Living in Thailand รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. .... แก้ไขครั้งล่าสุด August 27, 2015

       
  หมวด ๒
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
 
 
 

มาตรา ๗๗

  • บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นเจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกาหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา ๗๘

  • รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตอานาจรัฐ ความมั่นคงของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยี ที่ทันสมัย โดยเหมาะสมและเพียงพอแก่ความจำเป็นเพื่อดำเนินการดังกล่าว และเพื่อการพัฒนาประเทศ

มาตรา ๗๙

  • รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทย ส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน และศาสนาอื่น ส่งเสริมให้ศาสนิกชนเข้าใจและเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนาหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างศีลธรรม พัฒนาจิตใจ และปัญญา

มาตรา ๘๐

  • รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ และปฏิบัติตามสนธิสัญญาและพันธกรณีที่ทำไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน บนพื้นฐานของการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค ผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในประชาคมโลก

มาตรา ๘๑

  • รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดระบบงานราชการและ งานของรัฐอย่างอื่น ดังต่อไปนี้

(๑) บริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

(๒) พัฒนาและสร้างโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน

(๓) กระจายอำนาจ และจัดภารกิจ อำนาจหน้าที่ และขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน ระหว่างราชการส่วนกลาง ราชส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ที่มีความพร้อมให้เป็นองค์การบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยปรับบทบาทของราชการส่วนภูมิภาคให้เหมาะสม และคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่นั้น ตลอดจนประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ

(๔) มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

(๕) มีกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

(๖) คุ้มครองให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว

(๗) ส่งเสริมและคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจริยธรรม
การจัดทำบริการสาธารณะใดที่องค์กรบริหารท้องถิ่น ชุมชน หรือบุคคล สามารถดำเนินการได้โดยมีมาตรฐาน คุณภาพ และประสิทธิภาพ ไม่น้อยกว่ารัฐ รัฐต้องกระจายภารกิจดังกล่าวให้องค์กรบริหารท้องถิ่น ชุมชน หรือเอกชนดังกล่าว ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๘๒

  • รัฐต้องส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในทุกด้าน โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ี้

(๑) มีส่วนร่วมกับส่วนราชการและองค์กรบริหารท้องถิ่นในการกำหนดนโยบาย แผน และงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น

(๒) สงวน ดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างยั่งยืน

(๓) คุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีทางเศรษฐกิจ สังคม และความรู้รักสามัคคีของบุคคลในชุมชนนั้นและกับชุมชนอื่น

(๔) ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามของชุมชน ของท้องถิ่น และของชาติ

(๕) คุ้มครองชนพื้นเมืองและชนชาติพันธุ์

  • รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับรัฐ ชุมชน และองค์กรบริหารท้องถิ่น ในการดำเนินการตามมาตรานี้

ี้

มาตรา ๘๓

  • รัฐต้องจัด ส่งเสริม และทำนุบารุงการศึกษาอบรมทุกระดับและทุกรูปแบบ โดย

(๑) สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาอบรมโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาคนให้เกิดความรู้ มีศีลธรรม มีการพัฒนาจิตใจ ปัญญา และทักษะชีวิต ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก โดยมีนโยบายการศึกษาที่มีความต่อเนื่องและมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่เพียงพอ

(๒) มีการพัฒนาหลักสูตรทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับภูมิสังคมและพัฒนาการของโลก ส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และสื่อสาธารณะด้านการศึกษา และมีระบบการทดสอบและประเมินผลการศึกษาที่ทดสอบการเรียนรู้ ความถนัด และคุณลักษณะผู้เรียน ที่ครบทุกมิติ

(๓) พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งจัดระบบการให้ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่พึงได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาปราชญ์ชาวบ้าน

(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนาทุกด้าน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งการคุ้มครองภูมิปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้น

มาตรา ๘๔

  • รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว สงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ยากไร้ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก และพัฒนาระบบหลักประกันรายได้และสวัสดิการอื่นสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งตนเองได้ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรบริหารท้องถิ่น ชุมชน และเอกชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าวด้วย

มาตรา ๘๕

  • รัฐต้องจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะสุขที่เหมาะสม ทั่วถึง มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานอันจำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมการนำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทยมาใช้ในการบริการ พัฒนาระบบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน พัฒนาการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงการเงินการคลังของกองทุนสุขภาพ ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันและเป็นธรรม และให้มีการพัฒนากลไกการกำกับดูแลระบบสุขภาพและการให้บริการสุขภาพ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรบริหารท้องถิ่น ชุมชน และเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดทำบริการและพัฒนาระบบการสาธารณสุข
  • รัฐต้องส่งเสริมสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ให้ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอ รวมทั้งต้องกระจายบุคลากรทางการแพทย์อย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะในชนบท

มาตรา ๘๖

  • รัฐต้องจัดให้มีการพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม จัดให้มีการประเมินผลกระทบของร่างกฎหมายที่เสนอ รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในการตรากฎหมายและกฎ
  • รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยเคร่งครัด รวดเร็ว และเป็นธรรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมิให้เกิดการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือโดยบุคคลอื่น
  • รัฐต้องจัดระบบงานของรัฐและกระบวนการยุติธรรมให้อำนวยความยุติธรรมแก่ประชนชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากประชาชนโดยมิชอบ รวมทั้งส่งเสริมการให้ความรู้ทางกฎหมายและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จัดให้มีกลไกการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการยุติธรรมชุมชนและกระบวนการยุติธรรมทางเลือก และสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมและการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

มาตรา ๘๗

  • รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน
  • รัฐต้องส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีอย่างเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด พัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการประกอบกิจการ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในทางเศรษฐกิจของประเทศ คุ้มครอง ส่งเสริม และขยายโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน รวมทั้งต้องป้องกันการผูกขาดและการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  • รัฐต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันในทุกภาคเศรษฐกิจตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ พัฒนาผู้ประกอบการ และส่งเสริมภาคเกษตร เกษตรแปรรูป ภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการและการท่องเที่ยว ตลาดเงิน และตลาดทุน
  • รัฐต้องดำเนินนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทในการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว
  • รัฐต้องส่งเสริมระบบสหกรณ์ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม ส่งเสริมและสนับสุนนสินค้าและบริการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
  • รัฐไม่พึงประกอบกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาประโยชน์สาธารณะ การจัดบริการสาธารณะ หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

มาตรา ๘๘

  • รัฐต้องดำเนินนโยบายการเงิน การคลัง และงบประมาณภาครัฐ โดยยึดหลักการรักษาวินัยและความยั่งยืนทางการเงิน การคลัง และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินอย่างคุ้มค่า จัดให้มีระบบการเงินการคลังเพื่อสังคม มีระบบภาษีอากรที่มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศและความเสมอภาคด้านอื่น มีกลไกป้องกันการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว และมีกลไกตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ

มาตรา ๘๙

  • รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงานและสูงวัยมีงานทำที่เหมาะสม คุ้มครองแรงงานเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ แรงงานซึ่งเป็นผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ และแรงงานที่มีปัญหาอื่นทำนองเดียวกัน มีหลักประกันความปลอดภัยในการทำงาน จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน การประกันสังคม การพัฒนาสมรรถนะของแรงงาน รวมทั้งต้องให้ผู้ทำงานได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • รัฐต้องจัดให้มีระบบบำนาญแห่งชาติที่มีความยั่งยืน เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วน โดยจัดให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความรู้ทางการเงิน และสามารถบริหารการเงินของครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม

มาตรา ๙๐

  • รัฐต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
  • รัฐต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และต้องมิให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานดังกล่าวอยู่ในการผูกขาดของเอกชน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเกินสมควร หรือปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงของประชาชน
  • การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด จะกระทำมิได้

มาตรา ๙๑

  • ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐต้องบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐ ประชาชน และชุมชน ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น และต้องบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
  • รัฐต้องส่งเสริม บำรุงรักษา คุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และควบคุมกำจัดภาวะมลพิษโดยมีมาตรการที่มีประสิทธิผล จัดหาเครื่องมือและกลไกต่างๆ เพื่อให้ประชาชนดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย และมีความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • รัฐต้องอนุรักษ์ สงวน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดให้มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ทะเล ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น และดำเนินการตามแผนดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ยั่งยืน และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยให้สอดคล้องกับหลักการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น
  • รัฐต้องจัดให้มีการผังเมือง การพัฒนาเมืองและชนบทในลักษณะบูรณาการ ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม และการใช้การผังเมืองเป็นแนวทางและมาตรฐานในการพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมและยั่งยืน รวมทั้งจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม และกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
  • รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรบริหารท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามมาตรานี้

มาตรา ๙๒

  • รัฐต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงาน กำกับดูแลให้มีการประกอบการและการใช้ประโยชน์จากพลังงานและพลังงานทดแทนอย่างได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกประเภทให้เต็มศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทุกประเภทอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งต้องสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน องค์กรบริหารท้องถิ่น และเอกชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและการผลิตพลังงานเพื่อใช้เองและเพื่อจำหน่ายด้วย

มาตรา ๙๓

  • รัฐต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงาน กำกับดูแลให้มีการประกอบการและการใช้ประโยชน์จากพลังงานและพลังงานทดแทนอย่างได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกประเภทให้เต็มศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทุกประเภทอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งต้องสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน องค์กรบริหารท้องถิ่น และเอกชน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน และการผลิตพลังงานเพื่อใช้เองและเพื่อจำหน่ายี้

มาตรา ๙๔

  • รัฐต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาการกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน และต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในทุกระดับ รวมทั้งจัดให้มีการบริหารจัดการด้านการกีฬาที่เป็นระบบ ทันสมัย และมีมาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรบริหารท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามมาตรานี้

มาตรา ๙๕

  • ให้มีการคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติทำหน้าที่ประเมินผลองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และองค์กรอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ และการอื่นที่จำเป็น ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินผลแห่งชาติ