Living in Thailand  
index Living Travel

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖
ระเบียบกรมราชทัณฑ์
ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน
พ.ศ. ๒๕๖๖

ลักษณะ ๒
การรับและการปล่อยตัว


ข้อ ๑๒

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตัวผู้ถูกกักกันไว้แล้ว ให้จัดการ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ถูกกักกัน

(๒) ให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าพนักงานกักกันที่ผ่านการอบรมด้านพยาบาลทาการตรวจอนามัย
ผู้ถูกกักกัน

(๓) จัดทำทะเบียนประวัติผู้ถูกกักกันตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด

ข้อ ๑๓

  • การตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ถูกกักกันนั้น ถ้าผู้ถูกกักกันเป็นชาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชาย
    เป็นผู้ตรวจค้น ถ้าผู้ถูกกักกันเป็นหญิง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ตรวจค้น หากไม่มีพนักงาน
    เจ้าหน้าที่หญิง ก็ให้ผู้ถูกกักกันนั้นเองแสดงสิ่งของที่ตนมีติดตัวมาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ตรวจค้น
    หากยังเป็นที่สงสัยว่าผู้ถูกกักกันไม่แสดงสิ่งของที่ตนมีอยู่ทั้งหมด ก็ให้เชิญหญิงอื่นที่เชื่อถือได้
    มาช่วยทาการตรวจค้นให้
  • การตรวจค้นสิ่งของตามวรรคแรก กรณีผู้ถูกกักกันที่ผ่านการศัลยกรรมแปลงเพศให้ผู้ตรวจค้น
    ต้องเป็นไปตามเพศนั้น

ข้อ ๑๔

  • หากพบว่าผู้ถูกกักกันคนใดมีทรัพย์สินหรือสิ่งของซึ่งมิอาจนำเข้ามาไว้ในสถานกักกัน
    ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบนี้ ซึ่งว่าด้วยทรัพย์สินของผู้ถูกกักกันต่อไป

ข้อ ๑๕

  • การตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกัน ถ้าไม่อาจดำเนินการในวันนั้นได้ ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
    ตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกันเบื้องต้นก่อนได้ แต่ต้องจัดการให้มีการตรวจในวันอื่นโดยเร็ว
    ให้สถานกักกันนำเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบและเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    มาใช้ในการตรวจค้นสิ่งของและตรวจสุขอนามัยผู้ถูกกักกันตามสมควร และให้เรือนจำหรือสถานกักขัง
    ที่ผู้ถูกกักกันย้ายมา ส่งข้อมูลทางการแพทย์ การรักษาตัว และอนามัยของผู้ถูกกักกันมาด้วย

ข้อ ๑๖

  • เมื่อพบว่าผู้ถูกกักกันคนใดเจ็บป่วย ต้องดำเนินการรักษาพยาบาลหรือถ้ามีโรคติดต่อ
    ซึ่งจะลุกลามเป็นภัยแก่ผู้อื่น ก็ให้จัดแยกผู้ถูกกักกันนั้นจากผู้ถูกกักกันอื่น และให้แพทย์ พยาบาล หรือ
    พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมด้านพยาบาลชี้แจงแนะนาการปฏิบัติแก่ผู้ควบคุมดูแล ถ้าจำเป็น
    จะต้องส่งตัวผู้นั้น ไปรักษายังสถานพยาบาลภายนอกสถานกักกัน ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบนี้
    ซึ่งว่าด้วยการอนามัยและสุขาภิบาลต่อไป

ข้อ ๑๗

  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียนประวัติผู้ถูกกักกันตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด
    โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อ สกุล อายุ เลขประจำตัวประชาชนหรือเอกสารแสดงตนของผู้ถูกกักกันเท่าที่ทราบ
(๒) สัญชาติ
(๓) ตำหนิรูปพรรณ
(๔) ภูมิลำเนาและที่อยู่ปัจจุบัน
(๕) ประวัติการศึกษา
(๖) ประวัติการประกอบอาชีพ
(๗) ฐานะ สถานภาพทางครอบครัว สมาชิกในครอบครัว
(๘) ประวัติการกระทำผิด (เคยต้องโทษฐานใด ระยะเวลาการรับโทษ)
(๙) กำหนดการกักกันครั้งนี้
(๑๐) ที่อยู่ปัจจุบันของญาติ ซึ่งจะให้ติดต่อเมื่อมีความจำเป็น
(๑๑) สภาพของร่างกาย สุขภาพกายและจิตใจ ความรู้และความสามารถของผู้ถูกกักกัน

ข้อ ๑๘

  • ในกรณีที่ผู้ถูกกักกันมีเด็กอายุต่ำกว่าสามปีซึ่งอยู่ในความดูแลของตนติดมายังสถานกักกัน
    หรือเด็กซึ่งคลอดในระหว่างที่มารดาถูกกักกันในสถานกักกัน หากมีความจำเป็นหรือปรากฏว่าไม่มีผู้ใด
    จะเลี้ยงดูเด็กนั้น ผู้อำนวยการสถานกักกันจะอนุญาตให้เด็กนั้นอยู่ในสถานกักกันจนกว่าเด็กอายุครบสามปีก็ได้
    หรือให้ส่งเด็กนั้นไปยังหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ หรือพัฒนาฟื้นฟูเด็ก
    เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไปก็ได้

ข้อ ๑๙

  • เมื่อมีเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันเข้ามาในสถานกักกันให้พนักงานเจ้าหน้าที่
    พิจารณาว่าเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้นจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของผู้ถูกกักกันหรือไม่และผู้ถูกกักกัน
    ยังมีทางที่จะมอบเด็กให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ใดไปอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่ ถ้ามีผู้รับไปอุปการะ
    เลี้ยงดูให้ผู้ถูกกักกันจัดการมอบให้ไป หากมีความจำเป็นหรือปรากฏว่าไม่มีผู้ใดจะเลี้ยงดูเด็กให้ผู้ถูกกักกัน
    ยื่นคำร้องขออนุญาตให้เด็กอยู่ในสถานกักกัน เสนอผู้อำนวยการสถานกักกันเพื่อพิจารณาอนุญาตให้เด็กนั้น
    อยู่ในสถานกักกันได้

ข้อ ๒๐

  • การที่จะอนุญาตให้เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันอยู่ในสถานกักกันตามข้อ ๑๙ นั้น
    ต้องปรากฏว่า

(๑) เด็กนั้นอยู่ในความดูแลของผู้ถูกกักกัน

(๒) มีความจำเป็นที่เด็กจะต้องอยู่กับผู้ถูกกักกัน หรือปรากฏว่าไม่มีครอบครัว ญาติมิตร
หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ หรือพัฒนาฟื้นฟูเด็ก ที่จะรับเลี้ยงดูเด็กนั้น

ข้อ ๒๑

  • เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในสถานกักกัน ให้ผู้ถูกกักกัน
    ทำหนังสือมอบอำนาจการปกครองนอกจากการจัดการทรัพย์สินของเด็กให้ไว้แก่ผู้อำนวยการสถานกักกันนั้น

ข้อ ๒๒

  • การมอบเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ใดไปช่วย
    อุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวไว้ในข้อ ๑๙ ให้สถานกักกันทำหนังสือส่งรับมอบตัวเด็กตามแบบท้ายระเบียบนี้ไว้ต่อกัน
    เป็นหลักฐานสามฉบับ โดยผู้ถูกกักกันและผู้ที่รับมอบเด็กยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ และเก็บรักษาไว้
    ณ สถานกักกันหนึ่งฉบับ
  • กรณีเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ให้สถานกักกันประสานสถานเอกอัครราชทูต
    หรือสถานกงสุลที่ผู้ถูกกักกันมีสัญชาติ เพื่อรับรองสถานะของเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกัน บุคคล
    หน่วยงานหรือสถานที่ที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดู
  • กรณีไม่สามารถดำเนินการตามวรรคสองได้ ให้สถานกักกันประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคม
    และความมั่นคงของมนุษย์ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
    การคุ้มครองเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

ข้อ ๒๓

  • ในระหว่างอยู่ในสถานกักกัน ถ้าปรากฏว่ามีบุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่ดังกล่าวไว้
    ในข้อ ๑๙ จะรับเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันไปอุปการะเลี้ยงดู ให้ผู้อำนวยการสถานกักกัน
    ดำเนินการตามข้อ ๒๒ โดยต้องได้รับความยินยอมจากมารดาของเด็กหรือผู้ถูกกักกันที่เด็กนั้น
    อยู่ในความดูแล แล้วแต่กรณี

ข้อ ๒๔

  • การอุปการะเลี้ยงดูเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ใน
    สถานกักกันเป็นหน้าที่ของสถานกักกันในการจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานให้ตามสมควร
  • กรณีจำเป็น ให้สถานกักกันประสานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก สำนักงานกาชาดจังหวัด
    หรือโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน เพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
    สาหรับเลี้ยงดูเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกัน

ข้อ ๒๕

  • เด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันที่อนุญาตให้อยู่ในสถานกักกัน สถานกักกันควรจัดให้
    ได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กอย่างน้อย ดังนี้

(๑) ต้องไม่ได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นผู้ถูกกักกัน

(๒) จัดให้มีการตรวจสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เหมาะสมตามวัย
พร้อมทั้งดำเนินการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

(๓) จัดที่พักอาศัย ที่หลับนอน เครื่องนุ่งห่มให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ และจัดอาหาร
ให้ถูกสุขอนามัยและเพียงพอแก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยไม่ให้ปะปนกับผู้ถูกกักกันเท่าที่จะกระทำได้
เว้นแต่การจัดเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายหรือมีความจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถกระทำได้ จึงจัดให้รวมกับ
ผู้ถูกกักกันที่เป็นมารดา ผู้ถูกกักกันที่เด็กนั้นอยู่ในความดูแล หรือผู้ถูกกักกันอื่น

(๔) จัดกิจกรรมนันทนาการให้แก่เด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลให้เหมาะสมกับวัยและสภาพ
ของเด็กแต่ละคน

ข้อ ๒๖

  • เมื่อผู้ถูกกักกันถึงกำหนดปล่อย ให้สถานกักกันส่งมอบเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้น
    ให้แก่ผู้ถูกกักกันไปทันที ถ้าเด็กนั้นอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่
    ที่รับมอบไปให้สถานกักกันแจ้งให้บุคคล หน่วยงาน หรือสถานที่นั้นนำเด็กในความดูแลของผู้ถูกกักกันนั้น
    มาส่งให้แก่ผู้ถูกกักกันในวันปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน

ข้อ ๒๗

  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดอบรมผู้ถูกกักกันเข้าใหม่เพื่อให้ทราบระเบียบ ข้อบังคับ
    และวินัยของสถานกักกัน ตลอดถึงการประพฤติตัวภายในสถานกักกัน

ข้อ ๒๘

  • เมื่อจะปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้

(๑) เรียกพัสดุของราชการคืน
(๒) ทำหลักฐานในการปล่อยตัว
(๓) คืนทรัพย์สินของผู้ถูกกักกันให้แก่ผู้ถูกกักกันไป
(๔) ทำหนังสือสาคัญการปล่อยตัวให้แก่ผู้ถูกกักกัน
(๕) ผู้ถูกกักกันคนใดไม่มีเครื่องแต่งกายจะแต่งออกไปจากสถานกักกัน ให้จัดเครื่องแต่งกาย
ให้ชุดหนึ่ง

 
     
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com