พระราชบัญญัติภาษีการรับภาษีมรดก |
||
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ภาษีการรับมรดก พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีรับมรดำ พ.ศ. .... มีทั้งสิ้น 38 มาตรา ดังนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกพ.ศ........" มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
มาตร 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ภาษี" หมายความว่า ภาษีการรับมรดกที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ "ประเทศไทย" หมายความว่า รวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย "เจ้าพนักงานประเมิน" หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากข้าราชการ เพื่อทำหน้าที่ประเมินภาษี "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฏกระทรวงเพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ กฏกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 6 การจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร มาตรา 7 ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี มาตรา 8 กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการหรือแจ้งรายการต่างๆการอุทธรณ์และการเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้หรือมิได้อยู่ในประเทศไทย อธิบดีจะอนุญาตให้เลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเป็นการทั่วไปที่จะทำให้ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อาจปฏิบัติภายในกำหนดเวลา ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อธิบดีจะประกาศขยายกำหนดเวลาออกไปตามสมควรจนกว่าเหตุดังกล่าวจะหมดสิ้นไปก็ได้ และเมื่อได้ขยายกำหนดเวลาออกไปแล้ว ให้ถือว่ากำหนดเวลาที่ขยายออกไนั้นเป็นกำหนดเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนหรือขยายกำหนดเวลาของอธิบดีตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 9 เอกสารที่มีถึงบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าหน้าที่พนักงานสรรพากร นำไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้นในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาการทำการของ บุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่หรือ ทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นผู้รับนั้นก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งเอกสารตามวิธีที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หรือบุคคลนั้นออกไปนอกประเทศไทย ให้ใช้วิธีปิดหมายเอกสารนั้น ในที่ ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่หรือสำนักงานของบคคลนั้นหรือบ้านที่บุคคลนั้น มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฏหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ครั้งสุดท้าย หรือจะโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับเอกสารนั้นแล้้ว มาตรา 10 เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกันอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก ให้แจ้งการจดทะเบียนนั้นต่อกรมสรรพากร ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และภายในกำหนดเวลาทีคณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด 2 การเสียภาษี มาตรา 11 ภายใต้บังคับมาตรา12 ให้บุคคลผู้ได้รับมรดาดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 12 ผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้าแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกินหน้าสิบล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาท มูลค่ามรดกตามวรรคหนึ่ง หมายถึงมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดกหักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกนั้น มาตรา 13 บทบัญญัติในมาตร 12 ไม่ใช้บังคับแก ่
มาตรา 14 มรดก ซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่
มาตรา 15 การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินให้ถือตามราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นเป็นมรดก ดังต่อไปนี้
มาตรา 16 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคำนวณและเสียภาษีในอัตราร้อยละสิบของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี ตามมาตรา 12 อัตราร้อยละสิบตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกา ลดลงตามที่เห็นสมควร โดยจะลดให้เป็นการทั่วไปหรือลดตามความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ามรดกและผู้รับมรดกก็ได้ หมวด 3 การยื่นแบบ การชำระภาษี และการประเมินภาษี มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 23 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันที่ได้รับมรดกที่เนเหตุให้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นและชำระ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งหรือ ณ สถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกำหนด เมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาได้รับแบบแสดงรายการภาษีแล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดง รายการภาษี ในกรณีที่ผู้หน้าที่เสียภาษีต้องเสียภาษีเพิ่มและได้ชำระภาาภายในกำหนดวลาตามมาตรา 22 มิให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม เว้นแต่การต้องเสียภาษีเพิ่มนั้นเกิดจากรายการที่ผู้ยื่นมิได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการภาษีหรือแสดงไว้เป็นเท็จ ระยะเวลาหนึ่งปีตามวรรคสาม เมื่อมีเหตุอันจำเป็นและสมควรที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไปเป็นการเฉพาะกรณีก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสามปี มาตรา 18 ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตายก่อนครบกำหนดเวลาตามที่มาตรา 17 วรรคหนึ่ง โดยยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีแลชำระภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามมาตรา 31 แทนผู้ตายภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยไม่ต้องเสียเบี้่ยปรับ สำหรับเงินเพิ่มให้คำนวณนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาตามมาตร 17 วรรคหนึ่ง จนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน ในกรณีที่มีผู้เสียภาษีเมื่อครบกำหนดเวลาตามมาตร 17 วรรคหนึ่งแล้ว โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแทน โดยให้ดำเนินการภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับ แต่งตั้ง สำหรับเบี้ยปรับให้เสียหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ เว้นแต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายหลังกำหนด เวลาดังกล่าวให้เสียเบี้่ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ สำหรับเงินเพิ่มให้คำนวณตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามาตรา 17 วรรคหนึ่งจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วนเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องไม่เกินเงินภาษีที่ต้องชำระ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้มีสิทธิได้รับมรดกคนใดคนหนึ่งจะดำเนินการเองก็ได้ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาตราก 19 ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีถึงแก่ความตาย หากไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกดำเนินการแทนตามมาตรา 18 ให้ทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีหน้าที่ตามมาตร 18 และให้นำความในมาตรา 18 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เว้นแต่ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ให้กระทำภายใน 150 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 180 วัน ในกรณีทายาทหลายคน ให้ทายาทตกลงมอบให้ทายาทคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ให้ทายาทคนใดคนหนึ่ง ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดกดำเนินการต่อไป เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว หากไม่มีผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามาตรานี้ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ ประเมินภาษีตามมาตรา 20 ได้ หมวด 4 ประเมินภาษี มาตรา 20 ภายใต้บังคับมาตรา 17 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยให้มีอำนาจประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลาสินปีนับแต่วันสุทดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี มาตรา 21 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 หรือ มาตรา 24 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้แทน หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ กับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชี เอากสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ หรือออกคำสั่งให้บุคคลดังกล่าว ตอบคำถามเป็นหนังสือ แต่ต้องให้มีเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน นับแต่วันที่ไรับหมายหรือได้รับคำสั่ง มาตรา 22 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีแล้ว ให้แจ้งการเป็นภาษีนั้นเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี และให้ผู้นั้นชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถ้ามี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีก็ได้ มาตรา 23 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะผ่อนชำระภาษีภายในเวลาไมเกินห้าปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา และเมื่อได้ชำระภาษีครบถ้วนตามเหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ให้ได้รับยกเวินไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม แต่ในกรณีที่ผ่อนชำระภาษีเกินสองปี จะกำหนดให้ต้องเสียเงินเพิ่มบางส่วนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้ มาตรา 24 ในกรณีที่ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือได้ชำระไว้เกินกว่าที่ต้องเสีย ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับคืนภาษี ให้ผู้มีสิทธิได้รรับคืนภาษีตามวรรคหนึ่งยื่นคำร้องขอรับคืนภาษีพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานภายในห้าปีนับแต่วันชำระภาษีทั้งหมด ต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการนที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพกากรพื้นที่สาขาซึ่งรับคำร้องไว้ ส่งคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเร็ว และให้เจ้าหน้าที่พนักงานประเมินตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและมีหนังสือ แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในสิบหน้าวันนับแต่การตรวจสอบแล้วเสร็จ และในกรณีที่ต้องมีการคืนภาษีให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ ในการขอรับคืนภาษี ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินพภาษีที่คืนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตรวจสอบการขอคืนภาษี ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในมาตรานี้ มาตรา 25 ภาษีซึ่งต้องเสียตามพระชาชบัญญัตืนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระคืนแล้ว ถ้ามิได้เสียให้ถือเป็นภาษีค้าง เพื่อให้ได้รับชำระภาษีค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายนัดหรือสั่งอำนาจดังกล่าว อธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรภาคสำหรับการดำเนินการภายในเขตท้องที่ก็ได้ วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฎิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด และเงินภาษีค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน มาตรา 26 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีผู้ใดไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ได้ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี ทั้งนี้ โดยยื่นตามแบบ ณ สถานที่ที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา คณะกรรมการอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย อะฺบดีกรมสรรพากร หรือผู้แทนเป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสุงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ระยะเวลาดังกล่าวอธิบดีจะอนุมัติให้ ขยายออกไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 90 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องรองฟังผล การพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ แต่ต้องยื่นฟ้องภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้มีสิทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัย มาตรา 27 การอุทธารณ์ไม่เป็นการทะเลาการเสียภาษี เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณืหรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสบิวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งตำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ผู้อุทธรณ์ หรือผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียน้อยลง ให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีที่ต้องคืนให้แก่ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฟังคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย หรือคำพิพากษา แล้วแต่กรณี มาตรา 28 เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ประธานคณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจเช่นดกียวกับเจ้าพนักงานประเมินตามมาตร 21 หมวด 5 เบี้ยรับและเงินเพิ่ม มาตรา 29 ผู้มีหน้าที่เสียเบี้ยปรับในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
มาตรา 30 เบี้ยปรับตามพระราชบัญญัตินี้ อาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบ ของรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวต้องระบุให้ชัดเจนถึงเหตุแห่งการงดหรือลด เบี้ย ปรับ โดยคำนึงถึงความสุจริตและเหตุจำเป็นของผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ มาตรา 31 ภายใต้บังคับมาตรา 23 บุคคลใดไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่รวมเบี้ยปรับ ในกรณีที่ได้มีการอนุญาตให้เลื่อนกำหนดเวลาการชำระภาษี และได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละศูนย์จุดเจ็ดห้าต่อเดือนหรือเศษของเดือน การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี แต่เงินพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ มาตรา 32 เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือเป็นภาษี หมวด 6 บทกำหนดโทษ มาตรา 33 ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา ๑๗ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท มาตรา 34 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามเจ้าพนักงานประเมินมาตรา 21 หรือประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 35 ผู้ใดทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามมาตรา 25 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่แสนบาท ในกรณีผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล หากกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นได้มีส่วนในการ กระทำความผิดของนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคลดังกล่าว ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย มาตรา 36 เจ้าพนักงานผู้ใดมีรหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รู้ข้อมูลของผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง นำออกแจ้งแก่บุคคลใดหรือทำให้รู้โดยวิธีใด หรือปล่อยปละละเลยให้ข้อมูลดังกล่าวรู้ถึงบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ต้องรู้ โดยไม่มีอำนาจ กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าพนักงานประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มาตรา 37 ผู้ใด
มาตรา 38 บรรดาความผิดมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา ๓๗ ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนดแล้ว มิให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น ถ้าอธิบดีเห็นว่าไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ หรือเมื่อเปรียบเทียจบแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนด ให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป และในกรณีนี้ห้ามิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฎหมายอื่นอีก
|
|
|||