Living in Thailand พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ. ๒๕๕๙
       

       
พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ. ๒๕๕๙

มาตรา ๑

  • พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙”

มาตรา ๒

  • พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓

ในพระราชบัญญัตินี้

  • “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
    (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘
  • “ร่างรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้นและต้องจัดให้มีการออกเสียง
  • “การออกเสียง” หมายความว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา ๓๙/๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
    (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)
    พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙
  • “ผู้มีสิทธิออกเสียง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญ
    แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พุทธศักราช ๒๕๕๙
    และตามพระราชบัญญัตินี้
  • “วันออกเสียง” หมายความว่า วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้เป็นวันออกเสียงประชามติ
  • “เขตออกเสียง” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตออกเสียงประชามติ
  • “หน่วยออกเสียง” หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนออกเสียงประชามติ
  • “ที่ออกเสียง” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนออกเสียงประชามติและให้หมายความรวมถึง
    บริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่ออกเสียงประชามติ
  • “จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร

มาตรา ๔

  • ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้รัฐอุดหนุนหรือจัดสรรค่าใช้จ่ายแก่คณะกรรมการ
    การเลือกตั้งและหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่สนับสนุนการออกเสียง

มาตรา ๕

  • ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
    หรือคำสั่งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๖

  • เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับมอบร่างรัฐธรรมนูญจากคณะรัฐมนตรีและในกรณีได้รับมอบประเด็น
    เพิ่มเติมจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อดำเนินการให้มีการออกเสียงให้ถือว่าการดำเนินการของคณะกรรมการ
    การเลือกตั้งเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๐ (๑)แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
    คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่
    ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐
    และตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗

  • บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต
    และไม่ขัดต่อกฎหมาย