Living in Thailand รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. .... แก้ไขครั้งล่าสุด August 26, 2015

       
  ส่วนที่ ๔  
การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของชนชาวไทย
 
 

มาตรา ๖๙

  • บุคคลย่อมมีสิทธิเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อดำเนินการดังกล่าวตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๗๐

  • หน่วยงานของรัฐ องค์การภาคเอกชน องค์การเอกชน หรือองค์กรใดที่ดำเนินกิจกรรมโดย ใช้เงินแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวต่อสาธารณะเพื่อให้พลเมืองได้ติดตามและตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นข้อมูลที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้เปิดเผย

มาตรา ๗๑

  • เพื่อประโยชน์แห่งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พลเมืองย่อม มีสิทธิร้องขอข้อมูลรวมทั้งติดตามและตรวจสอบ ในเรื่องดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

(๑) การดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) การใช้จ่ายเงินแผ่นดินหรือการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
(๓) การรับบริจาคและการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในทุกระดับ
(๔) การใช้จ่ายเงินของบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีธุรกรรมกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจะมีส่วนร่วมในการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ โดยร้องขอให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อานาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่ควบคุม กากับ หรือรับจดแจ้งหรือจดทะเบียน นิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ดำเนินการ

  • การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ ถ้าข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • บุคคลและสื่อมวลชนซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการ ใช้อานาจรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือต่อสาธารณะ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง
  • ผู้ซึ่งใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งโดยไม่สุจริต ย่อมต้องมีความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๗๑

  • เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในแต่ละจังหวัดมีส่วนร่วมโดยตรงในการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐภายในเขตจังหวัดของตน รวมทั้งส่งเสริมให้พลเมืองยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีสภาตรวจสอบภาคพลเมืองในแต่ละจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกจานวนไม่เกินห้าสิบคนซึ่งต้องมีภูมิลาเนาในจังหวัดนั้น และมีที่มา จากผู้แทนสมัชชาพลเมืองจานวนไม่เกินหนึ่งในสี่ ผู้แทนองค์การเอกชนจานวนไม่เกินหนึ่งในสี่ และสมาชิกส่วนที่เหลือมาจากพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วิธีการได้มาซึ่งสมาชิก การตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และจริยธรรม วาระการดารงตาแหน่งและการพ้นจากตาแหน่งของสมาชิก วิธีดาเนินการตามอานาจหน้าที่ หน่วยธุรการของสภาตรวจสอบภาคพลเมือง และการอื่นที่จาเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • สภาตรวจสอบภาคพลเมืองมีอานาจหน้าที่ภายในเขตจังหวัดของตนในการตรวจสอบการกระทาของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ ในเขตจังหวัดนั้น โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๒) การกระทาของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นที่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย
(๓) การใช้จ่ายเงินแผ่นดินหรือการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
(๔) การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชน
(๕) การกระทาที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือการละเมิดจริยธรรม

มาตรา ๗๒

  • บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓๘ ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ