Living in Thailand

พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์

 
     

       

กฏหมายว่าด้วยการป้องกันการทรุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗"

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

  • "สัตว์" หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลื้ยงเพื่อใชเป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • "การทารุณกรรม" หมายความว่า การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมารไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย และให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชราหรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้องเพื่อแสวงหาประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชราหรืออ่อนอายุ
  • "การจัดสวัสดิภาพสัตว์" กมายความว่า การเลี้ยงหรือการดูแลสัตว์มีความเป็นอยู่ในภาวะที่เหมาะสม มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่ อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ
  • "เจ้าของสัตว์" หมายความว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ และให้มายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแล ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ดูแลด้วย
  • "องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์" หมายความว่า คณะบุคคลหรือสิติบุคคล ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้
  • "สถานสงเคราะห์สัตว์" หมายความว่า สถานที่ใช้เลี้ยงสัตว์ หรือสถานที่ใช้ในการให้ความช่วยเหลือหรืออภิบาลสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง สัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ หรือสัตว์ที่ถูกกระทำการทารุณกรรม
  • "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
  • "สัตวแพทย์" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ตามกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
  • "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังนี้
  • "นายทะเบียน" หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียน
  • "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์
  • "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔

  • ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ออกประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
  • ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมาวด ๑ คณะกรรมการป้องกันการทรุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว

มาตรา ๕

  • ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการป้องกันการทรุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์" ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมประมง อธิบดีการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พื้ช ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินเจ็ดคนเป็นกรรมการ
  • ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากคณะบดีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่ดำงานหรือกิจการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้แทนสถานสงเคราะห็สัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา ๖

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
  • ในกรณีที่รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
  • การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลงตามวรรคสอง หากวาระที่เหลืออยู่มีไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรีจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนก็ได้
  • เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผูทรงรุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่ง ตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

  1. ตาย
  2. ลาออก
  3. รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติที่เสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
  4. เป็นบุคคลล้มละลาย
  5. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเหมือนไร้ความสามารถ
  6. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับควาามผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  7. พ้นจากการเป็นคณบดีคณะวัตวแพทย์ ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่ดำเนินงานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในฐานะนั้น

มาตรา ๘

  • คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
  1. เสนอนโยบาย แผน มาตรการ และแนวทางที่สร้างความตระหนักในการป้งอกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ต่อรัฐมนตรี
  2. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการแก้ไขปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์
  3. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
  4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
  5. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้
  6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฏหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๙

  • คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละสองครั้ง
  • การประชุมคณะกรรมการต้องมีการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
  • ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
  • การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๑๐

  • คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
  • การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๒ องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์

มาตรา ๑๑

  • คณะบุคคลหรือนิติบุคคลใดมีวัตถุประสงค์หรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมหรือการจัด สวัสดิภาพสัตว์ และไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือแสวงหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ต่อนายทะเบียน
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอขึ้นทะเบียน ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา ๑๒

  • องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์อาจได้รับการสนับสนุนจากกรมประศุศัตว์หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้
  1. การจัดเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
  2. การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการป้องกันการทรุณกรรมหรือจัดสวัสดิภาพสัตว์
  3. การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการป้องกันการทารุณกรรม หรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์
  4. การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทารุณกรรมหรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์
  5. การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมหรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์

มาตรา ๑๓

ในกรณีที่ปรากฏว่าองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ใดดำเนินกิจกรรมโดยฝ่าฝืนกฏหมาย หรือดำเนินการในทางการเมืองหรือแสวงหากำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือกระทำการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือและกำหนดระยะเวลาระงับการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว หากองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนขึ้นทะเบียนขององค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้นได้

หมวดที่ ๓ สถานสงเคราะห์สัตว

มาตรา ๑๔

  • เพื่อสนับสนุนการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ผู้ซึ่งจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ดำเนินกิจกรรมใน ลักษณะที่ไม่มีว้ตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือไม่แสวงหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน มีสิทธิขอขึ้นทะเบีบยเป็นสถานสงเคราะห์สัตว์ต่อนายทะเบียน
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอขึ้นทะเบียน ให้เป็นไปตามอธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา ๑๕

  • ผู้ซึ่งจัดตั้งสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๑๔ แล้ว อาจได้รับการสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในเรื่องดังต่อไปนี้
  1. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมหรือจัดสวัสดิภาพสัตว์
  2. การควบคุมปริมาณสัตว์และการป้องกันโรคระบาดสัตว์ภายในสถานสงเคราะห์สัตว์
  3. การอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมหรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์

มาตรา ๑๖

  • ในกรณีที่ปรากฏว่าสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๑๔ ดำเนินกิจกรรมในลักษณะทางการเมืองหรือแสวงหากำไรหรือ รายได้มาแบ่งปันกัน กระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์หรือไม่จัดสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของสถานสงเคราะห์สัตว์นั้นได้

หมวด ๔ การอุทธรณ

มาตรา ๑๗

  • ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนตรามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๔ ผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

มาตรา ๑๘

  • ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนตามมาตร ๑๓ หรือ ๑๖ ผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
  • การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่ผู่อุทธรจะร้องขอและคณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งนั้นไว้ชั่วคราว

มาตรา ๑๙

ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันที่ได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการอุทธรณ์ และในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เป็นไปตารมที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

หมวด ๕ การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์

มาตรา ๒๐

ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร

มาตรา ๒๑

การกระทำด่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐

  1. การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
  2. การฆ่าสัตว์ตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
  3. การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
  4. การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยาหรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน
  5. การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
  6. การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างการยของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน
  7. การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือผู้ซึ่งได้ รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพ่ทย์สภาตาม กฏหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
  8. การตัด หู หาง ขน เขา หรืองา"ดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์
  9. การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น
  10. การกระทำอื่นใดที่มีกฏหมายกำหนดให้สามาถกระทำได้เป็นการเฉพาะ
  11. การกระทำใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

หมวด ๖ การจัสวัสดิภาพสัตว์

มาตรา ๒๒

  • เจ้าของสัตว์ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • การออกประกาศตามวรรหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท ชนิด ลักษณะ สภาพ และอายุของสัตว์

มาตรา ๒๓

  • ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือการทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันควร
  • การกระทำตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์จะนำสัตว์ไปดูแลแทน

มาตรา ๒๔

  • การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง เจ้าชองสัตว์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท ชนิด ลักษณะ สภาพ และอายุของสัตว์

หมวด ๗ พนักงานและเจ้าหน้าที่

มาตรา ๒๕

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

  1. มีหนังสือเรียกเจ้าของสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์สัตว์ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
  2. เข้าไปในสถานที่ใด ๆ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการทารุณกรรมสัตว์ ตามพระราชบัญญัตินี้
  3. สั่งให้หยุดซึ่งยานพาหนะเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการทารุณกรรมสัตว์ ตามพระราชบัญญัตินี้
  4. ยึดหรืออายัดสัตว์หรือซากของสัตว์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าถูกฆ่าหรือถูกทารุณกรรมรวมทั้งเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำควาามผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
  5. นำสัตว์ที่ถูกทารุณกรรมไปตรวจรักษาหรือช่วยเหลือสัตว์ที่ตกอยู่ในภยันตราย ในกรณีที่ปรากกฏว่าสัตว์นั้นไม่มีผู้ใดให้การรักษา หรือช่วยเหลือ
  • การเข้าไปในสถานที่ตาม (๒) เพื่อการตรวจค้นต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน หรือทำลายหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

มาตรา ๒๖

  • ในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมาะสม

มาตรา ๒๗

  • ในกรณีที่พบสัตว์ตกอยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บสาหัส และสัตวแพทย์เห็นว่าการให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปจะได้รับความทุกข์ทรมานจนเกินสมควร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ฆ่าสัตว์นั้นได้
  • การฆ่าสัตว์ตามวรรคหนึ่ง จะต้องดำเนินการโดยสัตวแพทย์ และในกรณีที่สัตว์นั้นมีเจ้าของ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสัตว์

มาตรา ๒๘

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๕ ให้เจ้าของส้ตว์หรือผู้เกี่ยวข้องอำนวยความสดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

มาตรา ๒๙

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อเจ้าของสัตว์หรือผู้เกี่ยวข้อง
  • บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา ๓๐

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฏหมายอาญา

หมวด ๘ บทกำหนดโทษ

มาตรา ๓๑

  • ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๒

  • เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หรื่นบาท

มาตรา ๓๓

  • ในกรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดตามมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ หากศาลเห็นว่าการให้สัตว์นั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าของผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป สัตว์นั้นอาจจะถูกทารุณกรรมหรือได้รับการ จัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่เหมาะสมอี ศาลอาจสั่งมิให้เจ้าของหรือผู้กระทำความผืดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าว และมอบให้หน่วยงานของ รัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครอบครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป

มาตรา ๓๔

  • ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๓๕

  • บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
  • เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนเงินที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทยัฐฐัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสอง ให้ดำเนินคดีต่อไป

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๓๖

  • ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตร ๕ ปฏบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหสึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ