|
|
ส่วนที่ ๕ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา |
|
|
มาตรา ๑๓๖ |
- ในกรณีต่อไปนี้ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน
- การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๙
- การปฎิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาตามมาตรา ๒๑
- การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๑๔๖๗ ตามมาตรา ๒๒
- การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา ๒๓
- การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ตามมาตรา ๑๒๗
- การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา ๑๒๗
- การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๒๘
- การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาสามมาตรา ๑๓๗
- การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๔๕
- การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ตามมาตรา ๑๕๑
- การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามมาตรา ๑๕๓ วรรคสอง
- การแถลงนโยบายตามมาตรา ๑๗๖
- การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๗๙
- การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงครามสามมาตรา ๑๘๙
- การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐
- การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๑
|
มาตรา ๑๓๗ |
- ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน
- ในการประชุมร่วมก้นของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ลุสภาจะต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|