Living in Thailand ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ....  

       
  บทเฉพาะกาล  
 
 

มาตรา ๓๐๔

  • ให้คณะองคมนตรีซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๓๐๕

  • ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ทาหน้าที่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่า จะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๓๖
  • ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้าบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้ ประธาน สภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
  • ในวาระเริ่มแรก หากปรากฏว่าเมื่อต้องมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๓๖ แล้ว แต่ยัง ไม่มีวุฒิสภา ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทาหน้าที่วุฒิสภาต่อไป เว้นแต่การพิจารณาให้บุคคลดารงตาแหน่งและ การถอดถอนจากตาแหน่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าจะมีวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ และกิจการใดที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ดาเนินการในระหว่างเวลาดังกล่าว ให้มีผลเป็นการดาเนินการของวุฒิสภา และในกรณีที่บทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
  • มิให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๙ บทบัญญัติเกี่ยวกับวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ บทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้ดารงตาแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๐๖ มาตรา ๒๑๙ วรรคสาม มาตรา ๒๔๗ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้บุคคลดารงตาแหน่งทางการเมือง มาใช้บังคับกับการดารงตาแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๒ มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๓๐๖

  • เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จาเป็น ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปและสิ้นสุดลงในวันเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามมาตรา ๑๓๖
  • เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดารงตาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่หรือผู้ดารงตาแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง ภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตาแหน่งตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๐๗

  • ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดาเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติดังต่อไปนี้ แล้วเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยมิให้นา บทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินตามมาตรา ๑๔๗ วรรคสอง และมาตรา ๑๕๐ มาใช้บังคับ ในกรณีนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กาหนด ดังนี้

(๑) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

(๒) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๕๙ (๒) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) และ (๑๒) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

(๓) ร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีความจาเป็นเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญนี้และได้ยกร่างและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

  • ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยในคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นต้องประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่น้อยกว่าสองคนเป็นกรรมาธิการด้วย
  • เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง (๑) หรือ (๒) แล้ว ก่อนนาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๖๓
  • ในกรณีที่พ้นกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่แล้วเสร็จ ให้ถือเสมือนว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ดาเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญภายในเจ็ดวันเพื่อพิจารณา และให้นาความในมาตรา ๑๖๓ มาใช้บังคับ แล้วให้นายกรัฐมนตรีดาเนินการตามมาตรา ๑๕๖ โดยพลัน

(๒) ให้นายกรัฐมนตรีนาร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยพลันเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

  • ในระหว่างที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามวรรคหนึ่ง (๑) ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ
  • ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติใดแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดาเนินการต่อไป ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยในคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นต้องประกอบด้วยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามเป็นกรรมการ

มาตรา ๓๐๘

  • ในวาระเริ่มแรกนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

(๑) ให้ดาเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน และดาเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๐๗ วรรคหนึ่ง (๑) มีผลใช้บังคับ โดยให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งทาหน้าที่ดาเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ แทนคณะกรรมการดาเนินการจัดการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๖๘
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปครั้งแรกภายหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็น สมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งหรือกลุ่มการเมืองใดกลุ่มการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียว หรือกลุ่มการเมืองเดียวไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จะเป็นสมาชิกน้อยกว่าสามสิบวันก็ได้

(๒) ให้คณะบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มการเมืองตามรัฐธรรมนูญนี้ ไปแจ้งเป็นกลุ่มการเมืองต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งต้องรับแจ้งโดยเร็ว และเมื่อได้แจ้งแล้วให้มีสิทธิส่งบุคคลผู้เป็น สมาชิกของ กลุ่มการเมืองนั้น เข้าสมัครรับเลือกตั้งได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(๓) มิให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒๔ (๕) และมาตรา ๑๒๕ วรรคสอง มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

(๔) เมื่อครบสามปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ ให้สมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๑ (๑) (๒) และ (๓) ทั้งหมดพ้นจากสมาชิกภาพ และให้สมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๑ (๔) จานวนกึ่งหนึ่ง พ้นจากสมาชิกภาพโดยการจับสลาก และมิให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒๔ (๕) และมาตรา ๑๒๕ วรรคสอง รวมทั้งบทบัญญัติเกี่ยวกับวาระการดารงตาแหน่งและการห้ามดารงตาแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระตามมาตรา ๑๒๖ วรรคสอง มาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาคราวถัดไปหลังจากที่บุคคลดังกล่าวสิ้นสุดสมาชิกภาพตามมาตรานี้ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาแทนตาแหน่ง ที่ว่างลงด้วยเหตุดังกล่าว ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ให้ดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตาแหน่งดังกล่าวนั้นว่างลง

มาตรา ๓๐๙

  • ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้พ้นจากตาแหน่งทั้งคณะเมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่
  • ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ พ้นจากตาแหน่งทั้งคณะพร้อมกับคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ด้วย
  • มิให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๒ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗๕ และการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๘๕ (๔) (๗) และ (๘) มาใช้บังคับกับการดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
  • ในวาระเริ่มแรก มิให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบของวุฒิสภาตามมาตรา ๑๗๔ มาใช้บังคับกับรัฐมนตรีที่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๓๑๐

  • ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดารงตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดาเนินการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแทนตาแหน่งที่ว่างให้เป็นไปตามมาตรา ๒๒๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับและคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๐ และมาตรา ๒๓๑
  • บรรดาคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างดาเนินการของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ดาเนินการต่อไป แต่ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ให้นาข้อกาหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทาคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ มาใช้ไปพลางก่อน จนกว่าจะตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามมาตรา ๓๐๗ วรรคหนึ่ง (๒)
  • ให้กรรมการการเลือกตั้งซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดารงตาแหน่งต่อไปจนสิ้นสุดวาระตามวาระที่มีอยู่เดิมในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
  • ให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดารงตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดาเนินการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแทนตาแหน่งที่ว่างให้เป็นไปตามมาตรา ๒๗๑ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีผลใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๑
  • ให้กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดารงตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระตามวาระที่มีอยู่เดิมในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง และมิให้นาบทบัญญัติที่บัญญัติให้ดารงตาแหน่งได้เพียงวาระเดียวตามมาตรา ๒๗๐ วรรคสี่ มาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการแต่งตั้งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญนี้
  • ให้บุคคลตามมาตรานี้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป จนกว่าจะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นใช้บังคับ เว้นแต่บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้แทน
  • ผู้ซึ่งดารงตาแหน่งหรือเคยดารงตาแหน่งกรรมการหรือผู้ดารงตาแหน่งใดในองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จะเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการหรือผู้ดารงตาแหน่งต่างๆ ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อานาจรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

มาตรา ๓๑๑

  • ให้ดาเนินการรวมองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าด้วยกันเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน โดยให้ดาเนินการดังนี้

(๑) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตาม รัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดารงตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

(๒) ให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญนี้ และให้ คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน และพิทักษ์สิทธิมนุษยชนมีผลใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่แล้ว

(๓) ให้ดาเนินการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนส่วนที่ยังขาดอยู่เพื่อให้ครบจานวนตามมาตรา ๒๗๕ ซึ่งต้องดาเนินการไปพร้อมกับการสรรหาตาม (๒) และต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน และพิทักษ์สิทธิมนุษยชนมีผลใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้เข้ารับหน้าที่แล้ว

(๔) ให้จัดตั้งสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนโดยการรวมสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าด้วยกัน และให้บุคลากรของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวคงดารงตาแหน่งและให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน จนกว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนจะมีผลใช้บังคับ

  • ผู้ซึ่งเคยดารงตาแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินหรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จะเข้ารับการสรรหาเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

มาตรา ๓๑๒

  • ในวาระเริ่มแรก มิให้นาบทบัญญัติดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกรณีต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) มิให้นาบทบัญญัติมาตรา ๒๐๑ วรรคสอง ที่กาหนดให้ต้องจัดทางบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายประจาปี มาใช้บังคับกับการจัดทางบประมาณแผ่นดินสาหรับปีงบประมาณที่ถัดจากปีงบประมาณที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

(๒) มิให้นาบทบัญญัติมาตรา ๒๐๗ มาใช้บังคับกับการพิจารณาดาเนินการเพื่อแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการพลเรือน หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตาแหน่ง จนกว่าจะตรากฎหมายตามมาตรา ๒๐๗ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๓๑๓

  • ในวาระเริ่มแรก ให้ดาเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กาหนด

(๑) ให้ตรากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการอุทธรณ์การลงโทษทางวินัยตามมาตรา ๒๑๙ วรรคห้า รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาหรือตุลาการตามมาตรา ๒๒๕ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

(๒) ให้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการชี้ขาดอานาจหน้าที่ระหว่างศาลตามมาตรา ๒๒๒ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

(๓) ให้ออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีตามมาตรา ๒๔๑ (๑) และ (๒) ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๓๐๗ ใช้บังคับ

มาตรา ๓๑๔

  • บรรดาบทกฎหมายใดที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายนั้นและคณะรัฐมนตรีดาเนินการ เพื่อให้มีการตราหรือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้นให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๓๑๕

  • บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทาที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทานั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้