Living in Thailand  
index Living Travel

 
ราชกิจจานุเบกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖
ระเบียบกรมราชทัณฑ์
ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน
พ.ศ. ๒๕๖๖

ลักษณะ ๓
วิธีการกักกันและการปกครอง


ข้อ ๒๙

  • ให้แยกกักกันผู้ถูกกักกันชายและผู้ถูกกักกันหญิงไว้มิให้ปะปนกัน

ข้อ ๓๐

  • ให้นำผู้ถูกกักกันเข้าห้องกักกัน เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา และนำออกจากห้องกักกัน
    เวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา หากกำหนดเวลานี้ไม่เหมาะสมแก่กิจการหรือสภาพการณ์ของสถานกักกัน
    ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน กำหนดเวลาใหม่โดยขออนุมัติจากอธิบดี

ข้อ ๓๑

  • ก่อนเข้านอน ให้ผู้ถูกกักกันทุกคนสวดมนต์ไหว้พระหรือปฏิบัติกิจตามหลักศาสนา
    ของแต่ละคน

ข้อ ๓๒

  • ผู้ถูกกักกันต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ วินัยของสถานกักกัน และปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้

(๑) ไม่นำเข้ามาหรือมีสิ่งของต้องห้ามในสถานกักกัน

(๒) ไม่ดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด หรือของมึนเมาทุกชนิด

(๓) ไม่เล่นการพนัน

(๔) ไม่ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการ หรือของผู้อื่นเสียหาย

(๕) ไม่ทำให้เกิดเหตุติดขัดในกิจการงานของสถานกักกัน และกิจกรรมของผู้ถูกกักกันอื่น

(๖) ไม่กระด้างกระเดื่องหรือขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๗) ไม่ก่อการวิวาทกับผู้ถูกกักกันอื่น

ข้อ ๓๓

  • เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในสถานกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรีบแจ้งเหตุ
    ต่อหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกัน เป็นหน้าที่ของหัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันจะต้อง

(๑) รวบรวมกำลังพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรักษาการโดยกวดขัน
(๒) จัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่รีบแจ้งเหตุ และถ้าเห็นเหลือกำลังให้ร้องขอกำลังจากตำรวจ
(๓) รีบรายงานผู้อำนวยการสถานกักกัน
ผู้อำนวยการสถานกักกันเมื่อทราบเหตุจะต้องรีบมายังสถานกักกัน และจัดการระงับเหตุ

ข้อ ๓๔

  • สถานกักกันใดมีผู้ถูกกักกันหญิง โดยปกติต้องจัดให้มีหญิงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
    ห้ามมิให้ผู้ถูกกักกันชาย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ชาย เข้าไปในเขตควบคุมผู้ถูกกักกันหญิง เว้นแต่

(๑) ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุ
(๒) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่หัวหน้าเจ้าพนักงานกักกันขึ้นไป และเข้าไปในเวลากลางวัน
โดยมีผู้อื่นอย่างน้อย ๒ คนไปด้วย การเข้าไปนั้นต้องเนื่องด้วยหน้าที่ราชการ

ข้อ ๓๕

  • การย้ายผู้ถูกกักกันจากสถานกักกันหนึ่งไปยังอีกสถานกักกันหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติ
    จากอธิบดี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะย้ายผู้ถูกกักกันก่อนก็ได้ แต่ต้องรายงานให้อธิบดีทราบ
  • ในกรณีมีปัญหาอุปสรรคในการย้ายผู้ถูกกักกัน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำผู้ถูกกักกัน
    เข้าคุมขังในสถานที่คุมขังอื่นตามความจำเป็นและเป็นการชั่วคราว
  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการย้ายผู้ถูกกักกันให้ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกักกันระบุไว้ได้ทราบ
    เมื่อย้ายผู้ถูกกักกันแล้วภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่เป็นกรณีเพื่อความมั่นคง ความปลอดภัย
    หรือเป็นกรณีที่ผู้ถูกกักกันไม่ยินยอมให้แจ้ง ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผล หรือความจำเป็นของการไม่แจ้งนั้นไว้ด้วย
  • เมื่อสถานกักกันย้ายผู้ถูกกักกัน ให้แจ้งการย้ายดังกล่าวให้ศาลที่มีคำพิพากษา หรือคำสั่งทราบ
    โดยเร็ว

ข้อ ๓๖

  • ผู้ถูกกักกันมีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
    ผู้อำนวยการสถานกักกัน อธิบดี รัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
    ต่อพระมหากษัตริย์
  • การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสถานที่ที่สถานกักกันจัดไว้
    เพื่อดำเนินการจัดส่งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ผู้ถูกกักกันประสงค์ก็ได้

ข้อ ๓๗

  • ผู้ถูกกักกันจะยื่นคาร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือโดยทำเป็นหนังสือก็ได้ ถ้ากระทำด้วยวาจา
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรับคำร้องทุกข์เป็นผู้บันทึกคำร้องทุกข์ ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือหนังสือร้องทุกข์นั้น
    ต้องลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรับคำร้องทุกข์ด้วย

ข้อ ๓๘

  • การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ผู้ถูกกักกัน
    ต้องเขียนด้วยตนเอง เว้นแต่ไม่สามารถเขียนด้วยตนเองได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือ
    ตามความประสงค์ของผู้ถูกกักกัน ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันไม่สามารถจัดหาเครื่องเขียนส่วนตัวได้
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดหาให้
  • การเขียนหนังสือร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามวรรคหนึ่ง
    ผู้ถูกกักกันต้องเขียนในสถานที่ที่สถานกักกันจัดให้

ข้อ ๓๙

  • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือฎีกาที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายตรวจดูข้อความและตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วทาความเห็นเสนอ
    ผู้อำนวยการสถานกักกัน พร้อมกับแนวทางการแก้ไขหรือการให้ความช่วยเหลือ

ข้อ ๔๐

  • คำสั่งหรือคำชี้แจงตอบคำร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
    ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกักกันซึ่งยื่นคำร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด ๆ หรือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาทราบ และให้
    ผู้ถูกกักกันคนนั้นลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ ๔๑

  • เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
    ของประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบจดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น
    หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใด ๆ ซึ่งมีถึงหรือจากผู้ถูกกักกัน
    ความสงบเรียบร้อยตามวรรคหนึ่งให้หมายความเฉพาะการป้องกันเหตุร้าย และรักษา
    ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน

ข้อ ๔๒

  • จดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นใดที่มีถึงหรือจากผู้ถูกกักกันนั้น
    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในจดหมายหรือเอกสาร หรือตรวจสอบวัสดุสิ่งของในพัสดุภัณฑ์นั้น
    ว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน หรือศีลธรรมอันดี
    ของประชาชนหรือไม่ ก่อนส่งให้แก่ผู้ถูกกักกันหรือบุคคลภายนอกต่อไป
  • ในกรณีที่มีการตรวจพบข้อความ พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง
    ของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน
    หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานกักกันสั่งให้แก้ไข ระงับการส่ง คืนผู้ฝากส่ง ทำลาย
    หรือดำเนินการสอบสวนหรือส่งเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วแต่กรณี
    จดหมาย เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นตามวรรคหนึ่งหมายถึง จดหมาย เอกสาร
    พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่จัดส่งโดยไปรษณีย์หรือผู้มีอาชีพรับส่งของดังกล่าว

ข้อ ๔๓

  • การตรวจพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่น ให้ทำต่อหน้าผู้ถูกกักกันที่ได้รับหรือส่งพัสดุภัณฑ์
    หรือสิ่งสื่อสารนั้น
  • การตรวจสอบจดหมายหรือเอกสาร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อความและลงลายมือชื่อ
    ประทับตรารับรองการตรวจก่อนส่งให้ผู้ถูกกักกันหรือบุคคลภายนอก

ข้อ ๔๔

  • ก่อนที่จะทำการตรวจพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่มีถึงผู้ถูกกักกันจะต้องให้
    ผู้ถูกกักกันลงลายมือชื่อรับพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารนั้น
  • หากผู้ถูกกักกันไม่ยอมลงลายมือชื่อรับพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่นตามวรรคหนึ่งห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่
    เปิดพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารนั้น และให้ส่งคืนผู้จัดส่งโดยเร็ว

ข้อ ๔๕

  • กรณีที่เอกสาร พัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่นที่ผู้ถูกกักกันลงลายมือชื่อรับไว้เป็น
    สิ่งของต้องห้ามหรือผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยหรือส่งเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดี
    ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี

ข้อ ๔๖

  • เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสถานกักกัน
    หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์หรือผู้อำนวยการสถานกักกันดำเนินการ
    จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบหรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใด ๆ
    ระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้ถูกกักกันในสถานกักกัน
  • การดำเนินการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบหรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารตามวรรคหนึ่ง
    ให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็น และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสารของบุคคลภายนอกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
    กับสถานกักกันนั้น

มาตรา ๔๗

  • พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้กาลังบังคับแก่ผู้ถูกกักกันไม่ได้ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(๑) การกระทำเพื่อป้องกันตัว
(๒) ผู้ถูกกักกันพยายามหลบหนี ใช้กำลังกายขัดขืนโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือระเบียบกรมราชทัณฑ์
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้กาลังบังคับได้เพียงเท่าที่จำเป็น
และเหมาะสมกับพฤติการณ์ และต้องรายงานเหตุต่อผู้อำนวยการสถานกักกันทันที

 
     
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com