Living in Thailand ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. .... แก้ไขครั้งล่าสุด August 29, 2015

       
ส่วนที่ ๖
การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ
 
 

มาตรา ๑๔๒

  • ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย

(๑) คณะรัฐมนตรี

(๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

(๓) ศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการ จัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลหรือประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ

(๕) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา ๖๖ วรรคหนึ่ง

  • ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติที่มีผู้เสนอตาม (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
    จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
  • ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เสนอร่างพระราชบัญญัติใดตาม (๔) แล้ว
    ให้สภาผู้แทนราษฎรเริ่มพิจารณาภายในเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้น
    หรือวันที่นายกรัฐมนตรีส่งคำรับรองกลับคืนมา หากบุคคลตาม (๑) หรือ (๒)
    ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นอีก ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๖ วรรคสาม
    มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วย
  • เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติภาค ๔ การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง
    ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติตามมาตรา ๒๕๙
    มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองได้ตามมาตรา ๒๖๓
  • ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน
  • ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ต้องมีบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเสนอมา
    พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย
  • ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของ
    ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้โดยสะดวก

มาตรา ๑๔๓

  • การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
    หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ หากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา
    ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การภาคประชาสังคมเกี่ยวกับบุคคล
    ประเภทนั้นมีจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด ทั้งนี้ โดยมีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน

มาตรา ๑๔๔

  • ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร

(๒) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณแผ่นดิน

(๓) การกู้เงิน การค้าประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดาเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ

(๔) เงินตรา

  • ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
    หรือไม่ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎรและ
    ประธานกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย
  • ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีตามวรรคสอง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว
  • มติของที่ประชุมร่วมกันตามวรรคสอง ให้ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร
    ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๑๔๕

  • ร่างพระราชบัญญัติใดที่ในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน แต่สภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติม
    และประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
    ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน และภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว
    ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้ที่ประชุมร่วมกันตามมาตรา ๑๔๔ วรรคสอง เป็นผู้วินิจฉัย
  • ในกรณีที่ที่ประชุมร่วมกันตามวรรคหนึ่งวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นมีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติ
    เกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง
    ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

มาตรา ๑๔๖

  • ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตาม มาตรา ๑๖๘ ว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบในวาระหนึ่งหรือวาระที่สาม และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึงสามในห้า หรือไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วแต่กรณี คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบ ให้ตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ ร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันของ รัฐสภารายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่ได้พิจารณาแล้วต่อรัฐสภา ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วยคะแนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้า หรือเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑
    ถ้ารัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

มาตรา ๑๔๗

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๒ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอตามมาตรา ๑๔๒ วรคห้า
    และลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
    ที่เสนอมานั้นให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน แต่ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
    ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน
    กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา
  • กำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้นับรวมระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๕๐ วรรคสอง
  • ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
    ให้ถือว่าวุฒิสภาดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัตินั้น
  • ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่า
    ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
  • ในกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมิได้แจ้งไปว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
    ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

มาตรา ๑๔๘

  • ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๒ เมื่อวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว

(๑) ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑

(๒) ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน
และส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร

(๓) ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑
ถ้าเป็นกรณีอื่นให้แต่ละสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นๆ มีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด
ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น
และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง
ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ให้ดาเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑ ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน

  • การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกันต้องมีกรรมาธิการของสภาทั้งสองมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด
    จึงจะเป็นองค์ประชุม และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  • ถ้าวุฒิสภาไม่ส่งร่างพระราชบัญญัติคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๔๗
    ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๑ ต่อไป

มาตรา ๑๔๙

  • ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๔๘ นั้น สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อ
    เวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร
    สำหรับกรณีการยับยั้งตามมาตรา ๑๔๘ (๒) และนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย
    สำหรับกรณีการยังยั้งตามมาตรา ๑๔๘ (๓) ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่
    คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ
    สภาผู้แทนราษฎณแล้ว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
    และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑
  • ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่าง
    พระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิม
    หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
    เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
    และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๕๑
  • ร่างพระราชบัญญัติใดที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้าชื่อเสนอตามมาตรา ๑๔๒ (๔) ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องเป็นอันตกไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา อาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

มาตรา ๑๕๐

  • ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดตามมาตรา ๑๔๘ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศาล องค์กรตาม
    รัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและ การปรองดองแห่งชาติ จะเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ ต้องยับยั้งไว้ มิได้
  • ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอหรือส่งให้พิจารณานั้น เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มี
    หลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่าง
    พระราชบัญญัติดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกัน
    หรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

มาตรา ๑๕๑

  • ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวัน
    นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

มาตรา ๑๕๒

  • ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้
    พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง
    ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้น
    ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือมิได้พระราชทานคืนมาภายใน
    สามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่า
    พระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

มาตรา ๑๕๓

  • ให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้


(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง

(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

(๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

(๕) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ

(๖) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๗) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

(๘) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๙) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

(๑๐) พระราชบัญญัติประกอบรฐธรรมนูญว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ

(๑๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ

(๑๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปกครอง

(๑๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ

มาตรา ๑๕๔

  • ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

(๑) คณะรัฐมนตรี

(๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๓) สมาชิกวุฒิสภามีจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ

(๔) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ ซึ่งประธานศาลหรือประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (๑) (๒) และ (๔) ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (๓) ให้เสนอต่อวุฒิสภาก่อน

มาตรา ๑๕๕

  • การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้กระทาเป็นสามวาระ ดังต่อไปนี้

(๑) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ และในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลาดับมาตรา ให้ถือเสียงข้างมากของแต่ละสภา

(๒) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา

  • ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๕๖

  • ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
    ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ ที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
    หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมานั้น เป็นอันตกไป
  • ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
    ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้
    ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก
    หลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
    ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัตินั้น เป็นอันตกไป
    แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอตามมาตรา ๑๔๒ (๔) ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ
    ให้รัฐสภาที่มีขึ้นภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปพิจารณาต่อไปโดยไม่ต้องมีมติ
    ตามวรรคนี้อีก