รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐  
  หมวด ๖ รัฐสภา  
  มาตรา ๑๑๑ - ๑๒๑  
    ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา    
มาตรา ๑๑๑
  • วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวมหนึ่งร้อยห้าสิบคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้น หักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของสมาชิกวุฒิสภาทีมาจากากรเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
  • ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ และยังมิได้มีการเลือกตั้ง หรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างแล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
  • ในกรณีที่มีเหตุใดๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้า ของจำนวนสมาชิก วุฒิสภาทั้งหมาด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหา ให้ได้สมาชิกวุฒิสภา ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่ง เพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๒
  • การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัด ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มีสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละ หนึ่งคน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้หนึ่งเสียง และให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
  • เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา
  • หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกตั้ง และการหาเสียงเลือกตั้งของสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๑๓
  • ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษา ในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคน และตุลาการในศาล ปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรการทำหน้าที่ สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๑๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการ การเลือกตั้ง แล้วแจ้งผลการสรรหาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลผู้ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
  • ให้กรรมการ ตามวรรคหนึ่งเลือกกันเองให้กรรการผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ
  • ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยกรรการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๔
  • ให้คะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา เนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสม จากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กร ต่างๆในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการ ตามอำนาจหน้า ที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เท่าจำนวนที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา ๑๑๑ วรรคหนึ่ง
  • ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการ ปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาส และความเท่าเทียม กันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาพตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ทางสังคมด้วย
  • หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา
มาตรา ๑๑๕
  • บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อ เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
    1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
    2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
    3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
    4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิที่มาจากการเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

      ก) มีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัคร รับ เลือกตั้ง

      ข) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

      ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา

      ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ห้าปี

    5. ไม่เป็นบุพการีคู่สมรสหรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

6. ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็นสมาชิกเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการ เป็นสมาชิกการดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้ รับการเสนอชื่อ

7. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ

8. เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)

9. ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี

มาตรา ๑๑๖
  • สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมิได้
  • บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปีจะเป็นรัฐมนตรี หรือ ผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้
มาตรา ๑๑๗
  • สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภาที่ มาจากการสรรหาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา
  • สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผล การสรรหา แล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
  • ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภา ขึ้นใหม่
มาตรา ๑๑๘
  • เมื่อวาระของวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งใหมเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ วาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
  • เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหาและระยะเวลาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งต้องทำการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาสิ้นสุดลง
มาตรา ๑๑๙ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อ
  1. ถึงคราวออกตามวาระ
  2. ตาย
  3. ลาออก
  4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๕
  5. กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๖๕ หรือ มาตรา ๒๖๖
  6. วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพ ตามมาตรา ๙๑ หรือศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา ๒๓๙ วรรคสองหรือมาตรา ๒๔๐ วรรคสาม ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลมีคำวินิจฉัย หรือมีคำสั่งแล้วแต่กรณี
  7. ขาดประชุมจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้ รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
  8. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๑๒๐
  • เมื่อตำแหน่งวุฒิสภาวางลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๑๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ และ มาตรา ๑๑๘ มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในกรณีดังกล่าวให้สมาชิกวุฒิสภาผู้เข้ามาแทนตำแหน่ง ที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของสมาชิกสภาที่ว่างลงจะเหลือไม่ถึง หนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการเลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้
มาตรา ๑๒๑
  • ในการที่วุฒิสภาจะพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น คณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเหนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำเป็น แล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อหระกับการพิจารณาต่อไป
  • การดำเนินการของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา