Living in Thailand   กฏหมายจราจรใหม่      
              March 21, 2017

แก้ไข - เพิ่มเติม กฏหมายจราจรทางบก
 

go to page

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๗ มีคำสั่งให้แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้

พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ในวันประกาศในราชกิจจินุเบกษา


ประกาศ ราชกิจจรนุเกษา วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๖๐

เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฏหมายว่าด้วยการจราจรทางบก


โดยที่ปัจจุบันมีผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยการจราจรทางบก จำนวนมาก โดยมีพฤติกรรมหลักเลี่ยงและเพิกเฉยต่อการบังคับใช้กฏหมาย ซ้ำยังปรากฏว่ามีการ กระทำความผิดดังกล่าวซ้ำอีกในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน จึงจำเป็นต้องปรับปรุง กลไกและกำหนดมาตรการทางกฏหมายเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้มงวดในการบังคับใช้กฏหมาย อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบการคมนาคมขนส่งและความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

........................................

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ของมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญยัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

  • “เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใต้การควบคุมดูแลของบุคคลดังกล่าวมีอํานาจเคลื่อนย้ายรถที่หยุด หรือจอดอยู่ อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย รถดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนด
  • การเคลื่อนย้ายรถหรือใช้เครื่องมือบังคับให้รถที่หยุดหรือจอดอยู่ไม่ให้เคลื่อนย้ายได้ตามวรรคสอง เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดสําหรับความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามมาตรานี้ เว้นแต่ความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  • เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชําระค่าใช้จ่ายในการที่รถถูกเคลื่อนย้ายหรือการใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้ เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๒๓ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

  • “ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสาร รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ดังกล่าว ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย”

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

  • “มาตรา ๑๔๑/๑ ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ทางบก มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตําแหน่งตั้งแต่สารวัตรขึ้นไป มีหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง และจํานวนค่าปรับที่ค้างชําระให้ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ครบกําหนด ชําระค่าปรับตามที่ระบุในใบสั่ง และให้ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถทําการชําระค่าปรับที่ค้างชําระด้วยวิธีการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา ๑๔๑ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

  • การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถ แล้วแต่กรณี ณ ภูมิลําเนาของผู้นั้น ทั้งนี้ ตามแบบที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ กําหนด และให้ถือว่าผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถได้รับแจ้งเมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่ง

(๒) ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถคันใดไม่ชําระค่าปรับตาม (๑) ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งจํานวนค่าปรับที่ค้างชําระพร้อมหลักฐานตาม (๑) ไปยังนายทะเบียน และให้นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลและแจ้งให้ผู้มาติดต่อขอชําระภาษีประจําปีสําหรับรถคันนั้นทราบ เพื่อไปชําระค่าปรับที่ค้างชําระภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้มาติดต่อขอชําระภาษีประจําปี เป็นเพียงตัวแทนเจ้าของรถ ให้ผู้มาติดต่อแจ้งให้เจ้าของรถทราบเพื่อไปชําระค่าปรับภายในระยะเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้นายทะเบียนรับชําระภาษีประจําปีสําหรับรถคันนั้นไว้ โดยออกหลักฐานชั่วคราวแทนการออก เครื่อง หมายแสดงการเสียภาษีประจําปีให้เจ้าของรถหรือ ตัวแทนเจ้าของรถแทน

  • หลักฐานชั่วคราวตามวรรคหนึ่งให้ใช้แทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจําปี โดยให้มีอายุสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้ออกให้

(ข) ในกรณีที่เจ้าของรถได้ชําระค่าปรับที่ค้างชําระครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่กําหนด ใน (ก) ให้เจ้าของรถหรือตัวแทนเจ้าของรถนําหลักฐานแสดงการชําระค่าปรับที่ได้รับจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อให้ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจําปีสําหรับรถคันนั้น

(ค) ในกรณีที่เจ้าของรถหรือตัวแทนเจ้าของรถที่ได้รับหนังสือแจ้งตาม (ก) ประสงค์จะชําระค่าปรับในวันที่มาติดต่อขอชําระภาษีประจําปี ให้นายทะเบียนมีอํานาจรับชําระค่าปรับตามจํานวนที่ค้างชําระแทนได้ โดยให้นายทะเบียนรับชําระภาษีประจําปีสําหรับรถคันนั้นและออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ประจําปีให้เจ้าของรถหรือตัวแทนเจ้าของรถ

(ง) ในกรณีที่เจ้าของรถไม่ชําระค่าปรับที่ค้างชําระหรือชําระไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดใน (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งนายทะเบียนให้งดการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจําปีสําหรับรถคันนั้น และแจ้งให้พนักงานสอบสวนดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจต่อไป

  • ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถผู้ใดเห็นว่า ตนมิได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถนั้น ให้ทําหนังสือโต้แย้งข้อกล่าวหานั้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จากนายทะเบียนตาม (ก) ส่งไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง หรือสถานที่ที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ การทําหนังสือโต้แย้งให้ใช้วิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือสํานักงานตํารวจแห่งชาติจะกําหนด วิธีการอื่นใดด้วยก็ได้
  • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานจราจรได้รับหนังสือโต้แย้งตามวรรคสอง หากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานจราจรยังคงยืนยันและเห็นสมควรดําเนินคดีต่อผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถผู้นั้น ให้ส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดําเนินการฟ้องต่อศาลต่อไป แล้วแจ้งผลให้ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถทราบ
  • เมื่อได้มีการชําระค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกัน และในกรณีที่มีการเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ ไว้ ให้ผู้ขับขี่นําหลักฐานการชําระค่าปรับไปขอรับใบอนุญาตขับขี่คืนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เรียกเก็บ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่คืน ให้ถือว่าหลักฐานแสดงการชําระค่าปรับเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ มีกําหนดสิบวันนับแต่วันที่ชําระค่าปรับ
  • การรับชําระและการนําส่งเงินค่าปรับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกกําหนด
  • เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง (๒) (ก) ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หักไว้เป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดเก็บหรือค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานในอัตราร้อยละห้าของจํานวนเงินที่ได้รับ โดยให้นําไปใช้จ่ายได้เช่นเดียวกับเงินงบประมาณตามระเบียบที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกําหนด ส่วนเงินที่เหลือให้นําส่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
  • การดําเนินการใดๆ ของพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนตามมาตรานี้ สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกกําหนด”

ข้อ ๔ บทบัญญัติในมาตรา ๑๔๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๑๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งนี้ มิให้ใช้บังคับกับใบสั่งที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้ ก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ โดยให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๑๔๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๑๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับกับใบสั่งดังกล่าว

ข้อ ๕ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้

ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

 

 
     
All Rights Reserved