Living in Thailand รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2559    
       

       

ส่วนที่ ๕

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

 

มาตรา ๑๕๖

  • ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน

(๑) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๗

(๒) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาตามมาตรา ๑๙

(๓) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ตามมาตรา ๒๐

(๔) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา ๒๑

(๕) การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา ๑๒๑

(๖) การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๒๒

(๗) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๓๒

(๘) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ตามมาตรา ๑๔๖

(๙) การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๔๗

(๑๐) การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๕๕ และมาตรา ๑๖๕

(๑๑) การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๕๗

(๑๒) การแถลงนโยบายตามมาตรา ๑๖๒

(๑๓) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงครามตามมาตรา ๑๗๗

(๑๔) การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘

(๑๕) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๕๖

(๑๖) กรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๑๕๗

  • ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยอนุโลมไปพลางก่อน
  • ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
    เว้นแต่ในเรื่องการตั้ง คณะกรรมาธิการ กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำนวนตาม
    หรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของ แต่ละสภา