร้ประโยชน์

(ง) มาตรา ๓๗๐ ฐานส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(จ) มาตรา ๓๗๙ ฐานแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้

(ฉ) มาตรา ๓๘๓ ฐานไม่ช่วยระงับเพลิงไหม้เมื่อเจ้าพนักงานเรียกให้ช่วย

(ช) มาตรา ๓๘๔ ฐานแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นตกใจ

(ซ) มาตรา ๓๘๘ ฐานเปลือยหรือเปิดเผยร่ายกายหรือกระทำการลามกอันควรขายหน้า
ต่อหน้าธารกำนัล

(ฌ) มาตรา ๓๙๐ ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(ญ) มาตรา ๓๙๑ ฐานใช้กาลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
แก่กายหรือจิตใจ

(ฎ) มาตรา ๓๙๒ ฐานทำให้ผู้อื่นกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญ

(ฏ) มาตรา ๓๙๓ ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา

(ฐ) มาตรา ๓๙๗ ฐานรังแกข่มเหงคุกคามหรือทาให้ผู้อื่นอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ

(๒) กระทำความผิดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2510 ยกเว้นข้อ 7 (1) (6) และ (7)
ความในข้อนี้ไม่ตัดสิทธิของเอกชนที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งตามกฎหมาย

ข้อ ๑๓๘

  • กรณีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของสถานกักกัน ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน
    มีอำนาจวินิจฉัยลงโทษฐานผิดวินัยโดยไม่จำต้องดำเนินคดีอาญา เฉพาะในกรณีที่ผู้ถูกกักกันกระทำผิด
    ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนตามความเสียหายแล้วเท่านั้น เว้นแต่กรณีการทำให้เสียหาย ทำลาย
    ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ด้วยวิธีการเผา ทุบ ทาลาย ให้สถานกักกันดำเนินคดีอาญา
    แก่ผู้ถูกกักกันนั้นด้วย
  • หากความเสียหายของทรัพย์สินของสถานกักกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำโดยความจงใจ
    หรือความประมาทของผู้ถูกกักกัน นอกจากจะดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ถูกกักกันตามที่กาหนดในระเบียบนี้แล้ว
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรียกร้องให้ผู้ถูกกักกันนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้นด้วย
 
ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
อายุตม์ สินธพพันธุ์
อธิบดีกรมราชทัณฑ์
 
     
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com