ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  


     
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี ทรัพย์สินส่วนพระองค์

“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กับ "ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี" กับ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์”

ก่อนอื่น เราต้องแยกระหว่างคำว่า "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กับ "ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี" กับ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ให้เข้าใจเสียก่อน จึงจะได้ไม่สับสน

1. “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”

คือ ทรัพย์สิน ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึง สถาบันฯ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคล ที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สิน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ ต้นราชวงศ์จักรี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นสมบัติของชาติชนิดหนึ่ง หมายถึงเป็นสมบัติของ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่เริ่มตั้ง ราชวงศ์จักรี สืบทอดเรื่อยมา

ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรัพย์สินส่วนนี้ จึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่เพื่อเป็นการให้เกียรติ์ราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงตั้งชื่อเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงการคลัง อีกที

ส่วน “พระมหากษัตริย์” ก็ได้รับพระเกียรติ์ ให้ทรงสามารถแต่งตั้ง คณะกรรม ไปช่วยดูแลการทำงานได้ 4 คน โดยมี รมต.กระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้บริหาร แต่ทั้งหมดนี้ ต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเท่านั้น

“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ไม่ได้นำ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปใช้ในเรื่องส่วนพระองค์ของ “พระมหากษัตริย์” เลย แต่นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน และสังคมทั้งหมด

แต่ถ้าสำนักงานทรัพย์สินฯ อยากจะบริจาคเงิน ให้มูลนิธิต่างๆ ของในหลวง ก็ย่อมทำได้ และตามกฎหมาย “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” เป็น “ทรัพย์สินของแผ่นดิน” จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วน เงินปันผล ที่ได้จากการถือ หุ้นบริษัทต่างๆ ก็มีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายตามปกติ (ข้อมูลทั้งหมด จากเว็บ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และสามารถติดตามการทำงานต่างๆ ของสำนักงานฯ ได้เช่นกัน)

ส่วนรายได้ของ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ก็จะนำไปลงทุนในกิจการต่างๆ เพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมด เมื่อได้มาก็เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป

แต่จะมีเงินส่วนหนึ่ง ที่จะถวายให้ ในหลวง ในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตาม พระราชอัธยาศัย บ้างตามสมควร (ก็อาจถือว่าเป็น เงินเดือน โดยตำแหน่งก็ได้ เราต้องไม่ลืมนะครับว่า เดิมทรัพย์สินตรงนี้ เดิมเป็นของ ราชวงศ์จักรี มาก่อน พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ไปขอของๆ พระองค์ ให้มาเป็นสมบัติชาติ )

2. “ทรัพยสินส่วนพระองค์”

อันนี้แปลง่ายๆ ก็คือ “ทรัพย์สินส่วนตัว” ของในหลวง ซึ่งต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และมูลนิธิต่างๆ ที่ ในหลวง ทรงริเริ่มตั้ง ก็จะนำมาจาก “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ก่อตั้งทั้งสิ้นครับ เช่น

“มูลนิธิอานันทมหิดล” จุดประสงค์ เพื่อมอบทุนให้แก่นักเรียน เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาวิชาสำคัญๆ ที่ขาดแคลนในประเทศ

“มูลนิธิชัยพัฒนา” เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ให้มีความร่มเย็น เป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคง ของประเทศ คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” (ดูรายละเอียดได้ที่ เว็บมูลนิธิชัยพัฒนา) และยังมีอีกหลายๆ มูลนิธิ เช่น “มูลนิธิราชประชาสมาสัย” เพื่อช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคเรื้อน และญาติ เป็นต้น

3. “ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี”

อันนี้เป็น “ทรัพย์สมบัติ” ที่อยู่ภายใต้การดูแลจาก “กรมธนารักษ์” เช่นสิ่งของมีค่า “ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์” ของในหลวงรัชกาลต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะเป็น สำนักพระราชวัง รัฐบาลให้งบประมาณ ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาทแก่สำนักพระราชวัง ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี โดยตรง และมีเลขาธิการพระราชวัง บริหารส่วนหน้าที่ดูแลทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งจัดการงานคลัง หรืองานอื่นๆ อีกมากมาย (ไปดูได้ที่เว็บสำนักพระราชวัง)

ฉะนั้น ใครที่กล่าวหาว่า “ในหลวงทรงได้เงินงบประมาณมาก” จงรู้ไว้ด้วยว่า “งบประมาณที่ได้จากรัฐบาล” ไม่ใช่จะใช้ส่วนพระองค์ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเงินที่จะต้องถวายให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ด้วย รวมทั้งเป็นงบใช้จ่ายเกี่ยวกับ เงินเดือนข้าราชการ ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมแซม ของพระราชวัง ที่ยังใช้งานอยู่ทั้งหมดด้วย

ถ้าจำไม่ผิด เงินที่ถวายส่วนตัว ที่รัฐถวายให้ในหลวง เป็นส่วนพระองค์จริงๆ อย่างเดียว น่าจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี เท่านั้น ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ละพระองค์ ได้น้อยกว่านี้มาก (ข้อมูลตรงนี้เคยได้อ่านจาก นิตยสารสกุลไทย) ซึ่งเงินส่วนนี้ที่ได้รับ ก็จะถูกแยกนำไปเข้าสู่ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” อีกทีหนึ่งครับ และรายได้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวาย ก็จัดอยู่รวมใน ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องเสียภาษีด้วย (มีนักกีฬาเหรียญ โอลิมปิค หรือนักกีฬาเทนนิสชื่อดังอย่าง ภราดร ก็ยังเคยได้รับการงดเว้นภาษีรายได้ จากเงินรางวัลครับ)

ถามว่า : “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” สามารถตรวจสอบได้มั้ย ?

ตอบว่า : ได้ครับ เพราะเป็นทรัพย์สินของรัฐ ประเภทหนึ่ง ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว จึงสามารถตรวจสอบได้ ตามกฎหมายครับ ซึ่งเรื่องนี้ในเว็บของ สำนักพระราชวัง ก็มีบอกไว้ ดูได้จากเว็บ สำนักพระราชวัง เรื่อง สิทธิของประชาชน หรือหากใครคิดว่า สงสัยเรื่องความโปร่งใสเรื่องใด ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ทำเรื่องร้องเรียนได้ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เลยครับ

แต่ถ้าถามว่า : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ต้องเปิดเผย การใช้เงินมั้ย ?

ต้องตอบว่า : ไม่มีหน้าที่ แต่ถึงไม่มีหน้าที่ ต้องเปิดเผย แต่ในทางปฏิบัติ ก็มีการเปิดเผยอยู่ เพื่อทำเป็นบัญชี แต่ไม่จำเป็น ต้องป่าวประกาศทั่วไป แต่ถ้าใครอยากรู้เรื่องไหน ก็ไปขอดูได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้อง ตามระเบียบ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินส่วนนี้ แม้ยกให้แผ่นดินก็จริง แต่ถือว่าเดิม เป็นทรัพย์สินส่วนที่ได้มาจาก ราชวงศ์จักรี ไม่ได้เกิดจากการเก็บภาษีจากประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตย และไม่ใช่จากงบประมาณแผ่นดินนะครับ

ถามว่า : ทรัพย์สินส่วนพระองค์ สามารถตรวจสอบได้มั้ย ?

ตอบว่า : ไม่ได้ครับ ก็เพราะมันเป็นทรัพย์สินส่วนตัว 

ชาติ (ประกอบด้วย 3 สถาบัน) คนไทยทกคนต้องจ่ายภาษี ให้สถาบันฯ ชาติ ทุกคน ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม แล้วทำไมแค่เงินงบประมาณ ที่รัฐบาลให้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างตามข้างต้น กลับมีคนจ้องโจมตี ก็เพราะ คนที่จ้องโจมตี มันไม่ต้องการให้มีสถาบันฯอยู่แล้ว ทุกอย่างจึงล้วนผิดหมด

เงินส่วนพระองค์จริงๆ ปีละประมาณแค่ 100 ล้าน ซึ่งพระองค์ ก็นำไปช่วยเหลือประชาชน อีกต่อหนึ่ง กลับโดน พวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯ จ้องโจมตี แต่ผู้บริหาร ปตท. มีเงินเดือนๆ ละ 13 ล้านบาท ยังไม่รวมโบนัส กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งๆ ที่ ปตท. ก็เป็นของประชาชนแท้ๆ แต่ถูกนักการเมืองนำไปแปรรูปฯ

ฉะนั้นการที่ FOBES นำเสนอว่า ในหลวงเรา รวยที่สุดในโลก จึงไม่เป็นความจริง แต่ถ้านำเสนอว่า ในหลวงคือ กษัตริย์ ที่มีจำนวนประชาชน ร่วมถวายทรัพย์ แด่พระองค์ เพื่อให้พระองค์นำไปพัฒนา ช่วยเหลือความเป็นอยู่ให้ประชาชนดีขึ้น มากที่สุดในโลกอย่างนี้ ถึงจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดครับ

พวกที่ไม่จงรักภักดี ยังโจมตีเรื่อง รถพระที่นั่ง ยี่ห้อมายบัค (may Bach) ขอตอบว่า เป็นรถที่ บริษัท เดมเลอร์ ไครสเลอร์ ได้ทูลเกล้าถวายให้ เนื่องใน “วโรกาสเฉลิมฉลองการครองราชย์ ครบ 60 ปี” เป็นจำนวน 2 คัน ฉะนั้นใครไม่เชื่อ ก็ไปถาม บริษัท เบนซ์ ได้เลย

สมัย รัฐบาลทักษิณ ก็ได้ซื้อถวายเพิ่มอีก 2 คัน เพื่อใช้ทดแทน รถพระที่นั่ง ชุดเก่าที่ทรงใช้มากว่า 30 ปี ส่วนรถยี่ห้ออื่น ไม่ว่าจะเป็น บีเอ็ม หรือ โตโยต้า และ เบนซ์ ล้วนแต่เป็น รถที่ทูลเกล้าถวายฯ จาก บริษัทรถเป็นส่วนใหญ่ (บริษัท เดมเลอร์ มีแผนจะยุบผลิตภัณฑ์ may Bach อีกภายใน 2 ปีข้างหน้า แต่พวกชั่ว คิดล้มเจ้า ยังจะโทษเรื่องการใช้รถราคาแพง ก็น่าจะไปโทษ ทักษิณ มากกว่า เพราะ ในหลวงท่าน ไม่เคยรับสั่งว่าต้องซื้อให้ท่าน)

และเราต้องเข้าใจ คำว่า “ร.ย.ล.” หรือ “ราชยานหลวง” เสียก่อนว่า “เป็นรถสำหรับใช้ ในราชการของ สถาบันฯ” ไม่ใช่รถส่วนพระองค์ ร.ย.ล. อาจเป็นได้ ตั้งแต่รถกระบะที่ใช้งานในวัง ไปจนถึง รถพระที่นั่ง ของพระราชวงศ์ ส่วน รถมายบัค ที่เป็น รถพระที่นั่ง ก็เปรียบ เสมือน รถประจำตำแหน่ง ของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ รถส่วนพระองค์ ของ ในหลวง นะครับ โปรดทำความเข้าใจด้วยครับ

ส่วนเรื่อง “พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระพี่นาง” ที่โดนโจมตี จาก พวกไม่จงรักภักดีฯ ข้อนี้ ผมไม่อยากเถียง เพราะคนที่รัก ก็มองอีกมุมหนึ่ง คนที่ไม่รัก ไม่ภักดี ย่อมต้องมองอีกมุมหนึ่ง เถียงไปก็ไร้ประโยชน์ รังแต่จะสร้าง ความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ไปเปล่าๆ และจะเป็นการเข้าทาง พวกไม่จงรักภักดีฯ ได้ เพราะพวกนี้ เป็นฝ่ายอยู่ในที่มืด พวกนี้ไม่มีอะไรต้องเสียอยู่แล้ว แต่เราผู้จงรักภักดีฯ อาจกลายเป็นเหยื่อเอง

ผมบอกได้แค่เพียง งบประมาณที่ซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่ๆ เจ๋งสุดๆ ให้พวกบรรดา สส. และ สว. รวมถึง คณะรัฐมนตรี ทั้งสภา รวมกับงบซื้อรถหรูๆ ประจำตำแหน่งรัฐมนตรี ที่เปลี่ยนก็ออกบ่อยๆ เป็นเงินมากมาย ก็ยังไม่เห็นมีใครโวยกันเลย ฉะนั้น การเถียงกันเรื่องแบบนี้ จึงยากที่จะจบ มันขึ้นอยู่กับมุมมอง และความรู้สึกด้วย

(แต่ถ้าเรามองโลกในแง่ดี ก็จะรู้ว่า ช่างฝีมือทุกแขนงอยากมีที่ ที่ได้แสดงฝีมือ เพื่อเป็นการฝึกฝน และเป็นการเรียนรู้ เพื่อสืบสานงานศิลปะชั้นสูง ที่ยากนักจะได้มีโอกาสได้ฝึกฝน อย่างเห็นเป็นรูปธรรม และใช้งานได้จริงๆ ศิลปะจากงานสร้าง พระเมรุ บางอย่าง กำลังจะสูญหายไป เหลือแต่ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนั่นหมายถึง ศิลปะที่ตายแล้ว และศิลปกรรม ในการสร้างพระเมรุ นั้น ไม่ใช่มีเฉพาะสิ่งที่เก่าๆ ที่สืบทอดมาเท่านั้น แต่ได้มีการประยุกต์ และคิดค้นใหม่ เพิ่มเติมเข้าไปด้วยหลายอย่าง ศิลปกรรมบางอย่าง ไม่อาจพบเห็นได้จากงานทั่วไป จะมีให้ได้เห็นเฉพาะ งานพระราชพิธี เท่านั้น "ศิลปะบางครั้ง วัดกันไม่ได้ที่ราคา แต่มันอยู่ที่คุณค่ามากกว่า" หากผมอยากจะมองในแง่ร้าย ก็สามารถคิดได้ สามารถหาเหตุผลมาโจมตีได้ เหมือนกัน แต่ผมเลือกที่จะอยู่ ฝั่งเข้าใจเหตุผล ในแง่มองโลกในแง่ดีมากกว่า และในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมยินดีที่ถวายให้ พระองค์ อย่างสมพระเกียรติ)

อย่าลืมนะครับว่า ในหลวง ร.9 คือบุคคล ไม่ใช่สถาบันฯ แต่ในหลวง ร.9 คือส่วนหนึ่งของ สถาบันพระมหากษัตริย์ การที่ FOBES จัดอันดับ เป็นเรื่องของ “ทรัพย์สินที่รวมส่วนของสถาบันฯ” เข้าไปคิดด้วย และไม่ใช่เงินสดทั้งหมด เป็นเพียงค่าประมาณการว่า ถ้ามีการขาย จะมีมูลค่าประมาณนั้น แต่ในความเป็นจริง แทบไม่มีการขาย ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เลยน้อยมาก เช่น ที่ดินก็มีแต่ให้เช่า เป็นส่วนใหญ่ และให้เช่าในราคาถูก กว่าราคาตลาดหลายเท่ามาก

แต่ทั้งหมดที่เขียนมา พวกไม่จงรักภักดี เขาไม่เชื่อผมหรอก พวกนี้ก็ยังคิดโทษอยู่อย่างเดียวว่า คนไทยจน คนไทยไม่เจริญเท่าญี่ปุ่น เพราะสถาบันฯ เป็นต้นเหตุทั้งหมด เหตุผลอื่นๆ เป็นเรื่องรองๆ และไม่สำคัญไปหมด

หากผมจะถามเล่นๆ ว่า จะมีใครกล้าเอาหัว และตระกูล 7 ชั่วโคตร ของตัวเอง เป็นประกันได้บ้างว่า หากไม่มีสถาบันฯ แล้ว ไทยเราจะเจริญแบบ ญี่ปุ่น กับสิงคโปร์ จะไม่เป็นแบบ พม่า หรือ ฟิลิปปินส์ จะมีนักการเมือง ที่โกงกินกันน้อยลง จากการจัดอันดับของต่างประเทศ และคนไทยจะรักกัน ไม่แตกแยก ไม่ฆ่ากัน เพื่อชิงอำนาจ?

ขอย้ำจุดประสงค์ของผมอีกครั้ง ผมไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิด ของพวก ไม่จงรักภักดีสถาบันฯ เลยแม้แต่คนเดียว แต่ผมอยากเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยเป็นภูมิต้านทานทางความคิด ให้แก่ คนที่จงรักภักดีสถาบันฯ และให้คนไทยได้รับรู้ว่า “ประเทศไทย มีผู้คิดล้มล้างระบบ สถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่จริง”

"การจ้องด่า และจับผิดนั้นทำง่าย แต่การพยายามทำดี โดยไม่มีที่ตินั้น ทำยากที่สุด แม้องค์ศาสดาของทุกๆ ศาสนาเอง ก็ยังไม่พ้นคนนินทาเลย ธรรมดาของโลกครับ" อาจารย์ บวรศักดิ์ ได้กล่าวไว้ .....


บทความดีๆ โดย ... อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ที่มาบทความ ... เฟสบุ๊ค คุณพยัคฆ์ ปกป้ององค์ราชันย์

พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 >> http://law.longdo.com/law/297/rev479 

 

 

 

 

 
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
All Rights Reserved    
admin@livinginthailand.com