Living in Thailand  
index Living Travel

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖
ระเบียบกรมราชทัณฑ์
ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน
พ.ศ. ๒๕๖๖

ลักษณะ ๖
หมวด ๔
การรักษาพยาบาล


ข้อ ๙๖

  • เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ถูกกักกันคนใดป่วย
    มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นโรคติดต่อ ให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล
    ของสถานกักกันโดยเร็ว ถ้าผู้ถูกกักกันคนนั้นต้องได้รับการบำบัดรักษาเฉพาะด้านหรือถ้าคงรักษาพยาบาล
    อยู่ในสถานกักกันจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรับการรักษาในสถานบำบัดรักษา
สำหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของรัฐ นอกสถานกักกัน
ตามที่แพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาลเสนอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
พาผู้ถูกกักกันคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน

(๒) เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรับการรักษานอกสถานกักกัน
ตาม (๑) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไว้รักษา
ในสถานบำบัดรักษาสาหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตของรัฐ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งพาผู้ถูกกักกันคนนั้นไปตรวจรักษา ขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์
ผู้ทำการตรวจรักษาประกอบการจัดทารายงานเสนอผู้อำนวยการสถานกักกันพิจารณา ถ้าผู้อำนวยการ
สถานกักกันเห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้มีคาสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา

(๓) กรณีผู้อำนวยการสถานกักกันไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาตาม (๒)
หรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
นาตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในสถานกักกัน และจัดการช่วยเหลือประการอื่นเท่าที่จำเป็น
แล้วรายงานอธิบดีโดยเร็ว พร้อมกับสำเนาความเห็นของแพทย์และสำเนาหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๔) กรณีที่ผู้อำนวยการสถานกักกันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม (๒)
อาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำรายงานเพิ่มเติม หรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่คนอื่นหรือตั้งคณะทำงาน
เพื่อตรวจสอบและทารายงานก็ได้

ข้อ ๙๗

  • การส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษาตัวนอกสถานกักกัน ให้ผู้อานวยการสถานกักกัน
    พิจารณาสถานบาบัดรักษาสำหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษา
    ทางสุขภาพจิตของรัฐ ตามสิทธิการรักษาของผู้ถูกกักกันและอยู่ในพื้นที่ที่สามารถส่งตัวผู้ถูกกักกัน
    ไปรักษาได้เป็นลำดับแรก เว้นแต่แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษา
  • ในโรงพยาบาลเอกชนเพราะสถานที่รักษาของรัฐดังกล่าวขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการรักษาผู้ถูกกักกัน
    ในกรณีที่สถานที่รักษาของรัฐตามวรรคหนึ่งอยู่ห่างไกล และหากผู้ถูกกักกันไม่ได้รับการรักษา
    อย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นไปรักษา
    ในโรงพยาบาลเอกชน เมื่อผู้ถูกกักกันพ้นขีดอันตรายแล้ว ให้รีบส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษาในสถานที่รักษา
    ของรัฐตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว

ข้อ ๙๘

  • เมื่อผู้อานวยการสถานกักกันอนุญาตให้ส่งตัวผู้ถูกกักกันไปรักษาตัวนอกสถานกักกัน
    ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อยจำนวนสองคนควบคุมผู้ถูกกักกันป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายในเขต
ที่กำหนด เว้นแต่การออกนอกเขตนั้นเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนตามคำสั่งแพทย์ หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินอื่น
อันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน ในกรณีที่มีผู้ถูกกักกันป่วยมากกว่าหนึ่งคน
ให้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมในอัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความเสี่ยงในการหลบหนี
หรือความปลอดภัยของบุคคลภายนอกประกอบด้วย กรณีผู้ถูกกักกันหญิงป่วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หญิง
เป็นผู้ควบคุม เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไม่อาจจัดพนักงานเจ้าหน้าที่หญิงไปควบคุมได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชายเป็นผู้ควบคุมในระยะที่ห่างแต่สามารถมองเห็นพฤติกรรมของผู้ถูกกักกันหญิง
ซึ่งป่วยได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ ทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการ
สถานกักกันจัดพนักงานเจ้าหน้าที่หญิงไปควบคุมแทนโดยเร็ว

(๒) ตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ถูกกักกันให้เป็นไปตามที่ทางราชการจัดให้ และห้ามผู้ถูกกักกัน
เข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษา
ผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ จัดให้

(๓) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันตรวจสอบและควบคุมการรับประทานอาหาร
ให้เป็นไปตามที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ จัดให้ การรับประทานอาหารส่วนตัวนอกจาก
ที่จัดให้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันและผ่านการตรวจ
ของแพทย์หรือพยาบาลแล้ว และให้บันทึกรายละเอียดของอาหารและผู้ทาอาหารให้ครบถ้วน
และสามารถตรวจสอบได้

(๔) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมและเวลา
เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามลักษณะ ๔ การเยี่ยมและการติดต่อ
ในการควบคุมตัวผู้ถูกกักกันตามวรรคหนึ่ง ผู้อานวยการสถานกักกันอาจใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณ์อื่นใดตามความเหมาะสมก็ได้

ข้อ ๙๙

  • ผู้ถูกกักกันซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปรักษาตัวนอกสถานกักกันต้องปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

(๑) อยู่ภายในเขตที่กำหนด เว้นแต่การออกนอกเขตเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนตามคำสั่งแพทย์
หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินอื่นอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน

(๒) ใช้สิทธิของผู้ถูกกักกันตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจาก
ผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ จัดให้

(๓) รับประทานอาหารตามที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ จัดให้ การรับประทานอาหาร
ส่วนตัวนอกจากที่จัดให้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันและ
ผ่านการตรวจของแพทย์หรือพยาบาลแล้ว

ข้อ ๑๐๐

  • ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันเจ็บป่วยร้ายแรงหรือประสบอุบัติเหตุขณะอยู่นอกสถานกักกัน
    และหากผู้ถูกกักกันไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทุพพลภาพได้
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันรายงานผู้อำนวยการสถานกักกันเพื่อพิจารณา
    โดยให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถูกกักกัน อาการป่วยเจ็บ และโรงพยาบาลที่จะทำการตรวจรักษา
    เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันอนุญาต ให้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ดูแลและควบคุมผู้ถูกกักกันในโรงพยาบาล
    หากเป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกันไปศาล ให้รายงานศาลเพื่อทราบด้วย
  • ในกรณีเร่งด่วนอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
    ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกันนาตัวผู้ถูกกักกันคนนั้นส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาก่อน
    และรายงานผู้อำนวยการสถานกักกันโดยทันที

ข้อ ๑๐๑

  • กรณีผู้ถูกกักกันต้องพักรักษาตัวที่สถานที่รักษาผู้ถูกกักกันตามข้อ ๙๗ เป็นเวลานาน
    ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) พักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ
ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๒) พักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ
ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ

(๓) พักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับ
ความเห็นของแพทย์ผู้ทาการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ

  • ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานกักกันเห็นเป็นการสมควรเพื่อความปลอดภัยของผู้ถูกกักกัน
    มาตรการควบคุม หรือเหตุผลในการรักษา ให้รายงานอธิบดีเพื่อขอย้ายผู้ถูกกักกันเข้ารับการรักษา
    ในโรงพยาบาลสังกัดกรมราชทัณฑ์หรือสถานพยาบาลอื่นที่เหมาะสม

ข้อ ๑๐๒

  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้ผู้ถูกกักกันที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต
    หรือเป็นผู้ถูกกักกันหญิงที่มีครรภ์ ได้รับการรักษาพยาบาลตามสมควร

ข้อ ๑๐๓

  • ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือขัดคำสั่ง
    พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข
    หรือคำสั่งนั้นก่อน หากผู้ถูกกักกันยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้รายงานผู้อำนวยการสถานกักกัน
    และรายงานให้แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร

ข้อ ๑๐๔

  • ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันตาย ป่วยหนัก บาดเจ็บสาหัส วิกลจริต หรือจิตไม่ปกติ
    ให้ผู้อำนวยการสถานกักกันแจ้งเรื่องดังกล่าวให้ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกักกันระบุไว้ทราบโดยไม่ชักช้า

 
     
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com