Living in Thailand  
index Living Travel

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖
ระเบียบกรมราชทัณฑ์
ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน
พ.ศ. ๒๕๖๖

ลักษณะ ๔
การเยี่ยมและการติดต่อ หมวด ๒
ทนายความเข้าพบผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดี


ข้อ ๕๔

  • ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความที่จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดีจะต้อง
    เป็นทนายความที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ และจะพบกับ
  • ผู้ถูกกักกันได้เฉพาะทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความที่ผู้ถูกกักกันต้องการพบเท่านั้น
    ผู้ถูกกักกันที่ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความจะขอเข้าพบตามวรรคหนึ่งต้องเป็นผู้ถูกกักกัน
    ซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ ๕๘

ข้อ ๕๕

  • ทนายความจะเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกันเกี่ยวกับคดี ต้องยื่นคำร้องขอพบ
    ผู้ถูกกักกัน ตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด
  • ในกรณีที่ทนายความยื่นคำร้องขอพบผู้ถูกกักกัน ประสงค์จะนำล่ามเข้าพบผู้ถูกกักกันด้วย
    เนื่องจากผู้ถูกกักกันเป็นชาวต่างประเทศ หรือเป็นชาวไทยใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจ
    ภาษาไทยได้ หรือผู้ถูกกักกันไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ ให้แสดงบัตรประจาตัวประชาชน
    หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการที่ปรากฏภาพถ่ายหรือหนังสือเดินทางของล่ามประกอบคำร้องขอเข้าพบ
    ผู้ถูกกักกัน และให้ผู้อำนวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานกักกันพิจารณา
    อนุญาตตามสมควร
  • หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าล่ามที่ได้รับอนุญาตตามวรรคก่อนได้แสดงหลักฐาน
    หรือข้อความอันเป็นเท็จหรือกระทาผิดระเบียบนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดบันทึกข้อมูลในการกระทำความผิด
    ไว้เป็นหลักฐาน และมีอำนาจดำเนินการให้ออกจากบริเวณสถานกักกันได้ และไม่อนุญาตให้เข้าสถานกักกัน
    ในฐานะล่ามอีกต่อไป
  • สถานกักกันที่ได้รับคำร้องให้แจ้งผู้ถูกกักกันได้ทราบข้อความตามคำร้อง เพื่อแจ้งความประสงค์
    และเหตุผลว่าจะพบทนายความนั้นหรือไม่
  • เมื่อผู้อำนวยการสถานกักกันหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานกักกันมีความเห็น
    ในคำร้องเป็นประการใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นหรือคำสั่งนั้น ให้ทนายความลงลายมือชื่อ
    รับทราบด้วย

ข้อ ๕๖

  • ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความรายใดที่จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันที่อยู่ระหว่างสอบสวน
    หรือไต่สวน ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความรายนั้นยื่นสำเนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
    ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบคำร้องขอพบผู้ถูกกักกันภายในสถานกักกันด้วย
  • สำหรับทนายความรายใดที่ผู้ถูกกักกันได้แต่งตั้งและคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว
    ทนายความรายนั้นต้องยื่นสำเนาใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ในสำนวนคดีให้เป็นทนายความ
    ของผู้ถูกกักกัน ประกอบคำร้องขอพบผู้ถูกกักกันภายในสถานกักกันด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกัน
    ยังไม่แต่งตั้งทนายความ
  • ในกรณีมีเหตุพิเศษอันเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งทนายความ เช่น การถอนตัวของทนายความ
    การเสียชีวิตของทนายความ หรือการรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ ผู้อำนวยการสถานกักกันอาจพิจารณาอนุญาต
    ให้ทนายความเข้าพบผู้ถูกกักกันโดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายความหรือใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้
    ในสำนวนคดีให้เป็นทนายความของผู้ถูกกักกันนั้น มาแสดงก็ได้

ข้อ ๕๗

  • ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบผู้ถูกกักกัน ต้องพบหรือติดต่อกับผู้ถูกกักกัน
    คราวละหนึ่งคน เว้นแต่การพบผู้ถูกกักกันซึ่งร่วมในคดีเดียวกัน และการพบนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์
    ในกระบวนการพิจารณา จะให้พบผู้ถูกกักกันมากกว่าหนึ่งคนก็ได้

ข้อ ๕๘

  • ทนายความที่ประสงค์จะขอเข้าพบผู้ถูกกักกันซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา คดีแพ่ง
    หรือคดีปกครอง ให้ทนายความผู้นั้นดำเนินการตามข้อ ๕๔ ข้อ ๕๕ ข้อ ๕๖ และข้อ ๕๗

ข้อ ๕๙

  • ทนายความสามารถเข้าเยี่ยมและติดต่อกับผู้ถูกกักกันได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐
    ถึง ๑๕.๓๐ นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ
  • หากมีเหตุพิเศษจำเป็นต้องพบผู้ถูกกักกันนอกวันเวลาในวรรคหนึ่ง ให้ขออนุญาตต่อผู้อำนวยการสถานกักกัน แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่สถานกักกันได้นำผู้ถูกกักกันเข้าห้องกักกันแล้ว และยังมิได้นำออกจากห้องกักกัน เว้นแต่ผู้อำนวยการสถานกักกันเห็นเป็นการจำเป็นที่สมควรจะอนุญาต

ข้อ ๖๐

  • ทนายความที่ได้รับอนุญาตให้พบผู้ถูกกักกัน หากต้องการจะสงวนข้อความที่พูดกับ
    ผู้ถูกกักกันเป็นความลับ ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมอยู่ในระยะ
    ที่ไม่สามารถได้ยินข้อความการสนทนา

ข้อ ๖๑

  • ให้นำความในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับทนายความที่เข้าพบผู้ถูกกักกันเท่าที่พอจะบังคับได้
    โดยอนุโลม

 
     
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com