Living in Thailand  
index Living Travel
  กฎหมายไทย  

พระราชบัญญัติ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
หมวด ๑
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา ๘

  • ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย

    (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งสรรหาและแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
    เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    และการสื่อสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือด้านอื่น ทั้งนี้
    ต้องเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    (๒) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ

    (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ
    คณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
    และอัยการสูงสุด

    (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนเก้าคน ซึ่งสรรหาและแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
    และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
    ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน
    หรือด้านอื่น ทั้งนี้ ต้องเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสำนักงาน
    เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
  • หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    รวมทั้งการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อดำรงตาแหน่งแทนผู้ที่พ้นจากตำแหน่ง
    ก่อนวาระตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความโปร่งใส
    และความเป็นธรรมในการสรรหา

มาตรา ๙

  • ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจานวนแปดคนทำหน้าที่คัดเลือกบุคคล
    ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    ตามมาตรา ๘ (๔) ประกอบด้วย

    (๑) บุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนสองคน
    (๒) บุคคลซึ่งประธานรัฐสภาแต่งตั้งจำนวนสองคน
    (๓) บุคคลซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินแต่งตั้งจำนวนสองคน และ
    (๔) บุคคลซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่งตั้งจำนวนสองคน

  • ในกรณีที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการสรรหา
    ในส่วนของตนได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้สำนักงานเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรี
    พิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมเป็นกรรมการสรรหาแทนผู้มีอำนาจแต่งตั้งนั้น
  • ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหาและ
    เลือกกรรมการสรรหาอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และให้สำนักงานปฏิบัติหน้าที่
    เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา
  • ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการสรรหาว่างลง ให้ดำเนินการเพื่อให้มีกรรมการสรรหาแทนใน
    ตำแหน่งนั้นโดยเร็ว ในระหว่างที่ยังไม่ได้กรรมการสรรหาใหม่ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย
    กรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
  • กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือ
    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๘ (๔)

มาตรา ๑๐

  • ในการสรรหาประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    ตามมาตรา ๘ (๔) ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๘ (๑) หรือ
    ตามมาตรา ๘ (๔) แล้วแต่กรณี รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑ และ
    ยินยอมให้เสนอชื่อเข้ารับคัดเลือกเท่ากับจำนวนประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการ
    ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๘ (๔) ที่จะได้รับแต่งตั้ง
  • เมื่อได้คัดเลือกบุคคลเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    ตามมาตรา ๘ (๔) ครบจำนวนแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาแจ้งรายชื่อประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑)
    หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๘ (๔) พร้อมหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้าม
    รวมทั้งความยินยอมของบุคคลดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑)
    หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๘ (๔)
  • ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    ตามมาตรา ๘ (๔) ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๑

  • ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
    ต้องห้าม ดังต่อไปนี้

    (๑) มีสัญชาติไทย

    (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

    (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

    (๔) ไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษ
    สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

    (๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
    หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

    (๖) ไม่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามกฎหมาย

    (๗) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการ
    หรือผู้ดำรงตาแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่
    พรรคการเมือง

มาตรา ๑๒

  • ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตาแหน่งคราวละสี่ปี
  • เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการ
    ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
    อยู่ในตพแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่าประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่
    เข้ารับหน้าที่
  • ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
    แต่จะดำรงตาแหน่งเกินสองวาระไม่ได้

มาตรา ๑๓

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ ประธานกรรมการและ
    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

    (๑) ตาย

    (๒) ลาออก

    (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ
    หย่อนความสามารถ

    (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑

  • ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ที่ได้รับ
    แต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นดำรงตาแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการ
    ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระที่เหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการ
    ผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
  • ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการ
    ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    ตามวรรคสอง และในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่
    ประธานกรรมการเป็นการชั่วคราว

มาตรา ๑๔

  • การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
    จำนวนกรรมการที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
  • ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือ
    ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการ
    และรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการ
    คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
  • การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
    ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  • การประชุมของคณะกรรมการอาจกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นได้ตามที่
    คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๑๕

  • กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่ที่ประชุมพิจารณา
    ให้แจ้งการมีส่วนได้เสียของตนให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม และห้ามมิให้ผู้นั้นเข้าร่วม
    ประชุมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

มาตรา ๑๖

  • คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) จัดทำแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    ที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
    ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ดำเนินกิจกรรมตามแผนแม่บท
    ตาม (๑) รวมทั้งจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทดังกล่าว

    (๓) กำหนดมาตรการหรือแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้
    เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

    (๔) ออกประกาศหรือระเบียบเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

    (๕) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยัง
    ต่างประเทศ

    (๖) ประกาศกำหนดข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นแนวทางให้ผู้ควบคุมข้อมูล
    ส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลปฏิบัติ

    (๗) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการตราหรือปรับปรุงกฎหมายหรือกฎที่ใช้บังคับอยู่ใน
    ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    (๘) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกาหรือทบทวนความเหมาะสมของ
    พระราชบัญญัตินี้อย่างน้อยทุกรอบห้าปี

    (๙) ให้คำแนะนาและคำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูล
    ส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

    (๑๐) ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้

    (๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดทักษะการเรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล
    ส่วนบุคคลให้แก่ประชาชน

    (๑๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูล
    ส่วนบุคคล

    (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจ
    ของคณะกรรมการ

มาตรา ๑๗

  • ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการได้รับเบี้ยประชุม
    และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  • ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
    ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ
    กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๘

  • คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
    อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
  • การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นาความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับ
    โดยอนุโลม


       
พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๑ - มาตรา ๗
หมวด ๑ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๘ - มาตรา ๑๘
หมวด ๒ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๑๙ - มาตรา ๒๑
ส่นที่ ๒ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๒๒ - มาตรา ๒๖
ส่วนที่ ๓ การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๒๗ - มาตรา ๒๙
หมวด ๓ สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๓๐ - มาตรา ๔๒
หมวด ๔ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๔๓ - มาตรา ๗๐
หมวด ๕ การร้องเรียน มาตรา ๗๑ - มาตรา ๗๖
หมวด ๖ ความรับผิดทางแพ่ง มาตรา ๗๗ - มาตรา ๗๘
หมวด ๗ บทกำหนดโทษ ส่วนที่ ๑ โทษอาญา มาตรา ๗๙ - มาตรา ๘๑
  ส่วนที่ ๒ โทษทางปกครอง มาตรา ๘๒ - มาตรา ๙๐
บทเฉพาะกาล   มาตรา ๙๑ - มาตรา ๙๖
หมายเหตุ      
     
  All Rights Reserved  
  admin@livinginthailand.com