|
๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา ๒๔๖ - ๒๕๑ |
|
มาตรา ๒๔๖ |
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
- กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕ โดยเคยเป็นรัฐมนตรี กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือเคยรับราชการในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางบริหารในหน่วยราชการที่อำนาจบริหาร เทียบเท่าอธิบดี หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์ ผู้แทนอง๕การพัฒนาเอกชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพที่มี องค์การพัฒนาเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพนั้นให้การรับรองและเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหา
- การสรรหาและเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ มาให้บังคับโดยอนุโลม โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนห้าคน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและ ปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
- ให้กรรมการป้องกันและปราบปรามธุจริตประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
|
มาตรา ๒๔๗ |
- กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
- กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
- การพ้นจากตำแหน่ง การสรรหา และการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๙ และมาตรา ๒๑๐ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
|
มาตรา ๒๔๘ |
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดกระทำการขาดความ เที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรง ตำแหน่งอย่างร้ายแรง เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
- มติของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
|
มาตรา ๒๔๙ |
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำการตามวรรคหนึ่งเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้ว ให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา
- กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติผู้ถูกล่าวหาจะปฎิบัติหน้าที่ระหว่างนั้นมิได้ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยกคำร้องดังกล่าว
- ในกรณีที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ได้ตามวรรคสาม และมีกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เหลืออยู่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ทั้งหมด ให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นกรรมการป้องกันและปราบปราม ทุจริตแห่งชาติเป็นการชั่วคราว โดยใหู้้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต แห่งชาติที่ตนดำรงตำแหน่งแทนจะปฎิบัติหน้าที่ได้ หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าผู้นั้นกระทำความผิด
|
มาตรา ๒๕๐ |
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอกนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งเสนอต่อวุฒิสภาตาม มาตรา ๒๗๒ และมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๗๕
- ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไปร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควร ดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต
- ตรวจสอบคยามถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งตาม มาตรา ๒๕๙ และมาตรา ๒๖๔ ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติกำหนด
- กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- รายงานผลของการตรวจสอบและผลปฎิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตุต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกปี ทั้งนี้ ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดแผยต่อสาธารณะด้วย
- ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
- ให้นำบทพระราชบัญญัติมาตรา ๒๑๓ มาใช้บังคับกับการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
- ประธานกรรมการป้องกันแลุปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติเป็น เจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
|
มาตรา ๒๕๑ |
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามธุจริตแห่ง ชาติที่เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามธุจริตแห่งชาติเป้นผู้งบัคับบัญชาขึ้นตรงต่อ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
- การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ และวุฒิสภา
- ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|