Living in Thailand ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. .... แก้ไขครั้งล่าสุด August 29, 2015

       
ส่วนที่ ๘
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
 
 

มาตรา ๑๕๙

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงาน
    ในหน้าที่ได้ และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบโดยเร็ว แต่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบ
    เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความมั่นคงหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทน
    ราษฎร และนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบกระทู้ถามนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

มาตรา ๑๖๐

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควร
    ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย และเมื่อได้เสนอญัตติแล้ว จะยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้
    เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม
  • การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีซึ่งมีพฤติการณ์
    ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
    หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๒๓๙ ก่อน
    หรือถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอันเล็งเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน
    จะเสนอโดยไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณตามมาตรา ๒๒๙ ก่อน มิได้
    และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๒๓๙ หรือมีการฟ้องคดีตามมาตรา ๒๒๙ แล้วแต่กรณี แล้ว ให้ดาเนินการต่อไปได้
  • เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการลงมติ
    ซึ่งไม่ต้องกระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด และให้นับเฉพาะคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจต้องมี
    คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลง
    ก่อนมีการลงมติดังกล่าว
  • ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
    เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น
  • ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำชื่อผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปตามวรรคหนึ่ง
    กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป และมิให้นำมาตรา ๑๖๕ มาใช้บังคับ

มาตรา ๑๖๑

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในหกของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
    และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  • รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีอีกภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อ
    เสนอญัตติตามวรรคหนึ่ง แต่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีก ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๖๒

  • ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอยู่ในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคการเมืองนั้นมิได้ดำรงตำแหน่ง
    รัฐมนตรีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๖๐ หรือมาตรา ๑๖๑
    ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
    มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตาม
    มาตรา ๑๖๐ หรือมาตรา ๑๖๑ ได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว

มาตรา ๑๖๓

  • สมาชิกสภาวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
    มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจง
    ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
  • การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ จะกระทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง