|
|
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป |
|
|
มาตรา ๑๙๗ |
- การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุธติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธพระมหากษัตริย์
- ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
- การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัยหรือตกเป็นจะเลยในคดีอาญา เป็นกรณีที่กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจาณาพิพากษาคดี หรือมีเหตุวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
- ผู้พิพากษาและตุลาการจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได
|
มาตรา ๑๙๘ |
- บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ
- การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ ตามกฎหมายสำหรับพิจารพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้
- การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาเพื่อ ใช้แำก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ จะกระทำมิได
|
มาตรา ๑๙๙ |
- ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชื้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ
- หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
|
มาตรา ๒๐๐ |
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย
- การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาและตุลาการในศาลอื่นนอกจากศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร พ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจพิพากษาคดีและวิธีพิจารณาของศาลดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลนั้น
|
มาตรา ๒๐๑ |
- ก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฎิญณต่อพระบาทสมเด็จพระมหากษัตริย์ ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
- "ข้าพระพุธเจ้า (ชื่อผู้ปฎิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฎิญาณว่า ข้าพระพุธเจ้าจะจงรัภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และปฎิบัติหน้าที่ ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความ สงบสุขแห่งราชอณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฎิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ
|
มาตรา ๒๐๒ |
- เงินเดือน เงินเดือนประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ จะนำระบบบัญชีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้
- ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจรตแห่งชาติ และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ด้วยโดยอนุโลม
|
มาตรา ๒๐๓ |
- บุคคลดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม กรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการของศาลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในเวลาเดียวกันมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการโยตำแหน่งหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|