Living in Thailand รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. .... แก้ไขครั้งล่าสุด August 27, 2015

       
  หมวด ๓  
  รัฐสภา  
 
 
  ส่วนที่ ๑  
  บททั่วไป  
 
 

มาตรา ๙๖

  • รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
  • รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
  • พลเมืองจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้
  • สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีเลขาธิการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๙๗

  • ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
  • ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทาหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ในกรณีที่ไม่มีทั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา หรือทั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานวุฒิสภาทาหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ตามลาดับ
  • ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
  • ประธานรัฐสภาและผู้ทาหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในทางการเมือง
  • รองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย

มาตรา ๙๘

  • ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

มาตรา ๙๙

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๑๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๒๘ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคาร้องส่งคาร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลง หรือไม่
  • เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภา ที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
  • ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่ง มีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งต่อไป

มาตรา ๑๐๐

  • การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ สมาชิกผู้นั้นได้กระทาไปในหน้าที่สมาชิก รวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่ง หรือประโยชน์ ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งหรือได้รับเลือกมาโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตาแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตาแหน่งดังกล่าว