Living in Thailand

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง


กลับไปหน้าแรก    

ว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๖๑


โดยที่เป็นการสมควรที่จะให้มีการออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกาหนดไว้

อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๒๔ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
และคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดาเนินการตามกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๑ และมาตรา ๒๒ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบ
มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการประชุมครั้งที่ ๔๔/๒๕๖๑ (๘) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ ๑

  • ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้ง
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑”

ข้อ ๒

  • ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในระเบียบนี้

  • “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
    ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • “เขตเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องที่ที่กาหนดเป็นเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
  • “จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย
  • “อาเภอ” หมายความรวมถึงเขตด้วย
  • “ตาบล” หมายความรวมถึงแขวงด้วย
  • “ศาลากลางจังหวัด” หมายความรวมถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานครด้วย
  • “ที่ว่าการอาเภอ” หมายความรวมถึงสานักงานเขตด้วย
  • “สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจาจังหวัด” หมายความรวมถึงสานักงานคณะกรรมการ
    การเลือกตั้งประจากรุงเทพมหานครด้วย

ข้อ ๔

  • ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ ให้ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    ประจาจังหวัดตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๐
    เป็นผู้อานวยการการเลือกตั้งประจาจังหวัด โดยมีหน้าที่และอานาจตามที่กาหนดไว้ในระเบียบนี้

ข้อ ๕

  • ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
  • ในกรณีที่ระเบียบนี้ไม่ครอบคลุมถึงหรือมีปัญหาข้อขัดข้องในทางปฏิบัติในประเด็นอื่น
    ที่มิได้มีการระบุไว้ในระเบียบนี้ หรือมีความจาเป็นต้องยกเว้นการปฏิบัติหรือย่นระยะเวลาหรือขยายระยะเวลา
    การปฏิบัติตามระเบียบนี้ ซึ่งไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติของกฎหมาย ให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    เสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี

ข้อ ๖

  • ภายในสามวันนับจากวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการประกาศกาหนด
    จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ให้ดาเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ใช้จานวนราษฎรทั้งประเทศตามประกาศสานักทะเบียนกลาง เรื่อง จานวนราษฎร
ทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ อันถือได้ว่าเป็นที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มี
การเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยห้าสิบคน จานวนที่ได้รับให้ถือว่า
เป็นจานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๒) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (๑) ให้มีสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

(๓) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจานวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

(๔) เมื่อได้จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (๒) และ (๓) แล้ว
ถ้าจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสามร้อยห้าสิบคน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคานวณ
ตาม (๓) มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่ม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคานวณนั้นในลาดับ
รองลงมาตามลาดับจนครบจานวนสามร้อยห้าสิบคน

ข้อ ๗

  • จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็น
    เขตเลือกตั้งเท่าจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยให้ผู้อานวยการการเลือกตั้งประจาจังหวัดพิจารณา
    แบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจานวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน
    ดังต่อไปนี้

(๑) ให้รวมอาเภอต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคานึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน ความสะดวก
ในการคมนาคมระหว่างกัน และการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ถ้าการรวมอาเภอในลักษณะนี้
จะทาให้มีจานวนราษฎรมากหรือน้อยเกินไป ให้แยกตาบลของอาเภอออกเพื่อให้ได้จานวนราษฎรพอเพียง
สาหรับการเป็นเขตเลือกตั้ง แต่จะแยกหรือรวมเฉพาะเพียงบางส่วนของตาบลไม่ได้

(๒) ในกรณีที่การกาหนดพื้นที่ตามเกณฑ์ใน (๑) จะทาให้จานวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
มีจานวนไม่ใกล้เคียงกันหรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน ให้ดาเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามสภาพของชุมชน
ที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจาในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและสามารถเดินทาง
ติดต่อกันได้โดยสะดวก โดยจะต้องทาให้จานวนราษฎรมีจานวนใกล้เคียงกันมากที่สุด
การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีประกาศตามข้อ ๖

ข้อ ๘

  • ให้ผู้อานวยการการเลือกตั้งประจาจังหวัดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง
    ตามข้อ ๗ อย่างน้อยสามรูปแบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัด
    เป็นเวลาสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ซึ่งแต่ละรูปแบบต้องประกอบด้วย

(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับอาเภอหรือตาบล หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต

(๒) จานวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และผลต่างของจานวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
จากจานวนเฉลี่ยราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น

(๓) เหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้ง

(๔) แผนที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง

  • ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดไว้ ณ สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจาจังหวัด
    ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอาเภอ สานักงานเทศบาล ที่ทาการองค์การบริหารส่วนตาบล และให้ประชาสัมพันธ์
    ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ในจังหวัดด้วย
  • ในกรณีพรรคการเมือง ส่วนราชการ หรือบุคคลใดต้องการรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้
    ให้ขอคัดสาเนาจากสานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจาจังหวัด โดยเสียค่าใช้จ่ายเองตามวิธีการ
    ที่สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจาจังหวัดกาหนด

ข้อ ๙

  • ภายในสามวันนับแต่สิ้นสุดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและ
    ประชาชนในจังหวัด ตามข้อ ๘ ให้ผู้อานวยการการเลือกตั้งประจาจังหวัดนาความเห็นและข้อเสนอแนะ
    ของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัด ประกอบการพิจารณาการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดอีก
    ครั้งหนึ่ง แล้วให้เสนอผลการพิจารณา รวบรวมสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของพรรคการเมืองและ
    ประชาชนในจังหวัด พร้อมผลการพิจารณาข้อเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดอย่างน้อยสามรูปแบบ
    เรียงตามลาดับความเหมาะสมต่อคณะกรรมการในวันถัดไป

ข้อ ๑๐

  • ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับรูปแบบการแบ่งเขตตามข้อ ๙
    จากผู้อานวยการการเลือกตั้งประจาจังหวัด ให้คณะกรรมการประชุมพิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง
    ให้แล้วเสร็จ

ข้อ ๑๑

  • เมื่อคณะกรรมการได้ดาเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการประกาศ
    การแบ่งเขตเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๗๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑

ข้อ ๑๒

  • เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
    ให้คณะกรรมการประกาศจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี
    และจานวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอาเภอ
    หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งในคราวนั้น โดยถือเขตเลือกตั้งที่มีการประกาศกาหนดไว้ตามข้อ ๑๑

...................................................

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อิทธิพร บุญประคอง
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง


 
       
All right reserved      
admin@livinginthailand.lcom