Living in Thailand ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ....  

       
  หมวด ๕ การคลังและงบประมาณ  
 
 

มาตรา ๑๘๙

  • การดำเนินนโยบายการคลังและงบประมาณของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพ
    และความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง และหลักความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้
    ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ
  • เพื่อป้องกันการดำเนินนโยบายที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของ
    ประเทศและประชาชนในระยะยาว การอนุมัติ นโยบาย มาตรการ หรือโครงการใดๆ ให้มีการวิเคราะห์ภาระงบประมาณ
    และภาระทางการคลัง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม และให้ระบุปริมาณ
    และแหล่งที่มาของเงินในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายดังกล่าว

มาตรา ๑๙๐

  • การจัดเก็บภาษีหรืออากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินจะต้องจัดเก็บจากฐานภาษีต่างๆ ให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้
    ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน
  • การกำหนดนโยบายและอัตราภาษีตามวรรคหนึ่ง ต้องคำนึงถึงหลักความเป็นกลาง ความเป็นธรรมในสังคม
    ความทั่วถึง ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลัง และข้อผูกพันระหว่างประเทศ

มาตรา ๑๙๑

  • งบประมาณแผ่นดินให้ทาเป็นพระราชบัญญัติ ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณประจาปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้พระราชบัญญัติงบประมาณในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน
  • ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจาปีและร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม ต้องแสดงงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายประจาปี ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของหน่วยงาน และตามพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระทางการคลังที่มีผลผูกพันต่อเงินแผ่นดินตามมาตรา ๒๐๐ (๑) จะกระทาได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจาปี พระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนงบประมาณ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๐๓
  • การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพันที่มีผลต่อเงินแผ่นดินตามมาตรา ๒๐๐ (๒) ต้องอยู่ภายใต้หลักความคุ้มค่า ความโปร่งใส และการรักษาวินัยทางการคลังตามหมวดนี้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ

มาตรา ๑๙๒

  • ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติมและร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณ
    สภาผู้แทนราษฎรจะต้องวิเคราะห์และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
    มาถึงสภาผู้แทนราษฎร
  • ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
    ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภา
  • ในการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันแต่นับแต่
    วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ มิได้ ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภา
    ได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น ในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ
    ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตร ๑๕๑ แต่ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๙ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
  • ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม
    และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้
    แต่อาจแปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้

(๒) ดอกเบี้ยเงินกู้

(๓) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย

  • ในกรณีที่มีการแปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายการหรือจำนวนในรายการใด จำนวนรายจ่ายที่ลดหรือตัดทอนนั้น
    จะนำไปจัดสรรสำหรับรายการ กิจกรรม แผนงาน หรือโครงการใด ไม่ว่าจะมีอยู่แล้วหรือที่ตั้งขึ้นใหม่ มิได้
    เว้นแต่เป็นการจัดสรรเงินเพื่อส่งใช้ต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ หรือชดใช้เงินคงคลัง
  • ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอ การแปรญัตติ
    หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ
    มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้
  • ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมด
    เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
    เพื่อพิจารณา และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว
    ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้การเสนอการแปรญัตติ
    หรือการกระทำดังกล่าว สิ้นผลไป
  • รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
    ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
  • ในกรณีที่รัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่
    ได้รับการจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอ ให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณประจำปีได้โดยตรง
    โดยต้องแสดงสถานะเงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใดที่หน่วยงานนั้นมีอยู่ ไปพร้อมกับคำขอแปรญัตติด้วย
    และคณะกรรมาธิการต้องเปิดโอกาสให้หน่วยงานชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณา ในกรณีนี้ คณะกรรมาธิการอาจเพิ่มงบประมาณ
    รายจ่ายให้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

มาตรา ๑๙๓

  • การใช้จ่าย การก่อหนี้ และการก่อภาระทางการคลังที่มีผลผูกพันเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้รับอนุญาต
    ไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนงบประมาณ
    หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน
    รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
    ว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ
  • ในกรณีที่มีการจ่ายเงินไปก่อนตามวรรคหนึ่งโดยใช้เงินคงคลัง ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังใน
    พระราชบัญญัติโอนงบประมาณ พระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณถัดไป
    โดยต้องกำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนตามวรรคหนึ่งด้วย
  • ในระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ คณะรัฐมนตรีอาจโอนหรือนำรายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับรายการหนึ่ง
    ไปใช้ในรายการอื่นที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณ
    เพิ่มเติมได้ แต่ต้องรายงานให้รัฐสภาทราบโดยไม่ชักช้า
  • ให้คณะรัฐมนตรีรายงานการโอนหรือนำรายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับรายการหนึ่ง ไปใช้ในรายการอื่นที่แตกต่างจากที่
    กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติมได้ ให้รัฐสภาทราบทุกหกเดือน

มาตรา ๑๙๔

  • การกำหนดให้เงินรายได้ใดไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
    และการตราให้หน่วยงานของรัฐไม่ต้องนำเงินรายได้ส่งเป็นรายได้แผ่นดินต้องมีขอบเขตและกรอบวงเงินเท่าที่
    ไม่ส่งผลกระทบต่อการรักษาวินัยทางการคลัง และต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน
    และความจำเป็นของการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ
  • การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพันที่มีผลต่อรายได้ตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้หลักความคุ้มค่า ความโปร่งใส
    และการรักษาวินัยทางการคลังตามหมวดนี้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลัง
    และการงบประมาณภาครัฐ
  • เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐใดที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เงินนอกงบประมาณ
    และเงินอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐนั้นมีอยู่ ให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าว
    เสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุกสินปีงบประมาณ และให้คณะรัฐมนตรีรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบ

มาจตรา ๑๙๕

  • ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด
    ก่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินแผ่นดินอันวิญญูชนพึงเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างร้ายแรง
    ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือคณะกรรมการป้องกันและ
    ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลัง
    และการงบประมาณ และให้ศาลวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยการนั้น